การบริหารจัดการสหกรณ์

เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์สามารถบริหารจัดการองค์กรได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับและกฎหมาย มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้แทนสหกรณ์ใช้อำนาจหน้าที่บริหารจัดการภายในองค์กรสหกรณ์และในกิจการอันเกี่ยว กับบุคคลภาย นอก สามารถแบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะชั่วคราว
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเสมือนเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้น กล่าวคือ เป็นผู้แทนของสหกรณ์ดำเนินกิจการได้โดยชอบ
บุคคลที่มีรายชื่อ อยู่ในบัญชีผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก ได้สิทธิเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้น นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนภายใน 90 วัน นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องนัดสมาชิกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับสหกรณ์และคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องมอบหมายการงานทั้งปวงให้กับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
ระยะถาวร
หลังจากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้รับมอบหมายการดำเนินงานจากคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ดำเนินกิจการอย่างถาวรสืบต่อไปจนกว่าจะเลิกสหกรณ์

 

อุดมการณ์สหกรณ์

    อุดมการณ์สหกรณ์คือ  “ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลัก การสหกรณ์จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดี  มีความเป็นธรรมและสันติสุขในสังคม”  อุดมการณ์สหกรณ์  สามารถแยกองค์ประกอบคือ

องค์ประกอบของอุดมการณ์สหกรณ์

การช่วยตัวเอง
    การช่วยตนเอง  หมายถึง  การดำเนินชีวิตตามปกติได้ด้วยตัวเองไม่เป็นภาระของผู้อื่น  สำหรับการช่วยตนเองตามอุดมการณ์สหกรณ์จะหมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง  มุ่งสู่ความอยู่ดี  กินดี  สันติสุข  ซึ่งลักษณะของคนที่ช่วยตนเอง  ดังนี้
ขยัน  เป็นลักษณะของคนที่ใช้เวลาที่มีอยู่วันละ 24 ชั่วโมง  เพื่อการทำงานให้มากที่สุดด้วยความอดทน  หนักเอาเบาสู้  ดิ้นรนขวนขวายพากเพียรพยายาม  ไม่ย่อท้อ  ไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคความกระตือรือร้นในการทำงานมีความรับผิดชอบ
ประหยัด  เป็นลักษณะของคนที่รู้จักเก็บออม  รู้จักกิน  รู้จักใช้  เมื่อมีรายได้ก็นำมาใช้จ่ายอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  เห็นคุณค่าของเงิน  ของทรัพย์สินที่มีอยู่ตามคำกลอนที่กล่าวว่า
“ มีสลึง        พึงบรรจบ    ให้ครบบาท
อย่าให้ขาด    สิ่งของ        ต้องประสงค์
มีน้อย        ใช้น้อย        ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง    ให้มาก        จะยากนาน”
พัฒนาชีวิต  คือ  ลักษณะของคนที่ไม่หยุดนิ่ง   ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ  เปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาการพัฒนาทำได้ด้วยการเรียนรู้ การนำความรู้มาปรับปรุงชีวิต  อาชีพ  ความเป็นอยู่ให้สนองความต้องการในการดำรงชีวิตมีคำคมที่เกี่ยวข้องคือ – ปั้นดินให้เป็นดาว – คลื่นลูกหลังมีพลังกว่า –  พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้  – เมื่อวานก็ดูสวนดี  แต่วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน – แสงสว่างปลายอุโมงค์
การพัฒนาเป็นการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ  คนจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทย  ในอดีตเริ่มค้าขายจากการหาบสินค้า  ต่อมาพัฒนาเป็นใส่รถเข็นขายต่อมาพัฒนาเป็นซื้อห้องแถวเปิดขายสินค้า  และต่อมาก็มีตึกแถวเป็นของตนเองจนมีธุรกิจที่ร่ำรวย  สามารถพบเห็นได้จากในตัวเมืองย่านชุมชนต่างๆ
ไม่เสพติดอบายมุข  เนื่องจากอบายมุขเป็นหนทางแห่งความเสื่อม  หากใครเข้าไป  เกี่ยวข้องชีวิตมีแต่จะเสียทรัพย์  เสียสุขภาพ  เสียเวลา  ขาดความเคารพนับถือ  อบายมุขเปรียบเทียบได้กับผีร้าย  หากใครเกี่ยวข้องกับอบายมุขก็จะถูกผีร้ายเข้าสิง  ซึ่งมีอยู่ 6 ผี  ดังนี้
ผีที่ 1  ชอบบุหรี่  สุราเป็นอาจิณ  ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร
ผีที่ 2  ชอบเที่ยวยามวิกาล  ไม่รักบ้าน  รักลูก  รักเมียตน
ผีที่ 3  ชอบดูการละเล่น  ไม่ละเว้น  บาร์คลับ  ละครโขน
ผีที่ 4  คบคนชั่ว  มั่วกับโจร  หนี้ไม่พ้น  อาญา  ตราแผ่นดิน
ผีที่ 5  ชอบเล่นหวย  มวยม้า  กีฬาบัตร  สารพัดถั่วโป  ไฮโลสิ้น
ผีที่ 6  เกียจคร้านการทำกิน  มีทั้งสิ้นหกผี  ไม่ดีเลย
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    การที่แต่ละคนช่วยตนเองด้วยการขยัน ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุข  เป็นสิ่งดีทำให้ดำเนินชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตนเองไม่เป็นภาระของใคร แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ อยู่ดี กินดี
กินดี  มีสันติสุข  ตามความต้องการของคนทั่วไป  เพราะแต่ละคนเพียงคนเดียวมีจ้อจำกัดในการทำงานได้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง  เช่น  ยกเก้าอี้ได้คนเดียว  สอนหนังสือคนเดียววันละ 5 ชั่วโมง  แต่หากต้องการยกโต๊ะตัวใหญ่คนเดียวจะยกไม่ได้  ต้องการสอนหนังสือทั้งวันทุกวิชาคนเดียวไม่สามรถทำได้ดีเมื่อต้องการซื้อ บ้านคนเดียวไม่มีรายได้เพียงพอที่จะทำได้  การช่วยตนเอง  จึงเป็นการดำเนินชีวิตได้ดีในระดับของการสนองความต้องการขั้นต้น  แต่เมื่อต้องการสูงขึ้นต้องมีการร่วมมือช่วยเหลือโดยหลายคนมาช่วยกัน
การร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างมีคุณธรรมนำไปสู่ความสำเร็จที่แต่ละคนต้องการ  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ตามอุดมการณ์สหกรณ์  หมายถึง  การร่วมแรงกาย  แรงใจ  แรงความคิด  กำลังทรัพย์เข้ามาช่วยเหลือให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มเพื่อให้แต่ละคน  ในกลุ่มมีการกินดี  อยู่ดี  มีสันติสุข  ลักษณะของคนที่มีอุดมการณ์สหกรณ์ด้านการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีดังนี้
ซื่อสัตย์  เป็นลักษณะของคนที่มีความตรงไปตรงมา  พูดตรงกับปฏิบัติไม่ทุจริตคดโกงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ซื่อสัตย์มักเขียนควบคู่กับสุจริต  เป็นซื่อสัตย์สุจริต
ความซื่อสัตย์  เป็นลักษณะที่ต้องมีในคนที่อยู่รวมกลุ่มกันโดยต้องซื่อสัตย์ทั้งทางกายคือ การกระทำทางวาจาคือการพูดทางใจคือความคิด  ความรู้สึก
เสียสละ  เป็นลักษณะของคนที่ไม่เห็นแก่ตัว  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ยอมสละสิ่งที่ตนองมี  คือ  กำลังกายช่วยเหลืองานของส่วนรวม
ความสามัคคี  เป็นลักษณะของความพร้อมเพรียง  ร่วมมือด้วยกัน  ทำอะไรด้วยกัน  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความสามัคคีก่อให้เกิดพลังเนื่องจากแต่ละคนจะมีความสามารถอย่างจำกัดแต่ เมื่อรวมหลายคนเข้าด้วยกันก็จะรวมความสามารถได้อย่างกว้างขวาง
ความมีระเบียบวินัย  เป็นลักษณะของการยึดมั่นในกฎกติกา  ขอปฏิบัติของการทำงานร่วมกันที่กำหนดไว้

เอกลักษณ์สหกรณ์

    เอกลักษณ์สหกรณ์เป็นองค์การพิเศษที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ระบุว่า  ประกอบด้วย
1. กลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียวกัน 
2. เจตนารมณ์ที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
3. จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นและร่วมกัน  ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
4. วัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจนี้คือ  ส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชิกและครอบครัว

    เอกลักษณ์สหกรณ์  เป็นองค์ประกอบที่ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ต้องพร้อมกันทั้ง 4  ข้อ     จึงจะเป็นเครื่องชี้ว่าเป็นสหกรณ์  ทั้งนี้เนื่องจากสหกรณ์มีความแตกต่างจากมูลนิธิที่มุ่งช่วยเหลือ  แตกต่างจากธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไร

หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
             สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือการออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี

ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
             สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)

ปรัชญาสหกรณ์
           การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
           ความรับผิดชอบร่วมกัน
           ยึดหลักประชาธิปไตย
          ความเสมอภาค
          ความเป็นธรรม
          การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน

จริยธรรมสหกรณ์
            ความซื่อสัตย์
           โปร่งใส
            ความรับผิดชอบต่อสังคม
            การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า

วัตถุประสงค์ของสหกรณ์
            สหกรณ์มีเป้าหมายหลักคือการทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกดีขึ้นและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือการทำให้เป้าหมายของสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการสหกรณ์

 สัญลักษณ์องค์กรสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ

ความแตกต่างระหว่างสหกรณ์จำกัดกับบริษัทจำกัด

สหกรณ์จำกัด บริษัทจำกัด
ผู้ก่อตั้ง
ไม่น้อยกว่า 10 คน

จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542

ตั้งแต่  7  คนขึ้นไป

จดทะเบียนตามกฎหมายเพ่งและพาณิชย์

บรรพ 3 ลักษณะ 22  หมวด  4  มาตรา  1096-1227

วัตถุประสงค์
-ให้บริการสูงสุดแก่สมาชิก

(Maximized Service)

-เอากำไรสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น

(Maximized Profit)

ทุน
-คนสำคัญกว่าทุน

-รวมทุนเพื่อให้บริการ

-ทุนเป็นใหญ่

-ลงทุนเพื่อหากำไร

หุ้น
-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์น้อย

-ไม่ระบุมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ

-สมาชิกถือหุ้นได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของหุ้นที่ชำระแล้ว

-จำนวนหุ้นไม่แน่นอน

-ราคาหุ้นคงที่

-ไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ

-ไม่บังคับต้องมีใบหุ้น

-เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้

-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์มากเป็นนายทุน

-มูลค่าหุ้นๆ หนึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท

-ไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือ

-จำนวนหุ้นแน่นอนราคาไม่คงที่

-ชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

-มีหุ้นบุริมสิทธิ

-ต้องมีใบหุ้น  ให้ผู้ถือหุ้น

การออกเสียงลงคะแนน
1 คน  1  เสียง

มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนไม่ได้

1หุ้น  1  เสียง

มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนได้

การเรียกประชุมใหญ่ “ครั้งหลัง”  กรณี  “ครั้งแรก”  ไม่ครบองค์ประชุม
นัดเรียกใหม่ภายใน 15 วัน นัดเรียนใหม่ไม่น้อยกว่า  14  วัน  ไม่เกิน  6สัปดาห์
เงินทุนสำรอง
จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของผลกำไร  ไม่กำหนดขั้นสูงของเงินทุนสำรอง จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของผลกำไร  จนกว่าจะมีทุนสำรองถึงร้อยละสิบของทุนเรือนหุ้น
การจัดการ
มุ่งประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำธุรกิจกับสมาชิกผู้ถือหุ้นมีการเฉลี่ยคืนเงินส่วนเกินให้สมาชิตามธุรกิจ มุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทำธุรกิจกับลูกค้า  ซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นไม่มีการเฉลี่ยคืนกำไรให้กับลูกค้า

สหกรณ์จำกัด บริษัทจำกัด
ผู้ก่อตั้ง
-สหกรณ์ลูกให้กำเนิดสหกรณ์แม่กล่าวคือ  จัดตั้งสหกรณ์ขั้นมัธยมคือชุมนุมสหกรณ์  ซึ่งเป็นแม่ข่ายใหญ่สหกรณ์ลูก  ต้องเลี้ยงสหกรณ์แม่

