ประวัติสหกรณ์

 

ระหว่างศตวรรษที่  18-19  ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน  ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  คือเกิดภาวะการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วไปการเปลี่ยนแปลง  อย่างใหญ่หลวงครั้งนี้เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ  ชาวอังกฤษต้องประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากมายจากการที่นายทุนใช้เครื่องจักรแทนแรงงานมีการปลดคนงานออกจากโรงงาน  ส่วนผู้ประกอบ  การรายย่อย  ต้องเลิกล้มกิจการไป  สภาพสังคมทั่วไปมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ  ฝ่ายนายทุน  และทางฝ่ายกรรมการ  นายทุนพยายามแสวงหากำไรจากการลงทุนมากที่สุด  โดยการเอารัดเอาเปรียบฝ่ายกรรมกรทุกวิถีทาง
จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในครั้งนี้  บรรดากรรมการที่ถูกบีบคั้นทั้งหลายจึงเริ่มแสวงหาหนทาง  ที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากของพวกตนประกอบกับเวลานั้นมีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความคิด  อยากจะช่วยพยุงฐานะของสังคมให้ดีขึ้น  ได้เสนอแนวทางปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม  โดยการร่วมมือ  ระหว่างผู้ที่เดือดร้อนให้รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  แนวความคิดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบสหกรณ์ขึ้นในเวลาต่อมา


โรเบิร์ด โอเวน บิดาสหกรณ์โลก

บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่งไปรู้จักคำว่า “สหกรณ์”  คือโรเบอร์ต โอเวน  ชาวอังกฤษ  ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิด  การสหกรณ์ขึ้นในโลก  และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการสหกรณ์  เดิมโอเวนเป็นคนที่ยากจนแต่ความเฉลียวฉลาดและรู้จักวิธีการทำมาหากินจึงทำให้เข้าได้มีโอกาสเป็นผู้จักการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน  เขาเป็นนายจ้าง  ที่มีความหวังดีต่อกรรมกร  จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของคนงานให้ดีขึ้น  หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ  โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อขจัดปัญหา  ความเดือดร้อนต่างๆ  ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์  โอเวนเสนอให้จัดตั้ง  “ชมรมสหกรณ์”  (Co-operative Community)  ให้ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ใช้เองโดยไม่ใช้เครื่องจักรทรัพย์สินของชมรม  เป็นของส่วนรวม  เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปนอยู่ในชมรม  การจัดจั้งชมรมสหกรณ์  จะต้องใช้เงินทุน  และที่ดินเป็นจำนวนมากและโอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์  เพื่อให้คนทั่วไป  ได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ  แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้  เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น  โอเวนจึงได้เดินทางไปประเทศอเมริกา  และทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์  ขึ้นเป็นครั้งแรกที่  นิวฮาโมนี  รัฐอินเดียนา  สหรัฐอเมริกา  ในปี พ.ศ. 2368 ให้ชื่อว่า  นิวฮาโมนี (New Harmony)  แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา  เนื่องจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่าใช้จ่าย  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา  อย่างไรก็ตามแนวความคิดของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ  เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์  ในอันที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือง  ซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น


นายแพทย์วิลเลี่ยม คิง

อีกท่านหนึ่งคือนายแพทย์วิลเลี่ยม  คิง  อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน  ประเทศอังกฤษ  เป็นผู้นิยมให้ความคิด  ทางสหกรณ์ของโอเวน  แต่เห็นว่าโครงการของโอเวนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก  ซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยากนายแพทย์คิงจึงเริ่มต้นจากากรชี้แจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อย  ตั้ง “สมาคมการค้า”  (Trading Association) ในรูปสหกรณ์ขึ้น  เมื่อปี พ.ศ. 2370  เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า  แต่มีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกัน  แต่จะเก็บสมทบไว้เป็นทุนเพื่อใช้ งานของร้านสหกรณ์ต่อไป  จนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโอเวนได้  ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการ  เก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืนแก่สมาชิก  ทำให้สมาชิกไม่ศรัธราสหกรณ์  อย่างไรก็ตามกิจการของนายแพทย์คิง  ก็คล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน  ฉะนั้นในวงการร้านสหกรณ์สมัยนี้จึงให้เกียรติแก่ท่านมาก
ต่อมาเมื่อสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นก็ได้มีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วยนักสหกรณ์รอชเดล  หรือที่เรียกกันว่า  “ผู้นำแห่งรอชเดล”  ได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ 10 ประการ  ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการที่ถูกยึดถือ  เป็นหลักสหกรณ์สากลมาจนถึงปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานาน  แต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และกลายเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่  ยิ่งกว่านั้นวิธีการของร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคแบบนี้  ได้เผยแพร่หลาย  ออกไปสู่  ประชาชนกลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหักการสำคัญๆ  อย่างเดียวกันนี้  มีอยู่ในประเทศต่างๆ  เป็นจำนวนมาก
ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ  เช่น  สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุน  หรือ  สหกรณ์เครดิต  หรือสหกรณ์สินเชื่อก็เช่นเดียวกันสหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสน  และความเดือนร้อนของเกษตรกรและกรรมกร  เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้อยาก  และแม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง  จนมาสามารถหารายได้มาให้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้  เป็นเหตุให้มีหนี้สินมากเมื่อปี พ.ศ. 2393  นายเฮิร์มัน   ชูลช์ชาวเยอรมัน  ผู้พิพากษาแห่ง  เมืองเดลิตช์ ได้คิดจัดตั้งสหกรณ์  ประเภทหาทุนขึ้นในหมู่ชาวเมือง  ผู้เป็นช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็ก  โดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม  และในปี พ.ศ. 2405  นายฟริดริค   วิลเฮล์มไรฟไฟเซน  ชาวเยอรมัน  นายกเทศมนตรี  เมือง เฮดเอสดอร์ฟ  ได้จัดตั้งสหกรณ์  หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท  ซึ่งเป็นเกษตรกร  โดยจัดเป็นองค์การ  เพื่อจัดหาทุนให้แก่สมาชิก  กู้ยืม  เช่นเดียวกัน  ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน  ของประชาชนก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ  อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวบ้านและชาวเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น ” ขบวนการสหกรณ์โลก ” มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น ” วันสหกรณ์สากล ”

ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย
สหกรณ์แห่งแรก

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยา
ลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ ”

การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกองทุนพัฒนาสหกรณ์

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย  ก็คือ  การควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกันโดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511  เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่  สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก  ได้มากกว่า  ด้วยเหตุนี้  สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน  และในปี 2511  สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา  เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ  มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกันสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ  ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ  ที่มิใช่เกี่ยวกันการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสมาชิก  ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท  ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2516  ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์นิคม  สหกรณ์ประมง  สหกรณ์ออกทรัพย์  สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์บริการและสหกรณ์เครดิตยูเนียน  ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน  ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ  ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์  จำนวนสมาชิก  ปริมาณเงินทุน  และผลกำไรของสหกรณ์  เพิ่มขึ้นทุกปี  การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ  ต่อประชาชนที่ยากจน  การสหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ  และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

 

ความหมาย

 

สหกรณ์เป็นภาษาสันสกฤต  มีการอธิบายความหมายของนักสหกรณ์ไทยและต่างประเทศโดยยกตัวอย่างได้ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงอธิบายความหมาย  สหกรณ์  ว่า สห  คือ  ด้วยกัน  กรณ์  คือ  การทำงาน  สหกรณ์  คือ  การทำงานร่วมกัน  ด้วยความรู้ความสามารถ  ซื้อสัตย์สุจริต  เมตตากัน  สหกรณ์ต้องอาศัยปัจจัย  สำคัญที่สุด  คือ  ความสามัคคีและความซื่อสัตย์
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นพระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย  ได้ประทานคำแปล “สหกรณ์เป็นวีการจัดการรูปหนึ่งซึ่งบุคคลหลายคนเข้าร่วมกันโดยความสมัครใจของตนเอง  ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น  และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมดเพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์”
คำนิยามที่กำหนดโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization หรือ ILO)  กำหนดสถานะของสหกรณ์เป็นทั้งองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคม  “สหกรณ์เป็นสมาคมของบุคคลที่รวมกันเข้าด้วยความสมัครเพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน  โดยการก่อตั้งองค์การธุรกิจที่ควบคุมแบบประชาธิปไตย  ร่วมกันออกทุนที่ต้องการอย่างเที่ยงธรรมและยอมรับการมีส่วนอย่างยุติธรรม  ในการเสี่ยงภัยและผลประโยชน์ของการดำเนินงานที่สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน”
Israel Packel  ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “สหกรณ์เป็นสมาคมที่ให้บริการทางเศรษฐกิจโดยไม่คิดกำไรในฐานะผู้ประกอบการและบุคคล  ผู้รับบริการของสมาคมต่างก็เป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุมกิจการโดยเท่าเทียมกัน”
“W.P.Watkins  ได้ให้คำนิยามว่า  “สหกรณ์เป็นระบบองค์กรทางสังคมอย่างหนึ่ง  ซึ่งยึดหลักความสามัคคี  เศรษฐกิจ  ประชาธิปไตย  ความยุติธรรมและเสรีภาพ”
ความหมายของสหกรณ์นอกจากการอธิบายดังกล่าวแล้ว  ตามกฎหมาย  คือ  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
มาตรา 4 ได้กำหนดให้สหกรณ์หมายความว่า  “คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้”

สรุป สหกรณ์ คือ “ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ ( อันจำเป็น ) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”
ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถ แก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จาก การดำเนินกิจการเองตามลำพัง

แผนภาพที่  1  ความหมายสหกรณ์
สถานภาพสหกรณ์
1.    สหกรณ์เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
2.    เมื่อจดทะเบียนแล้ว สหกรณ์มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล”
3.    สหกรณ์เป็นนิติบุคคลในภาคเอกชน ไม่สังกัดส่วนราชการใดๆทำไมต้องมีการจัดตั้งสหกรณ์
1.    สหกรณ์ เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข
2.    สหกรณ์เป็นองค์การที่มีกฎหมายรองรับ เป็นนิติบุคคลที่ถาวร เป็นอิสระ มีส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนตามความจำเป็น
3.    สหกรณ์ มีวิธีการแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยธรรม เป็นแบบของสหกรณ์โดยเฉพาะ มีลักษณะที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการในขณะเดียวกันประโยชน์ที่จะได้รับจากสหกรณ์ มีดังต่อไปนี้
1.    การรวมกันเป็นสหกรณ์ ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้ และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง
2. ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ
2.    สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก
3.    สหกรณ์ ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น
4.    ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์
5.    สหกรณ์ ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การดำเนินงานของสหกรณ์
สหกรณ์ ดำเนินกิจการภายใต้กรอบแห่งกฎหมายทั้งปวง แต่ต้องไม่ขัดกับข้อบังคับสหกรณ์และพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ซึ่งกำหนดให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ดำเนินธุรกิจการผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
2. รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำจากสมาชิก หรือสหกรณ์อื่นได้ตามระเบียบสหกรณ์
3.จัดให้ได้มา หรือจำหน่ายไป ซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์สินโดยหลักแห่งนิติกรรมและสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4.ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ รับจำนอง หรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิก หรือของสมาชิก
5.ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์
6.ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัว
7.ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
8.ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่น
9. ดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

สิทธิพิเศษของสหกรณ์
1.    สหกรณ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน สำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวเนื่องอสังหาริมทรัพย์
2.    สหกรณ์ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.    เอกสารที่สหกรณ์ทำขึ้นบางอย่างได้รับการยกเว้นไม่เสียค่าอากรแสตมป์

ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับสหกรณ์
ปัจจัยจำเป็นที่จะทำให้สหกรณ์ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ
1.  ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์และกรรมการดำเนินการ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการสหกรณ์สหกรณ์เป็นการรวมคน ดังนั้นคนที่มารวมกันจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมาย ในการรวมกัน รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งหลักและวิธีการสหกรณ์จึงจะทำให้ดำเนินกิจการได้โดยราบรื่น มีความมั่นคงและเข้มแข็ง สามารถอำนวยประโยชน์ให้สมาชิกได้สมความมุ่งหมาย ดังนั้น ควรอบรมให้บุคคลที่จะมารวมกันตั้งสหกรณ์รู้เรื่องดังกล่าวด้วย
2. ทุนดำเนินงานสหกรณ์ ทุนดำเนินงานได้มาจากค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ยืม เงินช่วย เหลือจากบุคคลอื่นๆ และกำไรที่สะสมไว้ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงควรประมาณการไว้ว่าจะได้เงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด จะได้มาจากไหน และถ้าไม่เพียงพอจะหาเพิ่มเติมได้โดยวิธีใด
3. ปริมาณธุรกิจที่เพียงพอ สหกรณ์ต้องมีรายจ่ายจากการดำเนินธุรกิจ รายจ่ายบาง ประเภทคงที่ไม่ว่าจะทำธุรกิจมากน้อยเท่าใด เช่น เงินเดือน ค่าสึกหรอ เป็นต้น ดังนั้น สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจให้มาก พอจนมีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงต้องประมาณดูว่าสหกรณ์สมควรทำธุรกิจกับสมาชิกในด้าน ไหนมากน้อยเพียงใด ตลอดจนการโฆษณาเชิญชวนหรือชักชวนให้สมาชิกมาทำธุรกิจกับสหกรณ์ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้
4. ผู้จัดการสหกรณ์ สหกรณ์ต้องทำธุรกิจ ต้องมีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและควบคุม กิจการของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด ผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำงานให้สหกรณ์เต็มเวลา ควรมีประสบการณ์ ในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง และมีความรู้ในหลักการวิธีการสหกรณ์ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงจำเป็นต้องพิจารณาคัดเลือกหาคนที่มีคุณสมบัติที่ เหมาะสมมาปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
5. ความต้องการของกลุ่มบุคคลที่จะรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ จะต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง ของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง
สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นโดยมีปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว จะสามารถดำเนินกิจการต่อไป ได้ถูกต้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงสืบไป