ค้นหา

OBEC SuffECON SEP4SDGs

หมวดหมู่

สหกรณ์

บทที่ 6 โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์

โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์

สมาชิกสหกรณ์ประกอบด้วย บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลในกรณีสหกรณ์ชั้นสูง การสมัครเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า และการถือหุ้นในสหกรณ์ รวมทั้งสมาชิกคือผู้กำหนดเงื่อนไข หรือข้อบังคับในการดำเนินงานสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ จัดจ้างผู้สอบบัญชี และหน้าที่อื่นๆ นี่คือการควบคุมดูแลตรวจสอบ ตามหลักประชาธิปไตยและรับผิดชอบ ร่วมกันของบรรดาสมาชิก

องค์ประกอบการบริหารจัดการ
การเลือกตั้งผู้แทนในการบริหารจัดการองค์กร และเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของสมาชิก รวมถึงการออกข้อบังคับของสหกรณ์ การมอบหมายนโยบายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไปดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คือผู้จัดการสหกรณ์เท่านั้น เป็นผู้ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบ บริหารสหกรณ์ตามนโยบายที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดก็คือการให้บริการแก่มวลสมาชิกสหกรณ์นั่นเอง

การลงทุนในสหกรณ์
สมาชิกเป็นผู้ออกทุนในสหกรณ์ ด้วยการถือหุ้นเพื่อใช้เงินทุนนั้นในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดหาบริการด้านต่างๆ ให้แก่มวลสมาชิก หากเงินทุนไม่เพียงพอ สามารถ จัดหาเงินทุนด้วยการกู้ยืม การขอรับการอุดหนุนจากแหล่ง ต่างๆ ได้แต่การบริหารจัดการเงินทุนต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์ กับ หนี้สินและทุนสหกรณ์เป็นองค์การเศรษฐกิจ จึงต้องมีความสามารถในการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิผล และเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการตรวจสอบบัญชี และการตรวจสอบกิจการ ซึ่งสามารถตรวจสอบโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือขบวนการสหกรณ์ โดยจัดจ้างบริษัทเอกชนภายนอกก็ได้

การดำเนินการธุรกิจสหกรณ์

สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายแห่งรัฐ กฎหมายต่างๆ รู้วิธีการและ เทคนิคต่างๆ เพราะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ควบคุมโดยสมาชิกนั้น ต้องใช้ความชำนาญการอย่างยิ่งในการบริหาร เงินทุนบุคลากร ทรัพยากร

โครงสร้างสหกรณ์
การบริหารงานของสหกรณ์ทั้ง 7 ประเภท  จะยึดหลักเดียวกัน  คือ  บริหารงานโดยสมาชิกสมาชิกทุกๆ  คน  จะเลือกตัวแทนซึ่งเรียนว่า “คณะกรรมการดำเนินการ”  จากที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการดำเนินการมีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริการงานให้สหกรณ์โดยจัดจ้าง  “ผู้จัดการ”  ให้ปฏิบัติงานในสหกรณ์  ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์ตั้งอยู่ บนรากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของสหกรณ์ แต่ทุกคนไม่สามารถร่วมบริหารกิจการของสหกรณ์ได้ จึงต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้บริหารงานแทน ซึ่งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการไม่เกิน 15 คน มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการทั้งปวง เพื่อให้กิจการสหกรณ์ดำเนินการอย่างกว้างขวาง และให้บริการแก่สมาชิกอย่างทั่วถึง คณะกรรมการดำเนินการควรจัดจ้างผู้จัดการที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนิน ธุรกิจแทน และผู้จัดการ อาจจัดจ้างเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือกิจการสหกรณ์ด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นสำคัญ

 

คุณสมบัติของสมาชิก  คือ
1.ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพในท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์
2.เป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ
3.เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์  ขยันขันแข็ง  ในการประกอบอาชีพและรู้จักประหยัด
4.ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ  หรือเสมือนไร้ความสามารถ
5.ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
6.ไม่เคยถูกให้ออกจากสหกรณ์ใดๆ  โดยมีความผิด

สิทธิหน้าที่สมาชิกสหกรณ์
1.เป็นเจ้าของสหกรณ์โดย  – ถือหุ้นกับสหกรณ์  – มีทรัพย์สินอยู่ในสหกรณ์  – มีหนี้สินอยู่ในสหกรณ์   –  มีส่วนรับผิดชอบต่อสหกรณ์  – มีส่วนได้เสียในสหกรณ์
2. มีสิทธิในการใช้บริการของสหกรณ์  – มีสิทธิในการควบคุมสหกรณ์ – มีสิทธิในการตรวจสอบสหกรณ์  – มีสิทธิในการเข้าประชุมใหญ่  – มีสิทธิในการสมัตรเป็นกรรมการสหกรณ์  – มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการสหกรณ์
3. มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับ – มติคณะกรรมการและคำสั่งของสหกรณ์  – มีหน้าที่เข้าร่วมประชุม  – มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์  – มีหน้าที่สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์

คณะกรรมการการดำเนินการสหกรณ์
หมายถึง  สมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นกรรมการดำเนินการซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน  และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 14 คน คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก

  อำนาจหน้าที่คณะกรรมการดำเนินการ
1.    กำหนดระเบียบถือใช้ในสหกรณ์
2.    กำหนดนโยบายและควบคุมกิจการธุรกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3.ปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์  รองนายทะเบียนสหกรณ์  ผู้ตรวจการสหกรณ์  ผู้สอบบัญชี  หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย
4. พิจารณาการรับสมาชิกและสมาชิกออก
5. แต่งตั้ง หรือจ้าง ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่
6. มอบหมายอำนายหน้าที่ให้บุคคลที่เหมาะสม
7. แต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์
8. อนุมัติรายการการเงินที่สำกัญ
9.พิจารณารายงานกิจการประจำเดือน  หรือรายงานอื่น
10. ดำเนินการประชุมใหญ่
11. เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิ  เสนอแผนงานงบประมาณต่อที่ประชุมใหญ่
12.  ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
13. เป็นตัวแทนสหกรณ์ในการทำนิติกรรม    ความรับผิดชอบ – รับผิดชอบทั้งคณะ  กรณีสหกรณ์ดำเนินการยึดวัตถุประสงค์  หรือกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ – รับผิดชอบรายงานกรณีลงมติที่ไม่ชอบ

ผู้ตรวจสอบกิจการ
เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่  โดยเป็นผู้มีคุณวุฒิ  ความรู้ความสามารถ  ในด้านกิจการ ธุรกิจ  บัญชี  การเงิน  การสหกรณ์
บทบาทหน้าที่ – ตรวจสอบเอกสารทุกธุรกิจ ทุกกิจการของสหกรณ์  – ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ในสหกรณ์  – ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน  การใช้จ่ายงบประมาณ – ติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินการ  – ตรวจสอบหลักประกันการจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์  – เข้าประชุมใหญ่เสนอผลการตรวจสอบกิจการ

ฝ่ายจัดการ
เป็นบุคคลที่คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้างให้ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย  โดยได้รับค่าตอบแทนจากสหกรณ์  มีบทบาทหน้าที่คือ  – ดำเนินงานกิจการ  ธุรกิจของสหกรณ์  – จัดทำหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง  – ทำแผนปฏิบัติงานตามนโยบายของสหกรณ์   – รายงานผลการดำเนินกิจการ  – รับผิดชอบการเงิน การบัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์  – ปฏิบัติงานอื่นๆ


โครงสร้างฝ่ายจัดการ

บทที่ 5 ประเภทสหกรณ์

ประเภทสหกรณ์ 7 ประเภท

1. สหกรณ์การเกษตร


สหกรณ์การเกษตร คือ  สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีอาชีพทางการเกษตร  รวมกันจัด  ตั้งขึ้น  และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์  โดยจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน  เพื่อแก้ไขความเดือดร้อยในการประกอบอาชีพของสมาชิกและช่วยยกฐานะความเป็น อยู่สมาชิกให้  ดีขึ้น
 ความเป็นมา  สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2459  ชื่อว่า  สหกรณ์วัดจันทร์  ไม่จำกัดสินใช้  ในจังหวัดพิษณุโลก  เป็นสหกรณ์  การเกษตรชนิดไม่จำกัด  มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านตั้งขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มี  รายได้ต่ำและหนี้สินมากมีสมาชิกแรกตั้ง  จำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน  จำนวน 3,080.- บาท  เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า  จำนวน 80 บาท  และเป็นทุนจากการกู้แบงก์สยามกัมมาจล  (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน)  จำนวน 3,000.-  บาท
วัตถุประสงค์  สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์  เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และช่วยเหลือส่วนรวมโดยใช้หลักคุณธรรม  จริยธรรมอันดีงานตามพื้นฐานของมนุษย์  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
 ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ  ทำให้สมาชิกมีปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น  จากการกู้เงินสหกรณ์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาประกอบอาชีพ  ทำให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินทำกินมากกว่าเดิมทั้งได้รับความ รู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการผลิต  ตั้งแต่การใช้พันธุ์พืช  พันธ์สัตว์  การใช้ปุ๋ย  การใช้ยาปราบศัตรูพืชการเก็บรักษาผลผลิตอย่างมีคุณภาพ  ผลผลิต  ที่ได้จึงเป็นไปตามความต้องการของตลาด  ส่งผลให้สหกรณ์และบุคคลในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้าน เศรษฐกิจสังคมการศึกษา  และการอนามัย