-สหกรณ์รวมกันตั้งบริษัทได้

-บริษัทแม่ให้กำเนิดบริษัทลูก  ตั้งบริษัทที่เป็นสำนักงานใหญ่ก่อนจึงตั้งบริษัทสาขา

 

-บริษัทรวมกันตั้งสหกรณ์ไม่ได้

อุดมการณ์
Surplus Profit
ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

พึ่งตนเอง  และเอื้ออาทรผู้อื่น

แข็งแรงอยู่ได้  อ่อนแอตายไป

มือใครยาว  สาวได้สาวเอา

ลักษณะการรวมกัน
มุ่งรวมคน มุ่งรวมเงินทุน
การแบ่งกำไร
แบ่งตามการมีส่วนร่วมในกิจการ แบ่งตามจำนวนหุ้นที่ถือ
รู้คุณค่าสหกรณ์

จากความแตกต่างจนเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  ก่อให้เกิดคุณค่าแห่งความเป็นสหกรณ์(Cooperative Valve) ที่องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศได้อธิบายว่า
“สหกรณ์อยู่บนพื้นฐานแห่งคุณค่าของการช่วยตนเอง  ความรับผิดชอบต่อตนเอง  ความเป็นประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  ความเที่ยงธรรม  และความเป็นเอกภาพสมาชิก  สหกรณ์เชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมแห่งความสุจริต  ความเปิดเผย  ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเอื้ออาทรต่อคนอื่นโดยสืบทอดประเพณีปฏิบัติของ ผู้ริเริ่มการสหกรณ์
คุณค่าสหกรณ์ดังกล่าว  แบ่งออกได้เป็น  คุณค่าขององค์กรสหกรณ์เองกับคุณค่าแห่งการเป็นสมาชิกสหกรณ์  อันหมายถึงการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกแต่ละคน  และการปฏิบัติของสหกรณ์ต่อสมาชิกแต่ละคน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  มีพระราโชวาท  เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ วันที่  26  กุมภาพันธ์  2521 ระบุหลักสำคัญที่สุดของสหกรณ์ในการดำเนินงานสู่ความเจริญก้าวหน้า คือ
1. ความเมตตา  กรุณา  ความต้องการให้ผู้อื่นมีสุข  ความสำเร็จช่วยเหลือกัน  เท่าที่ทำได้
2. ความซื่อสัตย์สุจริต  จริงใจต่อกัน
3. ความสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในระหว่างสมาชิกไม่มีการถือเขาถือเรา  ต่างมุ่งประโยชน์ต่อสหกรณ์  อันเป็นผลประโยชน์ของทุกคน
4. ความรู้ทางวิชาการที่ต้องส่งเสริมในทุกกรณี

คุณธรรมนำสหกรณ์

การอยู่ร่วมกันในสหกรณ์อันเป็นองค์กรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจำเป็นต้องมี คุณธรรมในการดำเนินงาน  ซึ่งเมื่อใช้คุณธรรมเป็นหลักนำ  ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จ  คุณธรรมนำสหกรณ์ประกอบด้วย ต่อไปนี้  1. คุณธรรมสำหรับสมาชิก  ประกอบด้วย  ขยัน  ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอยายมุข  ซื่อสัตย์  อดทน  ยึดทางสายกลาง  2. คุณธรรมการอยู่ร่วมกัน  ประกอบด้วยพรหมวิหาร  4 คือ  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  อิทธิบาท  4  คือ  ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสาสังคหวัตถุ  4  คือ  ทาน  ปิยะวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตา  ฆราวาสธรรม  คือ  สัจจะ  ทมะ  ขันติ  จาคะ  3.  คุณธรรมสหกรณ์  ประกอบด้วย  7 ประการ  คือ
การหมั่นประชุม        เพื่อแสวงหาความเห็นหาข้อยุติส่วนรวม
การปรับแนวคิด        เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงกัน
เคารพให้เกียรติกัน    เพื่อให้เป็นไปตามบทบาทหน้าที่
ยึดมั่นในกติกา        เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
ไม่ข่มเหงอิจฉา        เพื่อความสามัคคีในหมู่คณะ
ยกคนดีนำหน้า        เพื่อให้คนดีได้เป็นผู้นำ
ยึดปรัชญาสหกรณ์เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของสหกรณ์