โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์

สมาชิกสหกรณ์ประกอบด้วย บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลในกรณีสหกรณ์ชั้นสูง การสมัครเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า และการถือหุ้นในสหกรณ์ รวมทั้งสมาชิกคือผู้กำหนดเงื่อนไข หรือข้อบังคับในการดำเนินงานสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ จัดจ้างผู้สอบบัญชี และหน้าที่อื่นๆ นี่คือการควบคุมดูแลตรวจสอบ ตามหลักประชาธิปไตยและรับผิดชอบ ร่วมกันของบรรดาสมาชิก

องค์ประกอบการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งผู้แทนในการบริหารจัดการองค์กร และเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของสมาชิก รวมถึงการออกข้อบังคับของสหกรณ์ การมอบหมายนโยบายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไปดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คือผู้จัดการสหกรณ์เท่านั้น เป็นผู้ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบ บริหารสหกรณ์ตามนโยบายที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดก็คือการให้บริการแก่มวลสมาชิกสหกรณ์นั่นเอง

การลงทุนในสหกรณ์
สมาชิกเป็นผู้ออกทุนในสหกรณ์ ด้วยการถือหุ้นเพื่อใช้เงินทุนนั้นในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดหาบริการด้านต่างๆ ให้แก่มวลสมาชิก หากเงินทุนไม่เพียงพอ สามารถ จัดหาเงินทุนด้วยการกู้ยืม การขอรับการอุดหนุนจากแหล่ง ต่างๆ ได้แต่การบริหารจัดการเงินทุนต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์ กับ หนี้สินและทุนสหกรณ์เป็นองค์การเศรษฐกิจ จึงต้องมีความสามารถในการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิผล และเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการตรวจสอบบัญชี และการตรวจสอบกิจการ ซึ่งสามารถตรวจสอบโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือขบวนการสหกรณ์ โดยจัดจ้างบริษัทเอกชนภายนอกก็ได้

การดำเนินการธุรกิจสหกรณ์

สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายแห่งรัฐ กฎหมายต่างๆ รู้วิธีการและ เทคนิคต่างๆ เพราะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ควบคุมโดยสมาชิกนั้น ต้องใช้ความชำนาญการอย่างยิ่งในการบริหาร เงินทุนบุคลากร ทรัพยากร

โครงสร้างสหกรณ์
การบริหารงานของสหกรณ์ทั้ง 7 ประเภท  จะยึดหลักเดียวกัน  คือ  บริหารงานโดยสมาชิกสมาชิกทุกๆ  คน  จะเลือกตัวแทนซึ่งเรียนว่า “คณะกรรมการดำเนินการ”  จากที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริการงานให้สหกรณ์โดยจัดจ้าง  “ผู้จัดการ”  ให้ปฏิบัติงานในสหกรณ์  ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์ตั้งอยู่ บนรากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของสหกรณ์ แต่ทุกคนไม่สามารถร่วมบริหารกิจการของสหกรณ์ได้ จึงต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้บริหารงานแทน ซึ่งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการไม่เกิน 15 คน มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการทั้งปวง เพื่อให้กิจการสหกรณ์ดำเนินการอย่างกว้างขวาง และให้บริการแก่สมาชิกอย่างทั่วถึง คณะกรรมการดำเนินการควรจัดจ้างผู้จัดการที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนิน ธุรกิจแทน และผู้จัดการ อาจจัดจ้างเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือกิจการสหกรณ์ด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นสำคัญ

 

คุณสมบัติของสมาชิก  คือ
1.ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพในท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์
2.เป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ
3.เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์  ขยันขันแข็ง  ในการประกอบอาชีพและรู้จักประหยัด
4.ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ  หรือเสมือนไร้ความสามารถ
5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
6.ไม่เคยถูกให้ออกจากสหกรณ์ใดๆ  โดยมีความผิด

สิทธิหน้าที่สมาชิกสหกรณ์
1.เป็นเจ้าของสหกรณ์โดย  – ถือหุ้นกับสหกรณ์  – มีทรัพย์สินอยู่ในสหกรณ์  – มีหนี้สินอยู่ในสหกรณ์   –  มีส่วนรับผิดชอบต่อสหกรณ์  – มีส่วนได้เสียในสหกรณ์
2. มีสิทธิในการใช้บริการของสหกรณ์  – มีสิทธิในการควบคุมสหกรณ์ – มีสิทธิในการตรวจสอบสหกรณ์  – มีสิทธิในการเข้าประชุมใหญ่  – มีสิทธิในการสมัตรเป็นกรรมการสหกรณ์  – มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการสหกรณ์
3. มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับ – มติคณะกรรมการและคำสั่งของสหกรณ์  – มีหน้าที่เข้าร่วมประชุม  – มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์  – มีหน้าที่สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์

คณะกรรมการการดำเนินการสหกรณ์
หมายถึง  สมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นกรรมการดำเนินการซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน  และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 14 คน คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก

  อำนาจหน้าที่คณะกรรมการดำเนินการ
1.    กำหนดระเบียบถือใช้ในสหกรณ์
2.    กำหนดนโยบายและควบคุมกิจการธุรกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3.ปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์  รองนายทะเบียนสหกรณ์  ผู้ตรวจการสหกรณ์  ผู้สอบบัญชี  หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย
4. พิจารณาการรับสมาชิกและสมาชิกออก
5. แต่งตั้ง หรือจ้าง ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่
6. มอบหมายอำนายหน้าที่ให้บุคคลที่เหมาะสม
7. แต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์
8. อนุมัติรายการการเงินที่สำกัญ
9.พิจารณารายงานกิจการประจำเดือน  หรือรายงานอื่น
10. ดำเนินการประชุมใหญ่
11. เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิ  เสนอแผนงานงบประมาณต่อที่ประชุมใหญ่
12.  ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
13. เป็นตัวแทนสหกรณ์ในการทำนิติกรรม    ความรับผิดชอบ – รับผิดชอบทั้งคณะ  กรณีสหกรณ์ดำเนินการยึดวัตถุประสงค์  หรือกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ – รับผิดชอบรายงานกรณีลงมติที่ไม่ชอบ

ผู้ตรวจสอบกิจการ
เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่  โดยเป็นผู้มีคุณวุฒิ  ความรู้ความสามารถ  ในด้านกิจการ ธุรกิจ  บัญชี  การเงิน  การสหกรณ์
บทบาทหน้าที่ – ตรวจสอบเอกสารทุกธุรกิจ ทุกกิจการของสหกรณ์  – ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ในสหกรณ์  – ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน  การใช้จ่ายงบประมาณ – ติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินการ  – ตรวจสอบหลักประกันการจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์  – เข้าประชุมใหญ่เสนอผลการตรวจสอบกิจการ

ฝ่ายจัดการ
เป็นบุคคลที่คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้างให้ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย  โดยได้รับค่าตอบแทนจากสหกรณ์  มีบทบาทหน้าที่คือ  – ดำเนินงานกิจการ  ธุรกิจของสหกรณ์  – จัดทำหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง  – ทำแผนปฏิบัติงานตามนโยบายของสหกรณ์   – รายงานผลการดำเนินกิจการ  – รับผิดชอบการเงิน การบัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์  – ปฏิบัติงานอื่นๆ


โครงสร้างฝ่ายจัดการ