2. สหกรณ์ประมง


 สหกรณ์ประมง  คือ  สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมง  เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ  ซึ่งชายประมงแต่ละคนมาสามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพัง  บุคคลเหล่านี้จึงรวมกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความเป็นมา  สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่าสหกรณ์ประมงพิษณุโลกจำกัด  ในท้องที่ลำคลองกระบังโป่งนก  อำเภอพรหมพิราม  จังหวัดพิษณุโลก  เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด  มีสมาชิกแรกตั้ง  จำนวน 54  คนดำเนินการจัดสรรที่ทำกิน  การจำหน่ายการแปรรูป  และขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก
วัตถุประสงค์  สหกรณ์ประสงค์ดำเนินการให้ความรู้ทางด้านวิชาการในเรื่องการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม  และมีคุณภาพในการเพาะเลี้ยง  การเก็บรักษาและการแปรรูปสัตว์น้ำแก่สมาชิกรวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางด้าน ธุรกิจการประมงคือ  การจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ไปลงทุนประกอบอาชีพ  การจัดหาวัสดุการประมงมาจำหน่ายการจัดจำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ  การรับฝากเงินและสงเคราะห์สมาชิกเมื่อประสบภัยพิบัติ
ประโยชน์ที่สมาชิกจุได้รับ  ทำให้สมาชิกมีแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาลงทุนประกอบอาชีพ  ซื้อวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นที่สหกรณ์นำมาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม  เมื่อมีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์สหกรณ์จะรวบรวมขายให้ในราคาที่สูงขึ้น  บริการรับฝากเงินเพื่อความสะดวกปลอดภัยให้แก่สมาชิก  และสมาชิกจะได้รับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการประมง  ตามหลักวิชาการแผนใหม่ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงกับความ ต้องการของตลาดรวมถึง  หน้าที่  และความรับผิดชอบของทุกคนตามหลักการและวิธีการสหกรณ์

3. สหกรณ์นิคม


สหกรณ์นิคม  คือ  สหกรณ์การเกษตรในรูปแบบหนึ่ง  ที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร  การจัดสร้างปัจจัยพื้นฐาน  และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการดำเนินการจัดหาสิน เชื่อปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น  การแปรรูปการเกษตร  การส่งเสริมอาชีพ  รวมทั้งกิจการให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก
 ความเป็นมา  ได้เริ่มดำเนินงานเป็นแห่งแรกที่อำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี  เมื่อปี พ.ศ.2478  โดยดำเนินการจัดซื้อที่ราชพัสดุจากกระทรวงการคลัง  เนื้อที 4,109  ไร่เศษ  มาจัดสรรให้สมาชิก 69 ครอบครัวในรูปของสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้จัดตั้งนิคมสหกรณ์ในอำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่  เนื้อที่ 7,913  ไร่  และได้จัดสหกรณ์การเช่าที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพแล้ว  ที่อำเภอบางสะพาน  จังหวัดประจวบคิริขันธ์  เมื่อปี พ.ศ. 2518
วัตถุประสงค์
1.    เพื่อการจัดนิคม  คือ  การจัดหาที่ดินมาจัดสรรให้แก่ราษฎรประกอบอาชีพทางการ
เกษตรตลอดจนจัดบริการด้านสาธารณูปโภคแก่สมาชิก
2.    เพื่อการจัดสหกรณ์  คือ  การรวบรวมราษฎรที่ได้รับจัดสรรที่ดินจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์
งานจัดนิคม  งานจัดนิคม  เป็นงานที่ดินทำกินให้ราษฎรโดยวิธีการสหกรณ์  มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1.    การจัดหาที่ดิน
1.1สหกรณ์นิคม  โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  พ.ศ. 2511
โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์  ขอรับที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติจำแนกเป็นที่จัด สรรเพื่อการเกษตร  นำมาจักสรรให้ราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์  และส่งเสริมให้จัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์  ซึ่งเมื่อสมาชิกได้ปฏิบัติครบถ้วนตามข้อบังคับของสหกรณ์แล้ว  ก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับจัดสรรนั้นในที่สุด
1.2สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  โดยอาศัยประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. 2497  และนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการจัดหาที่ดินให้ราษฎร  กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงจัดซื้อที่ดินขององค์การหรือเอกชนนำมาปรับปรุงจัดสรร ให้รวมรวมกันจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์ซึ่งเมื่อสมาชิกได้ส่งชำระเงินค่าเช่า ซื้อที่ดินและปฏิบัติการอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับของสหกรณ์แล้ว  ก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับจัดสรรนั้นในที่สุด
1.3สหกรณ์การเช่าที่ดิน  กรมส่งเสริมสหกรณ์จะนำที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมแล้วมาจัดสรรให้ ราษฎร  และจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์  สมาชิกก็มีสิทธิ์เข้าครอบครองทำกินในที่ดินที่ได้รับจัดสรรนั้นโดยเสียค่า เช่าในอัตราต่ำ  และที่ดินจะตกทอดทางมรดกไปยังลูกหลานได้ตลอดไป  แต่ห้อมมิให้โอนกรรมสิทธิ์สหกรณ์นิคมทั้ง 3 รูปนี้  คงมีเพียง 2 รูปแรกที่สมาชิกจะได้ที่ดิน  เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง  ส่วนในรูปสหกรณ์การเช่าที่ดินนั้นสมาชิกจะได้เพียงสิทธิการให้ที่ดินโดยการ เช่า  และสิทธิที่ตกทอดทางมรดกตลอดไปเท่านั้น
2.  การวางผังและปรับปรุงที่ดิน  เมื่อได้รับที่ดินแปลงใดมาจัดสหกรณ์แล้วทางราชการจะสำรวจรายละเอียดสภาพ ภูมิประเทศ  ชนิดและลักษณะดิน  ปริมาณน้ำฝน  จากนั้นจะวางแผนผังการใช้ที่ดิน  ว่าควรดำเนินการสรางบริการสาธารณูปโภคอย่างไรบ้าง  เช่น  ถนนการชลประทานโรงเรียน  สถานีอนามัยฯลฯ
3.  การรับสมัคร  และคัดเลือกบุคคลเพื่อรับการจัดสรรที่ดิน
4.  การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
5. การกำหนดเงื่อนไขการใช้ที่ดิน  และการได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
งานจัดสหกรณ์
เมื่อจัดราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน  จัดหามาเรียบร้อยแล้ว  ขั้นต่อไป  คือ  การรวบรวมราษฎรที่ได้รับจัดสรรที่ดินนั้นจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้น  และขอจนทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ. 2542  เพื่อให้เกษตรกรมีสภาบันของตนเอง  ที่จะเป็นสื่อกลางในการอำนวยบริการด้านต่างๆ  ส่วนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์จะมีลักษณะเช่นเดียวกับสหกรณ์การเกษตร
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
ให้สมาชิกสหกรณ์มีสหกรณ์เป็นสถาบันที่เป็นสื่อกลางในการขอรับบริการต่างๆ  จากรัฐบาลและเป็นสถาบันที่อำนวยความสะดวกในด้านการจัดหาสินเชื่อ  การรวมกันซื้อ  รวมกันขาย  การส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรม  ซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหาการผลิต  และการตลาดโดยสมาชิก  เพื่อสมาชิก  ในการประกอบอาชีพอย่างมั่นคงจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

4. สหกรณ์ร้านค้า


 สหกรณ์ร้านค้า  คือ  สหกรณ์ที่มีผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค มาจำหน่างแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป  โดยจดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์ในประเภท สหกรณ์ร้านค้า  มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นเจ้าของ  สมาชิกลงทุนร่วมกันในสหกรณ์ด้วยความสมัครใจเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการ ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคและเพื่อผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของตนและหมู่คณะ
ความเป็นมา  สหกรณ์ร้านค้าจัดตั้งขึ้นโดยชายชนบท  อำเภอเสนา  จังหวัด  พระนครศรีอยุธยาในปี  พ.ศ. 2480  และได้เลิกล้มไป  ต่อมารัฐบาลได้ช่วยเหลือ  มีนโยบายที่จะช่วยเหลือด้านการครองชีพให้กับประชาชน  โดยการส่งเสริม  และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้น  ทั้งในส่วนกลางและส่วน  ภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศ  ซึ่งสหกรณ์ร้านค้าที่ตั้งขึ้นในเมืองที่ประชาชน หนาแน่นจะประสบความสำเร็จมากกว่าสหกรณ์ร้านค้าที่ตั้งในชนบท
 วัตถุประสงค์  สหกรณ์ร้านค้าจะจัดหาสิ่งของและบริการที่สมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย  ช่วยจำหน่ายผลิตผล  ผลิตภัณฑ์ของสมาชิก  ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านสหกรณ์และด้านการค้าให้แก่สมาชิกสหกรณ์  ปลุกจิตสำนึกให้  สมาชิกรู้จักประหยัด  ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ร่วมมือและ  ประสานงานกับสหกรณ์และหน่วยงานอื่นทั้งภายในและนอกประเทศ  ในอันที่จะเกื้อกูลกันและกัน
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ  ทำให้สมาชิกมีสถานที่ซื้อขายสินค้าจำเป็นตามราคาตลาดในชุมชนซึ่งเป็นสินค้า ที่ดีมีคุณภาพเที่ยงตรงในการชั่ง  ตวง  วัด  ตามความต้องการของสมาชิก  เมื่อสิ้นปีสหกรณ์มีกำไรสุทธิประจำปีสมาชิกจะได้รับเงินปันผลตาม  หุ้น  และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนที่ได้ทำธุรกิจกับสหกรณ์  การซื้อขายด้วยเงินสดสินค้าจะมีราคาที่ถูกกว่าเงินผ่อน  ทำให้สมาชิกมีความรอบคอบในการ  จัดหาสินค้าราคาถูกมาจำหน่ายเพื่อประโยชน์ของสมาชิก

5. สหกรณ์ออมทรัพย์


สหกรณ์ออมทรัพย์  คือ  สถาบันการเงินแบบหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลซึ่งมีอาชีพอย่างเดียวกันหรือที่ อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกน  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์และให้กู้ยืมเมื่อ เกิดความจำเป็นหรือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์งอกเงยและได้รับการจดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  สามารถกู้ยืมเงินได้เมื่อเกิดความจำเป็นตาม  หลักการช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความเป็นมา  สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย  จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการสหกรณ์  จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28  กันยายน 2492 คือ  สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จำกัดสินใช้  และได้แพร่หลายไปในหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ
วัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์  โดยการรับฝากเงินและให้ผลตอบแทน  ในรูป  ของดอกเบี้ยอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์  และโดยการถือหุ้นหัก ณ ที่จ่าย  เป็นรายเดือน  แต่ไม่เกิน 1 ใน 5 ของหุ้นทั้งหมด  เมื่อสิ้นปีทางบัญชีต้อง  จ่ายเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกในอัตราที่กฎหมายกำหนด  รวมทั้งให้บริการด้ายเงินกู้แก่สมาชิกตามความจำเป็น
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ  เป็นแหล่งเงินฝากปละเงินกู้ของ สมาชิก  ทำให้สมาชิกรู้จักเก็บออมเงิน  และไม่  ต้องไปกู้เงินนอกระบบ  ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงขึ้น

