เริ่มการทำบัญชีครัวเรือน
การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการหาสมุดมาสักเล่มหนึ่งอาจเป็นสมุดที่เด็ก ๆ ใช้แล้วเหลือหน้ากระดาษว่าง ๆ ก็นำมาทำเป็นบัญชีครัวเรือนได้ ปากกาหรือดินสอสำหรับเขียนลงในสมุดบัญชีครัวเรือน สำหรับชาวบ้านหรือคนที่อ่าน-เขียนหนังสือไม่ค่อยคล่องก็อาจใช้ให้ลูก ๆ ช่วยเขียนให้ การทำบัญชีครัวเรือนในแต่ละวันใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5-10 นาทีก็เสร็จแล้ว เวลาที่เสียไปแค่ 5-10 นาทีต่อวันแต่ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำบัญชีครัวเรือนนั้นมีค่ามากมายมหาศาลนักในการช่วยวางแผนการเงินของครอบครัวและสามารถประยุกต์ไปจนถึงการนำไปใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินได้ ขอให้ยอมสละเวลาในแต่ละวันเพื่อความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ดีขึ้น
บัญชีครัวเรือนสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบแต่อย่างน้อยต้องมีการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายปกติเป็นตาราง 5 ช่อง ประกอบด้วย ช่องแรกวันเดือนปีเพื่อบันทึกวันที่เกิดรายการนั้น ช่องที่สองรายการ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ ช่องที่สามรายรับ เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับช่องที่สี่รายจ่าย เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายออกไป และช่องสุดท้ายยอดคงเหลือ เป็นช่องสรุปยอดเงินคงเหลือในแต่ละวัน
การจัดทำบัญชีครัวเรือน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) แยกประเภทของรายได้ และค่าใช้จ่าย แต่ละประเภทออกมา อาจใช้สมุดบัญชีที่มีขายตามร้านทั่วไป หรือหาสมุดมาตีเส้น แบ่งออกเป็นแถวในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อจดรายการ
2) กำหนดรหัสประเภทของรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เพื่อใช้สรุปประเภทของค่าใช้จ่าย
3) เริ่มจากยอดเงินสดยกมา หรือ เงินทุนตั้งต้น แล้ว บวก ด้วยรายได้ หัก ด้วยค่าใช้จ่าย และแสดงยอดคงเหลือไว้
4) นำรายการที่เป็นบัญชีประเภทเดียวกัน รวมยอดเข้าด้วยกัน แล้ว แยกไปสรุปไว้ต่างหาก โดยสรุปยอดตามแต่ต้องการ เช่น เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน เป็นต้น

หลักการบันทึกทางบัญชี
หลักการบันทึกบัญชีครัวเรือนคืออาจจะเริ่มจากการมองรวมภาพใหญ่ก่อนว่า ในเดือนหนึ่งๆ หรือปีหนึ่งๆ มีรายการอะไร ดังนี้
– รายการค่าใช้จ่ายใหญ่ๆ อะไรบ้าง ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น หรือเงินค่าเรียนหนังสือบุตร หรือเงินค่าวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น ค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์พืช และมีรายการย่อยๆ ที่เกิดประจำวันอะไรบ้าง เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
– หนี้สินก็เป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่เป็นภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต ได้แก่ ค่าดอกเบี้ยเงินที่ไปกู้และต้องใช้คืนรายเดือนหลายปี จากการกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน จากกองทุน หรือธนาคารต่างๆ หรือ การซื้อของด้วยเงินเชื่อ การด้วยเครดิต หรือด้วยเงินผ่อนชำระหรือการเช่าซื้อ การจำนำ จำนอง ขายฝาก เป็นต้น
– เงินคงเหลือ คือ เงินหรือทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย จะเกิดเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า “กำไร” แต่หากหลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว พบว่า รายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบ หรือทางบัญชีเรียกว่า “ขาดทุน”นั่นเอง
การวิเคราะห์บัญชีครัวเรือน
ให้นำบัญชีครัวเรือนที่ผ่านมาในระยะเวลา 1 เดือน มาพิจารณาดูว่า รายรับ-รายจ่าย มีความสมดุลกันหรือไม่ รับมากกว่าจ่ายหรือจ่ายมากกว่ารับ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน รายจ่ายมักจะมากกว่ารายรับ จึงต้องให้ความสำคัญในการพิจารณารายจ่ายให้ดีว่า พอจะมีรายการไหนที่พอจะลดหรือตัดออกได้(รายการที่ฟุ่มเฟือย) ก็ให้หาทางปรับลดหรือตัดรายการรายจ่ายเหล่านี้ออกไป

ตัวอย่างรายรับครัวเรือน
1. ขายผลิตจากการทำนา ทำไร่ ฯ
2. ขายสัตว์เลี้ยง เช่น หมู วัว เป็ด ไก่ ฯ
3. ขายผลิตภัณฑ์จากงานหัตถกรรม
4. การค้าขายสินค้าซื้อมา/ขายอาหาร
5. การขายพืช/สัตว์ หาจากแหล่งธรรมชาติ
6. ค้าจ้างจาการทำงานหรือให้บริการ
7. เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชั่น
8. เงินสงเคราะห์และสวัสดิการต่างๆ
9. รายได้จากการขาย/ให้เช่า ที่ดิน บ้าน ฯ
10. รายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้/ดอกเบี้ยธนาคารฯ
11. รายได้จากการเสี่ยงโชค
12. เงินที่ได้รับจากการกู้ยืม
13. เงินที่ลูก หลาน ญาติพี่น้อง ส่งมาให้
14. เงินที่ผู้อื่นช่วยงานต่างๆ
15. เงิน/ลาภลอยที่มีคนมานำให้เป็นกรณีพิเศษ
ตัวอย่างรายจ่ายครัวเรือน
หมวดที่ 1 : ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
1.1. ค่าจ้างแรงงาน
1.2. ค่าเช่า/ซื้อวัสดุอุปกรณ์ หรือลงทุนเครื่องมือ ฯ
1.3. ค่าโดยสาร รถ เรือ รถไฟ ฯ ค่าแสตมป์ ไปรษณีย์ ฯ
1.4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงพาหนะ เดินทาง/ประกอบอาชีพ
1.5. ค่าปุ๋ยชีวภาพ หรืออินทรีย์ ฯ
1.6. ค่าปุ๋ยเคมี/ฮอร์โมน ฯ
1.7. ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช
1.9. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อยานพาหนะ
1.8 ค่าเมล็ดพันธุ์
1.10. ซื้อสินค้ามาจำหน่าย
หมวดที่ 2 : ค่าอาหาร
2.1. ข้าวสารทุกชนิด
2.2. เนื้อสัตว์บก สัตว์น้ำ แมลง และสัตว์อื่นๆ ที่ใช้เป็นอาหาร
2.3. ผักสด และผลไม้สดต่างๆ รวมทั้งพริก หัวหอม กระเทียมฯ
2.4. ไข่สด เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ฯ
2.5. เครื่องเทศ เช่น พริกไทย กานพลู ขมิ้น ฯ
2.6. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ฯ
2.7. อาหารสำเร็จที่ซื้อจากร้าน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน ฯ
2.8. น้ำดื่มสะอาด เช่นน้ำแร่ น้ำโพลาลิส ฯ
2.9. น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มเกลือแร่ ฯ
2.10. นมทุกชนิด โอวัลติน ไมโล โกโก้ น้ำผลไม้
2.11. ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ ลูกอม
2.12. ค่าขนมที่ให้เด็กไปโรงเรียนรายวัน /รายเดือน
2.14. เหล้า เบียร์ ยาดอง ไวน์ กระแช่ สาโท
2.15. ค่าเชื้อเพลิงในการหุงต้ม เช่น แก๊ส ถ่าน ฟืน ฯลฯ
หมวดที่ 3 : ยา – สุขภาพอนามัย
3.1. ยาแก้ปวด
3.2. ยารักษาโรคอื่นๆ
3.3 ยาหรืออุปกรณ์คุมกำเนิด
3.4. ค่ารักษาพยาบาลทั้งที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล และคลินิก
3.5. ยาสูบ บุหรี่ หมาก ยานัตถุ์ ฯลฯ
3.6. จ่ายเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันภัย
หมวดที่ 4 : เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ
4.1. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องนอน
4.2. ค่าใช้จ่ายในการเสริมสวย เช่น ตัดผม ดัดผม ย้อมผม เครื่องสำอาง ฯ
หมวดที่ 5 : ที่อยู่อาศัย
5.1. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อ/เช่าที่ดิน ฯ
5.2. ซ่อมแซม ต่อเติมหรือปลูกบ้าน หรือปรับปรุงบริเวณบ้าน/ที่ดิน
5.3. เงินสด เงินดาวน์ และเงินผ่อน เพื่อซื้อ/ซ่อมเครื่องใช้ในบ้าน ฯ
5.4. ของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ของเด็กเล่น ฯ
5.5. ค่าไฟฟ้า
5.6. ค่าน้ำประปา
5.7. ค่าโทรศัพท์ทั้งครัวเรือน รายเดือน/ค่าบัตรเติมโทรศัพท์
5.8. ค่าหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร
5.9. ค่าภาษีต่างๆ เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดิน ป้าย ร้านค้า ฯ
รวมค่าใช้จ่ายหมวดที่ 5
หมวดที่ 6 : ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน งานสังคม และเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
6.1. ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ออกเงินกู้
6.2. จ่ายดอกเบี้ย และเพื่อใช้หนี้เงินกู้ เงินยืม เงินแชร์
6.3. เงินทำบุญ หรือบริจาค
6.4. เงินช่วยงานหรือเงินใส่ซอง เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานบวช ฯ
6.5. ค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงาน/งานศพ บวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ ฯ
6.6. จ่ายพักผ่อนหย่อนใจ เช่น ค่าแผ่นซีดี ค่าตั๋วดูหนัง ดนตรี ฯ
6.7. ซื้อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข นก ปลา ฯ หรือไม้ดอกไม้ประดับ
6.8. เงินเดือนหรือเงินที่ส่งไปช่วยเหลือญาติในครอบครัวที่อยู่ที่อื่น
6.9. เงินเสียไปโดยไม่เต็มใจ เช่น ทำเงินหาย ถูกลักขโมย ถูกปรับ ฯ
6.10. เงินที่จ่ายเพื่อการเสี่ยงโชค เช่น ซื้อหวย ล็อตเตอรี่ สลากกินแบ่งฯ
6.11. เงินเสี่ยงดวงในรูปแบบต่างๆ
หมวดที่ 7 : ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
7.1. ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิจกรรมพิเศษ
7.2. ค่าอุปกรณ์การเรียน เช่น เครื่องเขียน สมุด หนังสือเรียน กระเป๋า ฯ
7.3. ค่าชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ฯ
ตัวอย่างบุคคลที่ทำบัญชีครัวเรือน
เป็นคำบอกเล่าในบทเรียงความตามโครงการ “สุดยอดนักบัญชีอาสาพาครอบครัวสดใส” ของ
ด.ญ.เวธกา ไวมือ นักเรียนชั้น ป.6 ที่ จ.ลำปาง ซึ่ง ด.ญ.เวธการะบุอีกว่า… เพราะไม่เคยรู้ว่าลงทุนซื้อของเข้าร้านไปเท่าไหร่ ขายสินค้าได้เท่าไหร่ พ่อแม่ใช้จ่ายเงินในการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง-ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปเท่าไหร่ ในที่สุดครอบครัวก็ประสบปัญหาสาหัส “ไม่มีเงินซื้อของเข้าร้าน บ้านถูกยึด ครอบครัวของฉันต้องมาอาศัยกับตายาย” …ด.ญ.เวธกาบอก แต่…วันนี้ฐานะครอบครัวของน้องคนนี้สามารถฟื้นตัวได้แล้ว โดยมี “บัญชีครัวเรือน” เป็นเครื่องเตือนสติ “จากบัญชีที่แม่ให้ฉันทำ มีค่าใช้จ่ายของพ่อนั่นก็คือค่าเหล้าที่พ่อชอบซื้อมาเลี้ยงคนงานตอนเย็น แล้วพ่อก็นั่งกินกับคนงานด้วย แล้วก็มีค่าบุหรี่ที่พ่อสูบเดือนหนึ่งประมาณพันกว่าบาท ฉันทำบัญชีเห็นแล้วเสียดาย เพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย” …นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเรียงความของ ด.ญ. เปมิกา ทั่งทอง นักเรียนชั้น ป.5 ที่ จ.ตราด ซึ่งเมื่อประกอบกับเป็นห่วงสุขภาพของพ่อ ก็รบเร้าให้พ่อเลิกเหล้าเลิกบุหรี่“จนถึงทุกวันนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอีกเดือนละพันกว่าบาท ฉันก็ยังทำบัญชีให้แม่เหมือนเดิม รวมทั้งบัญชีของตัวเองด้วย”
ด.ญ.ครียาภัทร ทองนาค นักเรียนชั้น ม.2 ที่ จ.ยโสธร ก็เขียนเรียงความตามโครงการ “สุดยอดนักบัญชีอาสาพาครอบครัวสดใส” เอาไว้ตอนหนึ่งว่า… “เมื่อก่อนคุณพ่อเคยดื่มเหล้าสูบบุหรี่ คุณแม่ชอบเล่นหวยและซื้อเครื่องสำอางมากมาย แต่พอคุณพ่อเลิกดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ส่วนคุณแม่ก็เลิกเล่นหวยและซื้อเครื่องสำอางน้อยลง เมื่อคำนวณรายจ่ายในแต่ละเดือนประหยัดเงินไปได้ถึงเดือนละ 3,000-4,000 บาท” …นี่ก็ผลจากการทำบัญชีครัวเรือนจนครอบครัวนี้เห็นชัดถึงยอดรายจ่ายไม่จำเป็นที่สูง และสามารถตัดออกไปได้“ทำให้เราทราบรายได้และรายจ่ายที่แน่นอน รวมทั้งทราบค่าใช้จ่าย ที่ฟุ่มเฟือย เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าเสริมสวย ค่าของเล่น ค่าตั๋วดูภาพยนตร์ อันไหนที่ไม่จำเป็นเราก็สามารถตัดออกได้ ทำให้ครอบครัวของผมมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น เงินส่วนนี้ก็เป็นเงินออมของครอบครัว ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายได้ในเวลาที่จำเป็น”
ด.ช.ประพัฒน์พงษ์ ตั้งเจริญ นักเรียนชั้น ป.3 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งก็เป็นอีกบทพิสูจน์เรื่อง “จดแล้วไม่จน” ที่ต่อยอดเป็น “มีเงินออม” ด้วย “บัญชีครัวเรือน” หรือบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำครอบครัว ที่จริงก็มิใช่เรื่องใหม่ หลายครอบครัวที่มีฐานะดีในวันนี้ได้ก็เพราะมีการทำบัญชีลักษณะนี้
บทสรุป
การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงิน สร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงิน และ การวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้
การทำบัญชีครัวเรือน
โดยใช้ระบบบัญชี
ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กดดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่
การทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย
ตามรูปแบบของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรา เรืองสินภิญโญ
สาขาบัญชี คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างสรุปบัญชีครัวเรือน (รายรับ – รายจ่าย)
เดือน | รายรับ
(บาท) |
รายจ่าย
(บาท) |
หมายเหตุ |
มกราคม | |||
กุมภาพันธ์ | |||
มีนาคม | |||
เมษายน | |||
พฤษภาคม | |||
มิถุนายน | |||
กรกฎาคม | |||
……………………………. | |||
รวมทั้งสิ้น |
คำอธิบายการจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือน (รายรับ – รายจ่าย) ประจำครอบครัว
1. ช่อง วัน/เดือน/ปี ใช้บันทึกวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่มีรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินเกิดขึ้น
2. ช่องรายการ ใช้บันทึกรายละเอียดของรายการรับเงิน เช่น รับเงินค่าขายผลิตผล รับเงินจากค่าจ้าง รับเงินกู้ รับเงินที่ลูกส่งให้ เป็นต้น หรือใช้บันทึกรายละเอียดของรายจ่าย เช่น ชำระหนี้เงินกู้ จ่ายเงินค่าอาหาร จ่ายเงินให้ลูกไปโรงเรียน เป็นต้น
3. ช่อง “รายรับ” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ
4. ช่อง “รายจ่าย” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายออกไปเป็นเงินสดและเงินเชื่อทุกรายการ ให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ
5. การสรุปบัญชีครัวเรือน (รายรับ – รายจ่าย) ใช้บันทึกยอดเงินรวมของจำนวนเงินที่ได้รับและจำนวนเงินที่จ่ายของแต่ละเดือน
ตัวอย่าง วิธีบันทึกบัญชีครัวเรือน (รายรับ – รายจ่าย)
วัน/เดือน/ปี |
รายการ |
รายรับ
(บาท) |
รายจ่าย
(บาท) |
หมายเหตุ |
1 ม.ค. 2563 | ลูกส่งเงินมาให้ | 3,000 | ||
1 ม.ค. 2563 | ช่วยทำบุญงานขึ้นบ้านใหม่ของเพื่อนบ้าน | 100 | ||
3 ม.ค. 2563 | รับเงินค่าขายข้าวเปลือก จำนวน 400 ถัง (4 เกวียน) | 24,000 | ราคาข้าวเปลือกถังละ 60 บาท | |
3 ม.ค. 2563 | ชำระหนี้ ธกส. | 10,000 | ||
14 ม.ค. 2563 | จ่ายค่าปุ๋ย จำนวน 2 กระสอบ | 1,000 | ราคากระสอบละ 500 บาท | |
27 ม.ค. 2563 | จ่ายค่ากับข้าว จำนวน 14 วัน (2 สัปดาห์) | 800 | เฉลี่ยรายจ่ายสัปดาห์ละ 400 บาท | |
30 ม.ค. 2563 | จ่ายค่าของเบ็ดเตล็ด
|
1,500 | ประกอบด้วยค่า ผงซักฟอก ยาสีฟัน
ขนมลูก ไฟฟ้า เสื้อผ้า น้ำมันพืช น้ำมันรถยนต์ |
|
รวม | 27,000 | 15,400 | ||
สรุป | มีรายรับจำนวน 27,000 บาท | |||
มีรายจ่าย จำนวน 15,400 บาท | ||||
มีรายรับมากกว่ารายจ่ายเป็นจำนวนเงิน 11,600 บาท |
ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีครัวเรือน (บัญชีรายรับและรายจ่าย)
วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน
1. ช่อง “วันที่” ใช้บันทึก วันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงินจริง แต่หากจำวันที่เกิดรายการไม่ได้ ให้ใช้วันที่ทำการบันทึกบัญชีแทน
2. ช่อง “รายการ” ใช้บันทึกคำอธิบายหรือรายละเอียดของการรับเงินหรือจ่ายเงิน การรับเงิน เช่น รับเงินเดือน รับรายได้พิเศษ การจ่ายเงิน เช่น ค่าอาหาร ค่าพาหนะเดินทาง จ่ายค่าเล่าเรียน เป็นต้น
3. ช่อง “รับ” ใช้บันทึก “จานวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายรับจากอาชีพหลักหรือรายได้อื่น ๆ
4. ช่อง “จ่าย” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายออกไปทุกรายการ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปในเรื่องใดก็ตาม
5. ช่อง “คงเหลือ” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” คงเหลือ หลังจากได้รับเข้ามาหรือจ่ายออกไป ควรคำนวณทุกครั้งที่มีการบันทึกบัญชีการรับเข้าหรือจ่ายออก เพื่อจะได้ทราบว่าปัจจุบันมีจานวนเงินคงเหลืออยู่เท่าใด โดยตั้งต้นด้วยจำนวนเงินคงเหลือล่าสุด นำรายการรับมาบวกเข้า และนำรายการจ่ายมาหักออก จะได้ยอดคงเหลือปัจจุบัน เพื่อสามารถวางแผนการใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ช่อง “หมายเหตุ” ใช้บันทึกรายละเอียดที่ต้องการบันทึกเพิ่มเติมจากช่องรายการ
7. บรรทัด “ยอดคงเหลือยกมา” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ในช่องคงเหลือ โดยนำตัวเลขมาจากจำนวนเงินในช่อง “คงเหลือ” จากบรรทัด “รวม” (บรรทัดสุดท้าย) ของหน้าบัญชีก่อนหน้านี้ แต่หากเป็นการเริ่มต้นบันทึกบัญชีเป็นครั้งแรกในหน้านี้ ให้ใส่จำนวนเงินคงเหลือตามตัวเลขที่มีเงินคงเหลืออยู่เป็นตัวเลขตั้งต้น
8. บรรทัด รวม รับ, จ่าย และยอดคงเหลือยกไป ใช้บันทึก “จำนวนเงินรวม” ตามแนวตั้งในช่องรับและจ่าย ส่วนช่องคงเหลือ เป็นจำนวนเงินคงเหลือที่เป็นปัจจุบัน โดยนำตัวเลขนี้มาจากช่องคงเหลือล่าสุดของหน้าบัญชีนี้ ซึ่งจานวนเงินนี้จะนำไปใส่ในบรรทัดยอดคงเหลือยกมาในช่องคงเหลือของหน้าบัญชีถัดไป แต่หากต้องการทราบยอดรวมของรายรับและรายจ่ายในหน้าบัญชีถัดไปด้วย ก็ให้ยกยอดรวมในช่องรับและจ่ายไปใส่ในหน้าบัญชีถัดไปพร้อมกัน จำนวนเงินยอดคงเหลือยกไปในหน้าบัญชีนี้จะต้องเท่ากับจานวนเงินยอดคงเหลือยกมาในหน้าบัญชีถัดไป
ตัวอย่าง บัญชี รายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน………..
วันที่ | รายการ | รายรับ | รายจ่าย | คงเหลือ |
บาท | บาท | บาท | ||
31/1/2563 | ยอดยกมา | 8,000 | ||
1/2/2563 | ได้รับเงินเดือน | 22,000 | 30,000 | |
รับเงินจากพี่ศรราม | 4,000 | 34,000 | ||
ค่าอาหาร | 600 | |||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 80 | |||
ค่าน้ำมันรถ | 60 | 33,260 | ||
2/2/2563 | ค่าอาหาร | 80 | ||
จ่ายค่าน้ำ | 170 | |||
จ่ายค่าไฟฟ้า | 600 | |||
ซื้อของใช้ในบ้าน | 400 | |||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | 31,910 | ||
3/2/2563 | ค่าอาหาร | 150 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | |||
ค่าน้ำมันรถ | 50 | |||
ซื้อปุ๋ยใส่ต้นไม้ | 50 | 31,560 | ||
4/2/2563 | ค่าอาหาร | 100 | ||
จ่ายค่าขนมลูก | 30 | 31,430 | ||
5/2/2563 | ค่าอาหาร | 100 | ||
จ่ายค่าขนมลูก | 30 | |||
จ่ายค่าน้ำมันรถ | 60 | 31,240 | ||
6/2/2563 | ซื้อของใช้ในบ้าน | 250 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | |||
ค่าอาหาร | 120 | 30,770 | ||
7/2/2563 | ค่าอาหาร | 100 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | 30,570 | ||
8/2/2563 | จ่ายค่าเรียนพิเศษ | 2,000 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | |||
ค่าอาหาร | 100 | 28,370 | ||
9/2/2563 | ซื้อหนังสือเรียน | 885 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | |||
จ่ายค่าน้ำมันรถ | 50 | 27,335 | ||
10/2/2563 | ค่าอาหาร | 110 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | 27,125 | ||
11/2/2563 | ค่าอาหาร | 40 | ||
ซ่อมมอเตอร์ไซด์ | 1,700 | |||
จ่ายค่าขนมลูก | 30 | 25,355 | ||
12/2/2563 | จ่ายค่าน้ำมันรถ | 50 | ||
จ่ายค่าขนมลูก | 30 | 25,275 | ||
13/2/2563 | ค่าอาหาร | 170 | ||
จ่ายค่าขนมลูก | 30 | 25,075 | ||
14/2/2563 | จ่ายค่าน้ำมันรถ | 60 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | 24,915 | ||
15/2/2563 | ค่าอาหาร | 110 | ||
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน | 100 | |||
จ่ายค่าแก๊ส | 265 | 24,440 |
ตัวอย่าง การบันทึกบัญชีครัวเรือน
รายการรับ-จ่าย ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 25×1 มีดังนี้
(จานวนเงินคงเหลือ ณ วันต้นเดือนเท่ากับ 300 บาท)
25×1
มิถุนายน 1 รับเงินเดือนจากผู้ปกครอง 2,000 บาท
รับค่าทำงานพิเศษ 1,000 บาท
5 จ่ายค่าอาหาร 5 วัน 220 บาท
จ่ายเดินทาง 200 บาท
10 ซื้อของใช้เบ็ดเตล็ด 180 บาท
ซื้อรองเท้า 300 บาท
จ่ายค่าอาหาร 5 วัน 240 บาท
20 ซื้อเสื้อนักศึกษา 200 บาท
ทำบุญที่วัด 50 บาท
จ่ายค่าอาหาร 10 วัน 450 บาท
ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ 50 บาท
30 จ่ายค่าหอพัก 500 บาท
จ่ายค่าอาหาร 10 วัน 400 บาท
รับค่าทำงานพิเศษ 150 บาท
จ่ายค่าหนังสือเรียน 300 บาท
การบันทึกรายการข้างต้นในสมุดบัญชีครัวเรือน เป็นดังนี้
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีครัวเรือน (บัญชีรายรับและรายจ่าย)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ในการบันทึกบัญชีครัวเรือนมีข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลข้างต้น ดังนี้
1. การบันทึกบัญชี อาจบันทึกทุกวัน หรือหลายวันบันทึกหนึ่งครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก แต่ให้เก็บรวบรวมหลักฐานการรับหรือจ่ายเงินไว้ (ถ้ามี) เช่นใบเสร็จรับเงินจากการใช้จ่ายต่าง ๆ
2. กรณีที่ต้องการทราบรายละเอียดของรายจ่ายให้ชัดเจนว่าจ่ายไปในเรื่องใดบ้าง ให้แบ่งช่องรายจ่ายออกเป็นช่องย่อยๆ ลงไปอีกตามที่ต้องการ เช่น ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะเดินทาง ค่าการศึกษา ชาระหนี้สิน และรายจ่ายอื่นๆ เมื่อบันทึกบัญชี ให้นำจำนวนเงินบันทึกลงในช่องนั้นๆ ตามประเภท