6. สหกรณ์บริการ


สหกรณ์บริการ  คือ  สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  โดยมีประชาชนไม่น้อยกว่า 10 คน  ที่มีอาชีพอย่างเดียวกัน  ได้รับ  ความเดือดร้อนในเรื่องเดียวกันรวมตัวกันโดย  ยึดหลักการประหยัด  การช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ  รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในอาชีพต่อไป
ความเป็นมา  สหกรณ์บริการแห่งแรกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2484  เป็นการรวมตัว  กันในกลุ่มผู้มีอาชีพทำร่มชื่อ  สหกรณ์ผู้ทำร่มบ่อสร้าง  จำกัดสินใช้  อยู่ที่ตำบลต้นเปา  อำเภอสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่  ต่อมาในปี พ.ศ. 2496  ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์บริการไฟฟ้าหนองแขม  จำกัด  อำเภอ หนองแขม  กรุงเทพมหานค  เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภค  และในปี พ.ศ. 2497  จัดตั้งสหกรณ์มีดอรัญญิก  จำกัด  ที่ตำบลทุ่งช้าง  อำเภอนครหลวง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และมีสหกรณ์บริการอีกหลายแบบตามมา  เช่น  สหกรณ์เคหสถาน  สหกรณ์แท็กซี่  สหกรณ์หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้  สหกรณ์บริการน้ำประปา  สหกรณ์ผู้จัดหางาน  แห่งประเทศไทย ฯลฯ
 วัตถุประสงค์  เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการบริการตามรูปแบบของสหกรณ์  ส่งเสริมสวัสดิการ  แก่สมาชิกและครองครัว  ส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก  ร่วมมือกับสหกรณ์อื่นและหน่วยงานอื่นเพื่อความ  ก้าวหน้าของกิจการสหกรณ์
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ  สมาชิกมีสหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาฝีมือการผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด  มีแหล่งรวมซื้อรวมขายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ในการผลิตภัณฑ์ช่วยให้สมาชิสหกรณ์ ประกอบอาชีพได้ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อสิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์มี  กำไรสุทธิประจำปี  สมาชิกสหกรณ์จะได้รับเงินปันผลตามหุ้นและเงิน  เฉลี่ยคืนตามส่วนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์

7. สหกรณ์เครดิตยูเนียน

สหกรณ์ที่จัดตั้งในชุมชนเพื่อส่งเสริมการออมมีลักษณะสำคัญ  คือ  สมาชิกมีอาชีพหลากหลายแต่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน  กิจการที่เป็นธุรกิจ  คือ  การส่งเสริมการออมและการให้กู้  โดยในอนาคตจะมีการขยายธุรกิจอื่นๆ  ตามความต้องการของสมาชิก  การส่งเสริมการออมและการให้เงินกู้โดยในอนาคตจะมีการขยายธุรกิจอื่นๆ  ตามความต้องการของสมาชิก  เป็นสหกรณ์ที่เน้นเรื่องความมีสัจจะความเชื่อใจ  ความซื่อสัตย์
ความเป็นมา  เดิมสหกรณ์เครดิตยูเนียน  จัดอยู่ในประเภทสหกรณ์ออกทรัพย์  ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนียน  โดยสหกรณ์แรกคือ  สหกรณ์เครดิตยูเนียนแม่มูล  จำกัด  จดทะเบียนเมื่อวันที่  1  มกราคม  2522
วัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมการออม  การจัดหาทุนบริการสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ  และดำเนินชีวิตรวมถึงการจัดหาปัจจัยการผลิต  การรวมซื้อ  รวมขาย  สินค้าและบริการ
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ  เป็นแหล่งฝากเงิน  เป็นแหล่งเงินกู้  เป็นแหล่งสร้างความร่วมมือในชุมชน  ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุ่มชน  สร้างงานให้กับบุคคลในชุมชน

 

ธุรกิจสหกรณ์

สหกรณ์เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มคน  เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีเป้าหมายสูงสุด  คือ  การอยู่ดี  กินดี  มีสันติสุข  ในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์นั้น  หลังจากมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ. 2542  แล้ว   สหกรณ์สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ  เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เกิดประโยชน์แก่สมาชิกมากที่สุด  โดยมาตรา  46  ได้กำหนดให้สหกรณ์สามารถดำเนินกิจการได้ดังนี้
1.    การผลิต  การค้า  การบริการ  อุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์สมาชิก
2.    การสวัสดิการ  หรือการสงเคราะห์สมาชิกและครอบครัว
3.    ช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
4.    รับความช่วยเหลือจากราชการ  หรือหน่วยงานหรือบุคคล
5.    รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์
6.    ให้กู้  ให้สินเชื่อ  ให้ยืม  ให้เช่า  ให้เช่าซื้อ  โอน  รับจำนำ  รับจำนองทรัพย์สินของสมาชิก
7.    จัดให้ได้มา  ซื้อ  ถือกรรมสิทธิ์  ครอบครอง  กู้ยืม  เช่า  เช่าซื้อ  รับโอน  จำนอง
จำนำขาย  จำหน่ายทรัพย์สิน
8.    ให้สหกรณ์อื่นกู้เงินตามระเบียบที่นายทะเบียนเห็นชอบ
9.    ดำเนินกิจการอย่างอื่น  เพื่อความสำเร็จแห่งวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
โดยทั่วไปแล้ว  ธุรกิจที่สหกรณ์ดำเนินการส่วนใหญ่  คือ  ธุรกิจรับฝากเงินธุรกิจซื้อ  ธุรกิจขาย  และธุรกิจบริการ ดังนี้

 ธุรกิจซื้อ
หมายถึง  การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย  เพื่อตอบสนองความต้องการของ
สมาชิกควบคู่กับวัตถุประสงค์ในสมาชิกมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง  โดยสหกรณ์ภาคการเกษตรมักจะทำธุรกิจนี้  เพื่อบริการสมาชิกที่ทำการเกษตร  สินค้าที่สหกรณ์จัดจำหน่ายจึงมักเป็นวัสดุการเกษตร  เช่น  ปุ๋ย  ยาปราบศัตรูพืช  พันธุ์พืช  น้ำมัน  รถไถหรือสินค้าอุปโภค  เช่น  ข่าวสาน  เสื้อผ้า  ของใช้ในครัวเรือน  เป็นต้น  สำหรับสหกรณ์ร้านค้าเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการด้านนี้โดยตรง  โดยเน้นที่สินค้าอุปโภคบริโภค

              ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจซื้อ
1.สมาชิกจำเป็นและต้องการใช้สินค้า 2. สำรวจความต้องการซื้อสินค้าจากสมาชิก  3.  รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจากสมาชิก  4.  วิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวม  5. จัดหาแหล่งซื้อ  6.  สหกรณ์ดำเนินการจัดซื้อสินค้า 7.  จัดสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าให้สมาชิก  8.  จำหน่างสินค้าให้กับสมาชิก  9.  บริการหลังการขาย  10.  ประเมินความพึงพอใจจากสมาชิก

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจซื้อ
1.  บุคลากรสหกรณ์มีส่วนร่วมในธุรกิจตั้งแต่สมาชิก  คณะกรรมการ  ผู้นำกลุ่ม  เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ  หากสามารถให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนร่วมได้ทั้งหมด  ธุรกิจก็จะประสบผลสำเร็จ  เพราะมีลูกค้าที่แน่นอนเป็นลูกค้าแระจำ  สหกรณ์ไม่ต้องเสี่ยงเหมือนกิจการทั่วไป
2.  การบริการสมาชิกที่ร่วมธุรกิจให้เกิดความประทับใจ  สมาชิกจะมีความต้องการร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ต่อไป  เป็นการสร้างความภักดีต่อองค์กร
3.  สร้างเครือข่ายสหกรณ์  นอกจากการดำเนินธุรกิจซื้อประสบความสำเร็จได้จากสมาชิกแล้ว  เครือข่ายระหว่างสหกรณ์มีความจำเป็นอย่างมาก  เช่น  ข้าวสารของสหกรณ์อาจนำไปฝากขายกับสหกรณ์อื่น  หากสามารถสร้างเครือข่ายขยายเป็นลักษณะใยแมงมุงได้จะส่งผลให้มีความมั่นคงทางธุรกิจเพิ่มขึ้น
4.  ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรัฐบาลหรือสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
5.  คุณภาพสินค้า  เพราะธุรกิจซื้อของสหกรณ์ต้องเป็นที่น่าเชื่อถือของสมาชิก  ในเรื่องคุณภาพของสินค้าสหกรณ์จะมีข้อได้เปรียบจากร้านค้าทั่วไป  คือมีการสำรวจความต้องการซื้อก่อนจึงทำให้ไม่มีสินค้าหมดอายุ  หรือค้างสต๊อก
6. วิเคราะห์คู่แข่ง  ปัจจุบันคู่แข่งของสหกรณ์มีมากมาย  ต้องวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อนำมาปรับปรุงธุรกิจของสหกรณ์  ข้อมูลที่ควรนำมาเปรียบเทียบ  คือ  ภูมิหลัง  นโยบาย  ผู้นำ  กิจกรรมส่งเสริมการตลาด  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  ความมั่นคงด้านการเงิน  เครือข่ายของคู่แข่ง

 

ธุรกิจขาย
หมายถึง  การทีสหกรณ์ดำเนินการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกไปจำหน่ายหรือแปรรูปเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้งสหกรณ์  ในการทำงานร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างผลิตต่างคนต่างขาย  ผลผลิตที่สหกรณ์รวบรวมนั้นเป็นผลผลิตทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ที่สมาชิกทำการผลิต

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขาย
1.    การส่งเสริมการผลิต  2. สำรวจความต้องการร่วมธุรกิจ 3. รวบรวมข้อมูล  4. ดำเนินการรวบรวมผลผลิต  5.  จำหน่ายหรือแปรรูป 6. ประเมินความพึงพอใจของสมาชิก

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขาย
1.บุคลากรสหกรณ์ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจขาย  โดยการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
ของธุรกิจตามบทบาทหน้าที่  ความร่วมมือเป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จของสหกรณ์  สหกรณ์ใดได้รับความร่วมมือจากบุคลากรย่อมประสบความสำเร็จ  ในทิศทางตรงกันข้ามสหกรณ์ที่ไม่ได้รับความร่วมมือย่อมล้มเหลว  และฐานความร่วมมือที่สำคัญคือสมาชิกสหกรณ์
2.เชื่อมโยงธุรกิจกับภาคเอกชนและระหว่างสหกรณ์อื่นๆ  เป็นการแปรเปลี่ยนจากคู่แข่งเป็นคู่ค้า  จากการแข่งขันเป็นความร่วมมือ  จากศตรูเป็นมิตรภาพ  จากภาวะเป็นพลัง
3.มีบริการที่ดีให้กับสมาชิก  ปัจจัยนี้มีความสำคัญในทุกธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับคน
เนื่องจากคนมีการยึดตัวตน  การได้รับบริการที่ดีเป็นการทำให้มีคุณค่า  แต่ในกรณีที่ทำให้ตนไม่มีคุณค่าย่อมไม่ต้องการใช้บริการ
4.ผลผลิตต้องมีคุณภาพ  ปัจจัยนี้ควรมีการสร้างระบบตรวจสอบย้อมกลับได้ว่าผลผลิต
ใดมาจากแหล่งใดเพื่อการรับประกันในกรณีคุณภาพดีสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มยอดการร่วมธุรกิจในกรณีคุณภาพไม่ดีสามารถร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาการผลิตได้  ระบบนี้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานของสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่น  และในปัจจุบันห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยกำลังให้ความสำคัญ
5.สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  เป็นการยึดตลาดเป็นหลักในการผลิต  สถานการณ์
ปัจจุบันต้องการสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมี  เป็นสอนค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  เป็นมิตรกับธรรมชาติใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สินค้าบางชนิดเมื่อทำด้วยมือจะมีราคาสูง
6.วิเคราะห์คู่แข่งอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยหลักของการผลิตจะยึด 3ประการ คือ  เป็นผลิตภัณฑ์แรกย่อมสร้างความสนใจของลูกค้า  หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันต้องมีความแปลกแตกต่างจากเดิม  หากเหมือนกันต้องดีกว่าหรือดีที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑ์เดียวกัน
7. มีการส่งเสริมการผลิต  อันเป็นกิจการที่เดิมสหกรณ์ไม่มีจึงต้องสร้างขึ้นใหม่

 ธุรกิจสินเชื่อ
หมายถึง  การให้ทรัพย์สินสิ่งของหรือบริการที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของสมาชิกโดยมีเงื่อนไขเมื่อถึงกำหนดเวลาก็ต้องนำมาส่งคืนพร้อมผลตอบแทน  เช่น ดอกเบี้ย  หรือผลตอบแทนอื่นๆ  ตามข้อตกลงร่วมกันด้วยความเชื่อถือกัน  เป็นธุรกิจดั้งเดิมของสหกรณ์ที่มีพื้นฐานมาจากการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่ต้องมีความเชื่อถือไว้วางใจกัน

  ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ
1.    สมาชิกมีความต้องการ 2. ขอใช้บริการสินเชื่อ  3. อนุมัติให้บริการสินเชื่อ  4. การใช้ประโยชน์  5. การชำระคืน

 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจสินเชื่อ
1.บุคลากรมีส่วนร่วมกับธุรกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในทุกธุรกิจเป็นปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์  รวมถึงเป็นปัจจัยความสำเร็จของทุกองค์กร
2.เชื่อมโยงกับสหกรณ์อื่น  เชื่อมโยงกับเอกชนในเรื่องเงินทุน  เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นของสหกรณ์การจัดการธุรกิจแบบเชื่อมโยงเป็นการสร้างความมั่นคงด้วยการเพิ่มฐานรากของธุรกิจ
3.บริการที่ดีให้กับสมาชิก  ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการริการหลังจากร่วมธุรกิจ  อันเป็นความผูกพันที่ไม่ร้างรา
4.ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  เช่น  เรื่องอัตราดอกเบี้ย  ภาวะการลงทุน  ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทางเศรษฐกิจทางการเงินในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากปัจจุบันการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความอ่อนไหว
5.วิเคราะห์คู่แข่ง  ปัจจุบันคู่แข่งธุรกิจสินเชื่อมีมาก  แข่งขันกันด้วยเทคนิควิธีการต่างๆสหกรณ์ควรมีข้อมูลที่นำมาประกอบการวิเคราะห์  คือ  ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ  อัตราดอกเบี้ย  วงเงินกู้เงื่อนไขการชำระคืน  การลด  แลก  แจก  แถมเพื่อประชาสัมพันธ์  ต้องดำเนิน เพื่อช่วยสมาชิกให้มีความเป็นอยู่ที่ดี  ไม่ใช่เพื่อหากำไรเข้าสหกรณ์  ซึ่งเป็นจุดแข็งของสหกรณ์ที่เป็นภูมิคุ้มกันธุรกิจให้พัฒนาอย่างมั่นคง

ธุรกิจรับฝากเงิน
หมายถึง  การที่สมาชิกนำเงินมาฝากกับสหกรณ์  สหกรณ์ทำหน้าที่รับฝากเงินของสมาชิกไว้เมื่อสมาชิกต้องการใช้เงินก็สามารถถอนเงินฝากดังกล่าว  ระหว่างที่ฝากไว้สมาชิกได้รับผลตอบแทนจากสหกรณ์ในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก  ธุรกิจรับฝากเงินนี้บางครั้งก็รวมอยู่กับธุรกิจสินเชื่อเนื่องจากต้องอาศัยความเชื่อใจกันจึงจะนำเงินฝากไว้  แต่ในการนำเสนอครั้งนี้ขอแยกเป็นธุรกิจต่างหากเพื่อลงในรายละเอียดโดยเฉพาะ

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจรับฝากเงิน
1. สมาชิกมีรายได้  2. สมาชิกต้องการออมเงินไว้กับสหกรณ์  3.  สหกรณ์เปิดดำเนินธุรกิจรับฝาก  4.  สหกรณ์รับฝากเงิน  5. สมาชิกถอนเงิน   6. ประเมินความพึงพอใจ

ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจรับฝากเงิน
1.บุคลากรสหกรณ์มีส่วนร่วมในธุรกิจอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับทุกธุรกิจ
2.ให้การบริการสมาชิกที่ดี  ตั้งแต่สมาชิกเริ่มทำธุรกิจ  จนถึงขั้นสุดท้าย
3.เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นของสหกรณ์  เช่นจัดสวัสดิการสงเคราะห์สำหรับสมาชิกที่มีเงินฝากโอนถอนเงินฝากชำระสินค้า
4.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันแล้วดำเนินการให้สอดคล้อง  เช่น  อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอื่นๆ  หรือ  คนเริ่มให้ความสำคัญเรื่อง  สุขภาพ  คุณภาพชีวิต  จึงเห็นความสำคัญของการออมมากขึ้น  กลุ่มเยาวชนที่มีการส่งเสริมการออม  เป็นต้น
5.มีบริการหลังขาย  ธุรกิจรับฝากเงินสามารถจัดบริการหลังขายได้  เช่นเมื่อนำเงินมาฝากมีการแนะนำให้บริการจัดการรายได้-รายจ่าย  เมื่อถอนเงินมีบริการแนะนำการใช้เงิน

 

ธุรกิจบริการ 
หมายถึง  กิจการที่สหกรณ์จัดให้มีขึ้นเพื่อบริการ  อำนวยความสะดวก  ตอบสนองความต้องการของสมาชิก  โดยสหกรณ์คิดค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม  รูปแบบของกิจการมีความหลากหลาย  แตกต่างกันไปตามวิถีชีวิตของสมาชิก  ตัวอย่างเช่น  สมาชิกต้องทำงานตั้งแต่โมงเช้าจนถึงหกโมงเย็นไม่มีใครเลี้ยงลูกให้  สหกรณ์จึงทำธุรกิจบริการรับเลี้ยงลูก  โดยให้สมาชิกมาส่งลูกตอนเช้าและรับกลับตอนเย็น  นอกจากนี้อาจหมายถึงกิจการจัดงานแต่งงาน  งานบวช  หรืองานศพหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ  เช่น  สมาชิกทำนาสหกรณ์จัดบริการรถเกี่ยวข้าว  สมาชิกปลูกมะพร้าวสหกรณ์จัดบริการเก็บมะพร้าว  เป็นต้น

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจบริการ
1.สมาชิกดำเนินชีวิตตามปกติ  2. สมาชิกร้องขอให้สหกรณ์จัดบริการ  3. สหกรณ์สำรวจข้อมูล  4. เสนอแผนธุรกิจให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณา  5. ให้บริการตามแผนธุรกิจ  6. สมาชิกร่วมธุรกิจ  7.  ประเมินความพึงพอใจ

ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริการ
1.    บุคลากรสหกรณ์มีส่วนร่วมในธุรกิจ  เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ  ของสหกรณ์
2.    การให้บริการที่ดีกับสมาชิกตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงขั้นตอนสุดท้าย  เพื่อสร้างความภักดีต่อองค์กร
3.    สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกตามสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นธุรกิจที่แปรเปลี่ยนได้เมื่ออาชีพเปลี่ยนเมื่อวิถีเปลี่ยน
4.    สิ่งที่บริการสมาชิกต้องมีคุณภาพ  ยิ่งบริการเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ต้องปลอดภัย  ได้ประโยชน์
5.    เชื่อมโยงธุรกิจอื่นๆ  เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น  กิจการดูแลผู้สูงอายุโดยร่วมกับพระภิกษุสงฆ์
6.    วิเคราะห์แข่งขัน  โดยข้อมูลที่ควรวิเคราะห์  คือ  ขั้นตอนการดำเนินงาน  กิจการบริการ  ความพร้อมทางด้านบุคลากร  เงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  กระบวนการส่งเสริมธุรกิจปัจจัยความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริการของสหกรณ์ดังกล่าวแยกได้เป็น  2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ  ความสำเร็จที่เกิดจากสหกรณ์เอง  กับความสำเร็จที่เกิดจากการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น  ซึ่งอธิบายได้ว่า  ตัวสหกรณ์ต้องมีความแข็งแรงในการดำเนินธุรกิจ  และต้องแสวงหาส่วนร่วมในกิจการยกตัวอย่างสหกรณ์จัดบริการสอนภาษาอังกฤษให้สมาชิกที่มีที่อยู่ในแหล่งท่องเทียว  โดยสมาชิกได้ทำโครงการนำเที่ยว  สหกรณ์สามารถร่วมมือกับสถานศึกษากับการท่องเที่ยว  โดยสมาชิกได้ทำโครงการนำเที่ยว  สหกรณ์สามารถร่วมมือกับสถานศึกษากับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับองค์การบริหารส่วนตำบล  ดำเนินการดังกล่าว

 

บทที่ 4 หลักการสหกรณ์

หลักการสหกรณ์

หลักการสหกรณ์  หมายถึง  แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่างๆ  ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมจากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล  แล้วจึงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจุบันองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (Intimation Cooperative Aliened) ซึ่งเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเป็นสมัชชาสหกรณ์ระหว่างประเทศ  ซึ่งมีประเทศต่างๆ  ที่นำวิธีการสหกรณ์ไปปฏิบัติเข้าร่วมกันเป็นสมาชิกรวม 94  ประเทศ  ได้ประชุมเมื่อวันที่  23  กันยายน  2538  ที่เมืองแมนเชลเตอร์  ประเทศอังกฤษ  ได้กำหนดหลักการสหกรณ์ไว้  7  ข้อ  คือ
1.    การเป็นสมาชิโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
2.    การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
3.    การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก
4.    การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5.    การศึกษา  ฝึกอบรม  และสารสนเทศ
6.    การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
7.    การเอื้ออาทรต่อชุมชน

หลักการที่  1  การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

 

สหกรณ์เป็นองค์กรแห่งความสมัครใจ  เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก  โดยปราศจากการกีดกันทางเพศฐานะทางสังคมเชื้อชาติ  การเมือง  การศาสนา
การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจนี้  แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างของสหกรณ์ไม่มีการแบ่งชนชั้น  ไม่กีดกันหวงห้ามเอวไว้สำหรับกลุ่มพวกพ้องของตน  ให้โอกาสทุกคนได้เข้าเป็นสมาชิกเท่าเทียมกัน  จากหลักการข้อนี้จึงมุ่งสร้างพฤติกรรมให้เป็นคนใจกว้าง  ไม่คับแคบ  ไม่คิดเพียงแค่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง  แต่มุ่งหวังเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ความสมัครใจนี้  ตรงข้ามกับการบังคับ  แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการแนะนำส่งเสริมไม่ใช่การขู่เข็ญล่อล่วง  แต่มีข้อสังเกตคือ  สหกรณ์มีการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกไว้  ทำให้ถึงแม้จะสมัครใจต้องการเป็นสมาชิกแต่อาจไม่ได้เป็นตามต้องการเพราะขาดคุณสมบัติ  การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกเป็นการมองทั้งระบบเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมกับสหกรณ์ได้
การรับสมัครสมาชิกสมทบ  คือ สมาชิกที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน  ควรมีเฉพาะสหกรณ์ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ได้  ไม่กระทบต่อการส่งเสริมประโยชน์ของสมาชิกปกติเป็นการเปิดโอกาสเพื่อให้บุคคลสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้  จากกรณีการกำหนดคุณสมบัติ
การเริ่มต้นหลักการแห่งความสมัครใจ  เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสหกรณ์ใช้ความสมัครใจนี้  เป็นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  กล่าวคือ  เมื่อสมัครใจเข้ามาย่อมเต็มใจเข้าประชุม  เต็มใจร่วมธุรกิจ  ยินดีรับผิดชอบ  ยินดีปฏิบัติตนตามระเบียบ  ภูมิใจในทรัพย์สินของสหกรณ์

หลักการที่  2  การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

 

สหกรณ์เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิกซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบาย  และการตัดสินใจ  บุรุษแสะสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อสมาชิก
ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน  (สมาชิกหนึ่งคน  หนึ่งเสียง)  สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นๆ  ก็ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย  จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารและการจัดการแทนสมาชิก  หลักการข้อนี้จึงมุ่งสร้างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและการเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีตลอดจนเปิดโอกาสและยอมรับให้ผู้อื่นเข้ามาทำหน้าที่บริหารแทนตน
หลักการนี้ส่งผลให้สหกรณ์ดำเนินงานตามเสียงส่วนใหญ่  สหกรณ์เป็นของสมาชิกมีระบบตัวแทน  มีการประชุมใหญ่ที่มีอำนาจสูงสุดในสหกรณ์  บุรุษและสตรีมีสิทธิเสรีภาพ  มีการควบคุมตรวจสอบโดยสมาชิก

หลักการที่  3  การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก

สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน (ซื้อหุ้น)  ในสหกรณ์ของตนอย่างเสมอภาคกันและมีส่วนในการควบคุมการใช้เงินทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย  ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยๆ  ส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์  โดยปกติสมาชิกจะได้รับผลตอบแทน  (ถ้ามี)  ในอัตราที่จำกัดตามเงินลงทุน  (หุ้น) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก  สมาชิกสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง  ดังนี้คือ
*เพื่อตอบแทนพัฒนาสหกรณ์  โดยอาจกันเงินสำรองซึ่งอย่างน้อย  จะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งปันกันไม่ได้
*เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธรกิจ  ที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์
*เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ  ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
เหตุผลที่สหกรณ์จะต้องจัดสรรเงินส่วนเกินในลักษณะดังกล่าวนี้ก็เพื่อเพิ่มทุนของสหกรณ์ให้มากขึ้น  เพื่อให้สหกรณ์พึ่งตนเองและมีความมั่นคง  เงินสำรองดังกล่าวนี้  ไม่สามารถจัดสรรให้กับมวลสมาชิกได้  เป็นเงินกองกลาง  ถ้าสหกรณ์มีอันต้องเลิกกิจการลงเงินสำรองนี้จะต้องโอนไปให้กับสหกรณ์อื่น  หรือโอนไปเป็นทุนสาธารณประโยชน์  สำหรับกำไรส่วนที่เหลือคืนสู่สมาชิกในรูปของเงินปันผลตามหุ้น  และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนของธุรกิจที่สมาชิกรายนั้นๆ  ทำไว้กับสหกรณ์  สมาชิกรายใดไม่ได้ทำธุรกิจสหกรณ์  เพียงเอาเงินมาถือหุ้นกับสหกรณ์ก็ได้รับเงินปันผลกลับคืนในอัตราที่เท่ากันและจำกัดส่วนสมาชิกรายนั้นๆ  ไป  ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ  กับสหกรณ์มากก็ได้รับเงินเฉลี่ยคืนกลับไปมาก  สมาชิกรายใดทำธุรกิจกับสหกรณ์น้อยก็ได้รับเงินเฉลี่ยคืนน้อย  สมาชิกรายใดไม่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ก็ไม่ได้รับเงินเฉลี่ยคืน  ได้รับเพียงเงินปันผลตามหุ้น
การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิกจึงแสดงถึง  การให้ความสำคัญแก่สมาชิกในฐานะที่เป็นทั้งเจ้าของทุนและเป็นผู้ใช้บริการด้วย  หลักการข้อนี้มุ่งสร้างพฤติกรรมให้เห็นคุณค่าของความร่วมมือเป็นสำคัญมากกว่าเงินกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ  มาจากการอดทนของสมาชิกที่ภักดีทำธุรกิจหรือใช้บริการของสหกรณ์  จึงควรได้รับส่วนเฉลี่ยคืนจากผลกำไรนั้น  สำหรับผลตอบแทนลงทุนก็ยังคงได้รับการจัดสรรในอัตราที่จำกัดอย่างเหมาะสม

หลักการที่  4  การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
สหกรณ์เป็นองค์กรที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง  โดยมีการควบคุมจากมวลสมาชิก  หากสหกรณ์  จะต้องมีข้อตกลงผูกพันกับองค์การอื่นใด  ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาลด้วย  หรือจะต้องเพิ่มเงินลงทุนโดยอาศัยแหล่งเงินทุนภายนอกสหกรณ์  สหกรณ์จะต้องกระทำการดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยและสหกรณ์ยังคงดำรงความเป็นอิสระ
การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ  เป็นผลต่อเนื่องจากหลักการสหกรณ์ข้อที่  2  การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย  จึงทำให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่พึ่งพาและปกครองตนเองโดยการควบคุมของมวลสมาชิกในที่ประชุมใหญ่  และในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์กรอื่นๆ  รวมถึงหน่วยงานของรัฐ  หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก  สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงไว้  ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย  และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์ไว้

หลักการที่  5   การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ
สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่สมาชิก  ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง  ผู้จัดการและ  เจ้าหน้าที่  เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิผลและพึงให้ข่าวสารแก่สาธารณชน  โดยเฉพาะเยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิดเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์
นักสหกรณ์ชาวเดนมาร์ค  ผู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาสหกรณ์ผู้หนึ่งกล่าวว่า “สหกรณ์ใดไม่มีโครงการให้การศึกษาอบรมสมาชิกอย่างต่อเนื่อง  สหกรณ์นั้นจะสิ้นสุดภายในชั่วอายุคนครึ่ง”  ซึ่งขยายความได้ว่าสหกรณ์นั้นจะเปลี่ยนเป็นองค์กรอื่นที่มิใช่สหกรณ์  หรือเป็นสหกรณ์แต่เพียงชื่อหรือป้ายที่ติดไว้เท่านั้น  นั่นแสดงให้เห็นว่าการให้การศึกษาอบรมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสืบทอดแนวความคิดทางสหกรณ์  หรือเผยแพร่ความรู้ทางสหกรณ์ให้กว้างขวางขึ้น  ขณะเดียวกันสหกรณ์ต้องแข่งขั้นกับธุรกิจอื่นๆ  ด้วย  จึงจำเป็นต้องพัฒนาคนในสหกรณ์ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

หลักการข้อนี้  นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อสหกรณ์  เพราะจะเป็นหลักการที่ทำให้เกิดการปฏิบัติตามและการใช้หลักการข้ออื่นๆ  มีประสิทธิผล  หากสหกรณ์ใดละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอบรม  สมาชิกจะขาดความสนใจสหกรณ์และไม่เข้าใจหลักกากรที่ถูกต้องจะพากันละเลยต่อสหกรณ์  และในที่สุดการควบคุมภายในสหกรณ์ก็จะเปลี่ยนแปลงจากวิธีการประชาธิปไตย  มาเป็นการควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย  การศึกษาอบรมทางสหกรณ์เป็นการแสดงถึงคุณธรรมของสหกรณ์ที่ต้องการพัฒนาคนให้เป็นผู้ใฝ่รู้
การศึกษาฝึกอบรมและสารสนเทศมีความมุ่งหมายและเน้นกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้
–    การศึกษามุ่งให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่จะเป็นสมาชิกในอนาคต  มี
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสหกรณ์  รวมทั้งมีความสำนึก  และตระหลักในสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก  ให้ผู้มีจิตวิญญาณสหกรณ์
–    การฝึกอบรมมุ่งให้กรรมการ  ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์มีความรู้  ความสามารถ
และทักษะ  รวมทั้งความรับผิดชอบในบทบา  หน้าที่ของตน
–    ส่วนสารสนเทศนั้นมุ่งให้บุคคลทุกกลุ่ม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  สำหรับเยาวชนและผู้นำ
ด้านความคิดเป็น  เช่น  ผู้นำชุมชน  นักหนังสือพิมพ์  นักเขียน  ผู้นำองค์กร  พัฒนาชุมชน ฯลฯ  โดยเน้นการติดต่อสื่อสาร  2  ทาง (Two ways Communication)

หลักการที่  6  การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์จะสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด  และเสริมสร้างความเข้มแข็งในแก่สหกรณ์ได้โดยการร่วมมือกันในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

การรวมมือกันระหว่างสหกรณ์  หมายความว่า  สหกรณ์ทุกประเภท  ทุกระดับต้องร่วมมือกันและช่วยเหลือกันและกันในทุกโอกาส  ซึ่งความร่วมมือระหว่างสหกรณ์นี้นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกขณะเพราะสหกรณ์ต้องเผชิญกับการแข่งขันของธุรกิจอื่นๆ  ด้วย  ดังนั้น  เพื่อความอยู่รอดของสหกรณ์สหกรณ์แต่ละประเภท  แต่ละระดับ  จึงจำเป็นต้องมีการพึ่งพิงกัน  เชื่อมโยงธุรกิจในระหว่างกันด้วยการร่วมมือระหว่างสหกรณ์นี้มีทั้งการร่วมมือกันในแนวราบ  คือ  การร่วมมือระหว่างสหกรณ์แต่ละสหกรณ์ด้วยกันและการร่วมมือกันในแนวดิ่ง  คือ  การร่วมมือระหว่าง  สหกรณ์กับชุมชนสหกรณ์ในระดับจังหวัด  ระดับชาติ  และความร่วมมือกันระหว่างประเทศ
ความร่วมมือกันนี้  แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี  มีเมตตา  พร้อมที่จะเกื้อหนุนซึ่งกันและกันแท้จริงการร่วมมือระหว่างสหกรณ์เป็นหลักการเดียวกันกับการร่วมมือระหว่างบุคคลธรรมดาในการจัดตั้งสหกรณ์นั่นเอง  ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดด้วยขนาด  มีอำนาจการต่อรองสูงขึ้น  และนำไปสู่การรับใช้สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น  วัตถุประสงค์สำคัญของการร่วมมือระหว่างสหกรณ์  คือ  เพื่อสหกรณ์สามารถอำนาจผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  เพราะฉะนั้นสหกรณ์ท้องถิ่นแต่ละสหกรณ์  และสหกรณ์ขั้นสูงต้องเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน  มีชีวิตชีวา (Viable & Sustainable)  และร่วมมือกันในลักษณะของ  “ระบบรวม”  หรือเป็นเอกภาพ

หลักการที่  7  การเอื้ออาทรต่อชุมชน
สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่างๆ  เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน  ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ  จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง  ไม่ปิดกั้นประโยชน์ไว้เฉพาะกลุ่ม  เฉพาะสมาชิกมีความสนใจชุมชน  สังคมรอบข้างและหาทางทำประโยชน์ให้กับชุ่มชนนั้นๆ ด้วย  โดยสหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิมาเป็นทุนสาธารณประโยชน์เพื่อทำประโยชน์ให้กับชุมชน  สิ่งแวดล้อม  พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

สหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม  และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่เพราะฉะนั้น  การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนนั้น ๆ  ซึ่งหมายความว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ  หรือเป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน  โดยไม่ทำลายโอกาส  ความสามารถ  และอนาคตของคนรุ่นหลัง  เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์เป็นสมาชิกของชุมชนนั้นเอง  สหกรณ์จึงควรมีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

วิธีการสหกรณ์


วิธีการสหกรณ์เป็นการรวมคนที่มีอุดมการณ์สหกรณ์มาทำธุรกิจร่วมกันตามหลักการ สหกรณ์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก  โดยบุคคลที่มารวมกันนั้นจะต้องช่วยตนเองได้ (โดยการขยัน  ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุขทั้งหลาย)  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  นี้เองเป็นพฤติกรรมที่สำคัญยิ่งที่จะนำกลุ่มคนที่พอมีกำลังช่วยตนเองได้  และมารวมกลุ่มกันนั้นประสบความสำเร็จ  พฤติกรรมที่สำคัญของการรวมกันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอาจแยกได้ 2 ประการ คือ  พฤติกรรมร่วมแรง  โดยการเอาแรงกาย  แรงทรัพย์  และแรงความคิดมาร่วมกันทำธุรกิจ  พฤติกรรมทั้ง 2 ลักษณะมีรายละเอียดดังนี้
การร่วมแรงกันในสหกรณ์  เป็นการรวมแรงกาย  คือ  การรวมคนที่เป็นสมาชิกเข้ามาทำธุรกิจร่วมกัน  ความสำเร็จของสหกรณ์มิใช่อยู่ที่จำนวนสมาชิก  แต่อยู่ที่คุณภาพของสมาชิกว่ามีความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติของสหกรณ์มาก น้อยเพียงใด  และที่สำคัญมีอุดมการณ์สหกรณ์มั่นคงเพียงใดเมื่อรวมคนเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว  สมาชิกแต่ละคนต้องร่วมกันถือหุ้นในสหกรณ์  การถือหุ้นในสหกรณ์นั้นเป็นการเอาแรงทรัพย์มารวมกัน  แต่สหกรณ์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินมากนัก  แต่มุ่งเน้นไปที่การรวมคนการเอาทรัพย์มารวมกันนี้  ในระยะแรกเงินนี้อาจจะน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกสหกรณ์   จึงต้องพึ่งเงินทุนจากภายนอกโดยการกู้ยืมมาดำเนินธุรกิจก่อน  แล้วค่อยๆ สะสมทรัพย์ขึ้นไปตามลดับ  โดยกำหนดให้สมาชิกต้องถือหุ้นเพิ่มเป็นประจำทุกปี  นอกจากนี้ยังเก็บสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิของสหกรณ์ที่เกิดจากการดำเนิน ธุรกิจแต่ละปี  นอกจากการรวมแรงคนแรงทรัพย์แล้วทุกคนที่มารวมกันเป็นสหกรณ์จะต้องเอาแรงความ คิดมาร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ  โดยการแสดงความคิดเห็น  เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแรงความคิดในสหกรณ์นี้เป็น เรื่องที่มีความสำคัญ  สหกรณ์จึงต้องจัดการให้ความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับสหกรณ์และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์แก่สมาชิกเป็นประจำในรูปของการ เผยแพร่ข่าวสารทางสหกรณ์การจัดประชุมและการให้การศึกษาอบรม ทั้งนี้เพราะเมื่อสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจสหกรณ์ตลอดจนวิธีการดำเนิน ธุรกิจของสหกรณ์แล้ว  การร่วมแรงทำธุรกิจจะเป็นไปได้โดยง่ายและเกิดความร่วมมือ
แต่ความสำเร็จของสหกรณ์ไม่ได้อยู่ที่การร่วมแรงเพียงด้านเดียว  ทั้งนี้เพราะสมาชิกที่มารวมกันเป็นสหกรณ์นั้น  ต่างจิต  ต่างใจกัน  มีความแตกต่างกันในความคิด  การกระทำ  และความรู้สึกดังนั้นการที่จะมาอยู่ร่วมกัน  และร่วมมือกันดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าทีความมั่นคงได้นั้น  ต้องมีพฤติกรรมของการร่วมใจกัน  ให้มีคามรู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนกัน  หรือเป็นพี่น้องกัน  หรืออยู่ร่วมกัน  เหมือนสามีภรรยากาน  การอยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นคงและยืนยาวนั้น  ควรมีคุณลักษณะนิสัย  ดังนี้ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์  2. ต้องมีความเสียสละ  3. ต้องมีความสามัคคี  4. ต้องมีวินัย

 สหกรณ์จึงต้องมีกิจกรรมที่มุ่งสร้างพฤติกรรมของการร่วมใจขึ้น  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
ความซื่อสัตย์    ที่ต้องแสดงต่อกันนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ความจริงใจต่อกัน
ความเสียสละ คือ  ความมีน้ำใจ  ที่จะสละความสุขส่วนตัวของตนให้แก่ผู้อื่น
ความสามัคคี  คือ  ความปรองดองระหว่างกันและกัน  รู้จักให้อภัยกันและกัน
ความมีวินัย  วินัย  คือ  ระเบียบข้อบังคับ  มารยาท  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีของสังคมนั้นๆ
1.    การเข้าเป็นสมาชิก  ดำเนินการโดยบุคคลสมัครใจ  ตัดสินด้วยคณะกรรมการ
การดำเนินการตามหลักการประชาธิปไตย  เมื่อผ่านกระบวนการจะต้องถือหุ้นอันเป็นการรวมทุน   จึงได้สิทธิแห่งการเป็นสมาชิก
2.    ร่วมกิจการกับสหกรณ์  โดยสมาชิกที่เป็นสมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมตามวิธีหน้าที่  ใช้
หลักประชาธิปไตยในการประชุม  เลือกตั้งตัวแทนเป็นคณะกรรมการดำเนินการ  ออกนโยบายของสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่ดำเนินกิจการตามนโยบาย  สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจการนั้น  ตามหลักการมีส่วนร่วม  เมื่อมีสภาพปัญหาหรือต้องการพัฒนาจะให้หลักการศึกษาอบรมข้อมูลข่าวสาร
3.    รับผิดชอบ  เป็นผลของการร่วมกิจการในข้อ 2 หากกระทำสิ่งใดลงไปแล้วต้อง
รับผิดชอบ  เช่น  ร่วมธุรกิจสินเชื่อโดยการกู้เงินสหกรณ์  ต้องรับผิดชอบส่งชำระคืน  หากไม่ชำระคืนต้องยอมรับการดำเนินการทางกฎหมาย  การรับผิดชอบคือ  การรับผลประโยชน์แบ่งปันจากการร่วมกิจการ  ทั้งส่วนรวมและส่วนรายคนในรูปของตัวเงิน  หรือการรับบริการ  รวมไปถึงการแบ่งปันตามชอบให้กับชุ่มชนตามหลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน

แผนภาพที่  3  แผนผังแสดงวิธีการสหกรณ์

หากบุคคลในสหกรณ์นี้มีคุณธรรมเพื่อส่วนรวมจะมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของสหกรณ์คือ

หากบุคคลในสหกรณ์นี้มีคุณธรรมเพื่อส่วนรวมจะมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของสหกรณ์คือ

หลักคิดข้อนี้  คือ    คุณธรรมนำสหกรณ์ สังคมแผ่นดินธรรมนำซึ่งความเจริญ อย่างมั่นคงยั่งยืน    ซึ่งหมายถึงเป้าหมายแห่งสังคมสหกรณ์ทั้ง   3   ข้อนี้  เทียบเคียงได้กับกระบวนการสอนหลักธรรมของพุทธศาสนาที่กำหนดว่า

                                       

หากตอบข้อ 2 ว่า  บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เรื่องสหกรณ์       =   มีความรู้
หากตอบข้อ 3  ว่า  บุคคลที่เกี่ยวข้องมีคุณธรรม           =   คู่คุณธรรม
หากตอบข้อ  1  ว่า  สหกรณ์ดี                               =   นำความสำเร็จ
แต่หากไม่ได้คำตอบดังกล่าว     บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องแสวงหาวิธีการสร้างความรู้  สร้างคุณธรรม    เพื่อนำสู่ความสำเร็จของสหกรณ์นี้  โดยไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันร่วมมือเพราะสหกรณ์แห่งนี้เป็นของทุกคน
เป็นสมาชิกสหกรณ์เมื่อไหร่             ไม่ใช้ข้อกล่าวอ้างต่อความไม่รู้เรื่องสหกรณ์
เป็นตำแหน่งใดก็ตาม                      ไม่ใช่ข้อยกเวนต่อการมีคุณธรรมสหกรณ์
เมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งของสหกรณ์      คุณคือคนสำคัญต่อความสำเร็จของสหกรณ์
หมายถึงคุณต้องรู้  ต้องเข้าใจ  ปฏิบัติตนใน
สหกรณ์อย่างมีคุณธรรมเพื่อส่วนรวม

 

 

บทที่ 3 การบริหารจัดการสหกรณ์

การบริหารจัดการสหกรณ์

เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์สามารถบริหารจัดการองค์กรได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับและกฎหมาย มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้แทนสหกรณ์ใช้อำนาจหน้าที่บริหารจัดการภายในองค์กรสหกรณ์และในกิจการอันเกี่ยว กับบุคคลภาย นอก สามารถแบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะชั่วคราว
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเสมือนเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้น กล่าวคือ เป็นผู้แทนของสหกรณ์ดำเนินกิจการได้โดยชอบ
บุคคลที่มีรายชื่อ อยู่ในบัญชีผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก ได้สิทธิเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้น นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนภายใน 90 วัน นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องนัดสมาชิกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับสหกรณ์และคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องมอบหมายการงานทั้งปวงให้กับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
ระยะถาวร
หลังจากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้รับมอบหมายการดำเนินงานจากคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ดำเนินกิจการอย่างถาวรสืบต่อไปจนกว่าจะเลิกสหกรณ์

 

อุดมการณ์สหกรณ์

    อุดมการณ์สหกรณ์คือ  “ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลัก การสหกรณ์จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดี  มีความเป็นธรรมและสันติสุขในสังคม”  อุดมการณ์สหกรณ์  สามารถแยกองค์ประกอบคือ

องค์ประกอบของอุดมการณ์สหกรณ์

การช่วยตัวเอง
    การช่วยตนเอง  หมายถึง  การดำเนินชีวิตตามปกติได้ด้วยตัวเองไม่เป็นภาระของผู้อื่น  สำหรับการช่วยตนเองตามอุดมการณ์สหกรณ์จะหมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง  มุ่งสู่ความอยู่ดี  กินดี  สันติสุข  ซึ่งลักษณะของคนที่ช่วยตนเอง  ดังนี้
ขยัน  เป็นลักษณะของคนที่ใช้เวลาที่มีอยู่วันละ 24 ชั่วโมง  เพื่อการทำงานให้มากที่สุดด้วยความอดทน  หนักเอาเบาสู้  ดิ้นรนขวนขวายพากเพียรพยายาม  ไม่ย่อท้อ  ไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคความกระตือรือร้นในการทำงานมีความรับผิดชอบ
ประหยัด  เป็นลักษณะของคนที่รู้จักเก็บออม  รู้จักกิน  รู้จักใช้  เมื่อมีรายได้ก็นำมาใช้จ่ายอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  เห็นคุณค่าของเงิน  ของทรัพย์สินที่มีอยู่ตามคำกลอนที่กล่าวว่า
“ มีสลึง        พึงบรรจบ    ให้ครบบาท
อย่าให้ขาด    สิ่งของ        ต้องประสงค์
มีน้อย        ใช้น้อย        ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง    ให้มาก        จะยากนาน”
พัฒนาชีวิต  คือ  ลักษณะของคนที่ไม่หยุดนิ่ง   ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ  เปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาการพัฒนาทำได้ด้วยการเรียนรู้ การนำความรู้มาปรับปรุงชีวิต  อาชีพ  ความเป็นอยู่ให้สนองความต้องการในการดำรงชีวิตมีคำคมที่เกี่ยวข้องคือ – ปั้นดินให้เป็นดาว – คลื่นลูกหลังมีพลังกว่า –  พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้  – เมื่อวานก็ดูสวนดี  แต่วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน – แสงสว่างปลายอุโมงค์
การพัฒนาเป็นการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ  คนจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทย  ในอดีตเริ่มค้าขายจากการหาบสินค้า  ต่อมาพัฒนาเป็นใส่รถเข็นขายต่อมาพัฒนาเป็นซื้อห้องแถวเปิดขายสินค้า  และต่อมาก็มีตึกแถวเป็นของตนเองจนมีธุรกิจที่ร่ำรวย  สามารถพบเห็นได้จากในตัวเมืองย่านชุมชนต่างๆ
ไม่เสพติดอบายมุข  เนื่องจากอบายมุขเป็นหนทางแห่งความเสื่อม  หากใครเข้าไป  เกี่ยวข้องชีวิตมีแต่จะเสียทรัพย์  เสียสุขภาพ  เสียเวลา  ขาดความเคารพนับถือ  อบายมุขเปรียบเทียบได้กับผีร้าย  หากใครเกี่ยวข้องกับอบายมุขก็จะถูกผีร้ายเข้าสิง  ซึ่งมีอยู่ 6 ผี  ดังนี้
ผีที่ 1  ชอบบุหรี่  สุราเป็นอาจิณ  ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร
ผีที่ 2  ชอบเที่ยวยามวิกาล  ไม่รักบ้าน  รักลูก  รักเมียตน
ผีที่ 3  ชอบดูการละเล่น  ไม่ละเว้น  บาร์คลับ  ละครโขน
ผีที่ 4  คบคนชั่ว  มั่วกับโจร  หนี้ไม่พ้น  อาญา  ตราแผ่นดิน
ผีที่ 5  ชอบเล่นหวย  มวยม้า  กีฬาบัตร  สารพัดถั่วโป  ไฮโลสิ้น
ผีที่ 6  เกียจคร้านการทำกิน  มีทั้งสิ้นหกผี  ไม่ดีเลย
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    การที่แต่ละคนช่วยตนเองด้วยการขยัน ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุข  เป็นสิ่งดีทำให้ดำเนินชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตนเองไม่เป็นภาระของใคร แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ อยู่ดี กินดี
กินดี  มีสันติสุข  ตามความต้องการของคนทั่วไป  เพราะแต่ละคนเพียงคนเดียวมีจ้อจำกัดในการทำงานได้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง  เช่น  ยกเก้าอี้ได้คนเดียว  สอนหนังสือคนเดียววันละ 5 ชั่วโมง  แต่หากต้องการยกโต๊ะตัวใหญ่คนเดียวจะยกไม่ได้  ต้องการสอนหนังสือทั้งวันทุกวิชาคนเดียวไม่สามรถทำได้ดีเมื่อต้องการซื้อ บ้านคนเดียวไม่มีรายได้เพียงพอที่จะทำได้  การช่วยตนเอง  จึงเป็นการดำเนินชีวิตได้ดีในระดับของการสนองความต้องการขั้นต้น  แต่เมื่อต้องการสูงขึ้นต้องมีการร่วมมือช่วยเหลือโดยหลายคนมาช่วยกัน
การร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างมีคุณธรรมนำไปสู่ความสำเร็จที่แต่ละคนต้องการ  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ตามอุดมการณ์สหกรณ์  หมายถึง  การร่วมแรงกาย  แรงใจ  แรงความคิด  กำลังทรัพย์เข้ามาช่วยเหลือให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มเพื่อให้แต่ละคน  ในกลุ่มมีการกินดี  อยู่ดี  มีสันติสุข  ลักษณะของคนที่มีอุดมการณ์สหกรณ์ด้านการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีดังนี้
ซื่อสัตย์  เป็นลักษณะของคนที่มีความตรงไปตรงมา  พูดตรงกับปฏิบัติไม่ทุจริตคดโกงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ซื่อสัตย์มักเขียนควบคู่กับสุจริต  เป็นซื่อสัตย์สุจริต
ความซื่อสัตย์  เป็นลักษณะที่ต้องมีในคนที่อยู่รวมกลุ่มกันโดยต้องซื่อสัตย์ทั้งทางกายคือ การกระทำทางวาจาคือการพูดทางใจคือความคิด  ความรู้สึก
เสียสละ  เป็นลักษณะของคนที่ไม่เห็นแก่ตัว  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ยอมสละสิ่งที่ตนองมี  คือ  กำลังกายช่วยเหลืองานของส่วนรวม
ความสามัคคี  เป็นลักษณะของความพร้อมเพรียง  ร่วมมือด้วยกัน  ทำอะไรด้วยกัน  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความสามัคคีก่อให้เกิดพลังเนื่องจากแต่ละคนจะมีความสามารถอย่างจำกัดแต่ เมื่อรวมหลายคนเข้าด้วยกันก็จะรวมความสามารถได้อย่างกว้างขวาง
ความมีระเบียบวินัย  เป็นลักษณะของการยึดมั่นในกฎกติกา  ขอปฏิบัติของการทำงานร่วมกันที่กำหนดไว้

เอกลักษณ์สหกรณ์

    เอกลักษณ์สหกรณ์เป็นองค์การพิเศษที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ระบุว่า  ประกอบด้วย
1. กลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียวกัน 
2. เจตนารมณ์ที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
3. จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นและร่วมกัน  ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
4. วัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจนี้คือ  ส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชิกและครอบครัว

    เอกลักษณ์สหกรณ์  เป็นองค์ประกอบที่ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ต้องพร้อมกันทั้ง 4  ข้อ     จึงจะเป็นเครื่องชี้ว่าเป็นสหกรณ์  ทั้งนี้เนื่องจากสหกรณ์มีความแตกต่างจากมูลนิธิที่มุ่งช่วยเหลือ  แตกต่างจากธุรกิจเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไร

หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
             สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือการออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี

ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
             สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)

ปรัชญาสหกรณ์
           การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
           ความรับผิดชอบร่วมกัน
           ยึดหลักประชาธิปไตย
          ความเสมอภาค
          ความเป็นธรรม
          การรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการพึ่งพาอาศัยกัน

จริยธรรมสหกรณ์
            ความซื่อสัตย์
           โปร่งใส
            ความรับผิดชอบต่อสังคม
            การเอาใจใส่ผู้ด้อยกว่า

วัตถุประสงค์ของสหกรณ์
            สหกรณ์มีเป้าหมายหลักคือการทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกดีขึ้นและวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือการทำให้เป้าหมายของสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการสหกรณ์

 สัญลักษณ์องค์กรสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ

ความแตกต่างระหว่างสหกรณ์จำกัดกับบริษัทจำกัด

สหกรณ์จำกัด บริษัทจำกัด
ผู้ก่อตั้ง
ไม่น้อยกว่า 10 คน

จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542

ตั้งแต่  7  คนขึ้นไป

จดทะเบียนตามกฎหมายเพ่งและพาณิชย์

บรรพ 3 ลักษณะ 22  หมวด  4  มาตรา  1096-1227

วัตถุประสงค์
-ให้บริการสูงสุดแก่สมาชิก

(Maximized Service)

-เอากำไรสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น

(Maximized Profit)

ทุน
-คนสำคัญกว่าทุน

-รวมทุนเพื่อให้บริการ

-ทุนเป็นใหญ่

-ลงทุนเพื่อหากำไร

หุ้น
-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์น้อย

-ไม่ระบุมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ

-สมาชิกถือหุ้นได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของหุ้นที่ชำระแล้ว

-จำนวนหุ้นไม่แน่นอน

-ราคาหุ้นคงที่

-ไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ

-ไม่บังคับต้องมีใบหุ้น

-เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้

-ผู้ถือหุ้นมีกำลังทรัพย์มากเป็นนายทุน

-มูลค่าหุ้นๆ หนึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท

-ไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือ

-จำนวนหุ้นแน่นอนราคาไม่คงที่

-ชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

-มีหุ้นบุริมสิทธิ

-ต้องมีใบหุ้น  ให้ผู้ถือหุ้น

การออกเสียงลงคะแนน
1 คน  1  เสียง

มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนไม่ได้

1หุ้น  1  เสียง

มอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนได้

การเรียกประชุมใหญ่ “ครั้งหลัง”  กรณี  “ครั้งแรก”  ไม่ครบองค์ประชุม
นัดเรียกใหม่ภายใน 15 วัน นัดเรียนใหม่ไม่น้อยกว่า  14  วัน  ไม่เกิน  6สัปดาห์
เงินทุนสำรอง
จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของผลกำไร  ไม่กำหนดขั้นสูงของเงินทุนสำรอง จัดสรรเงินทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของผลกำไร  จนกว่าจะมีทุนสำรองถึงร้อยละสิบของทุนเรือนหุ้น
การจัดการ
มุ่งประสิทธิผลและประสิทธิภาพทำธุรกิจกับสมาชิกผู้ถือหุ้นมีการเฉลี่ยคืนเงินส่วนเกินให้สมาชิตามธุรกิจ มุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทำธุรกิจกับลูกค้า  ซึ่งมิใช่ผู้ถือหุ้นไม่มีการเฉลี่ยคืนกำไรให้กับลูกค้า

สหกรณ์จำกัด บริษัทจำกัด
ผู้ก่อตั้ง
-สหกรณ์ลูกให้กำเนิดสหกรณ์แม่กล่าวคือ  จัดตั้งสหกรณ์ขั้นมัธยมคือชุมนุมสหกรณ์  ซึ่งเป็นแม่ข่ายใหญ่สหกรณ์ลูก  ต้องเลี้ยงสหกรณ์แม่

-สหกรณ์รวมกันตั้งบริษัทได้

-บริษัทแม่ให้กำเนิดบริษัทลูก  ตั้งบริษัทที่เป็นสำนักงานใหญ่ก่อนจึงตั้งบริษัทสาขา

 

-บริษัทรวมกันตั้งสหกรณ์ไม่ได้

อุดมการณ์
Surplus Profit
ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

พึ่งตนเอง  และเอื้ออาทรผู้อื่น

แข็งแรงอยู่ได้  อ่อนแอตายไป

มือใครยาว  สาวได้สาวเอา

ลักษณะการรวมกัน
มุ่งรวมคน มุ่งรวมเงินทุน
การแบ่งกำไร
แบ่งตามการมีส่วนร่วมในกิจการ แบ่งตามจำนวนหุ้นที่ถือ
รู้คุณค่าสหกรณ์

จากความแตกต่างจนเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  ก่อให้เกิดคุณค่าแห่งความเป็นสหกรณ์(Cooperative Valve) ที่องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศได้อธิบายว่า
“สหกรณ์อยู่บนพื้นฐานแห่งคุณค่าของการช่วยตนเอง  ความรับผิดชอบต่อตนเอง  ความเป็นประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  ความเที่ยงธรรม  และความเป็นเอกภาพสมาชิก  สหกรณ์เชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมแห่งความสุจริต  ความเปิดเผย  ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเอื้ออาทรต่อคนอื่นโดยสืบทอดประเพณีปฏิบัติของ ผู้ริเริ่มการสหกรณ์
คุณค่าสหกรณ์ดังกล่าว  แบ่งออกได้เป็น  คุณค่าขององค์กรสหกรณ์เองกับคุณค่าแห่งการเป็นสมาชิกสหกรณ์  อันหมายถึงการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกแต่ละคน  และการปฏิบัติของสหกรณ์ต่อสมาชิกแต่ละคน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  มีพระราโชวาท  เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ วันที่  26  กุมภาพันธ์  2521 ระบุหลักสำคัญที่สุดของสหกรณ์ในการดำเนินงานสู่ความเจริญก้าวหน้า คือ
1. ความเมตตา  กรุณา  ความต้องการให้ผู้อื่นมีสุข  ความสำเร็จช่วยเหลือกัน  เท่าที่ทำได้
2. ความซื่อสัตย์สุจริต  จริงใจต่อกัน
3. ความสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในระหว่างสมาชิกไม่มีการถือเขาถือเรา  ต่างมุ่งประโยชน์ต่อสหกรณ์  อันเป็นผลประโยชน์ของทุกคน
4. ความรู้ทางวิชาการที่ต้องส่งเสริมในทุกกรณี

คุณธรรมนำสหกรณ์

การอยู่ร่วมกันในสหกรณ์อันเป็นองค์กรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจำเป็นต้องมี คุณธรรมในการดำเนินงาน  ซึ่งเมื่อใช้คุณธรรมเป็นหลักนำ  ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จ  คุณธรรมนำสหกรณ์ประกอบด้วย ต่อไปนี้  1. คุณธรรมสำหรับสมาชิก  ประกอบด้วย  ขยัน  ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอยายมุข  ซื่อสัตย์  อดทน  ยึดทางสายกลาง  2. คุณธรรมการอยู่ร่วมกัน  ประกอบด้วยพรหมวิหาร  4 คือ  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  อิทธิบาท  4  คือ  ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสาสังคหวัตถุ  4  คือ  ทาน  ปิยะวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตา  ฆราวาสธรรม  คือ  สัจจะ  ทมะ  ขันติ  จาคะ  3.  คุณธรรมสหกรณ์  ประกอบด้วย  7 ประการ  คือ
การหมั่นประชุม        เพื่อแสวงหาความเห็นหาข้อยุติส่วนรวม
การปรับแนวคิด        เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงกัน
เคารพให้เกียรติกัน    เพื่อให้เป็นไปตามบทบาทหน้าที่
ยึดมั่นในกติกา        เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
ไม่ข่มเหงอิจฉา        เพื่อความสามัคคีในหมู่คณะ
ยกคนดีนำหน้า        เพื่อให้คนดีได้เป็นผู้นำ
ยึดปรัชญาสหกรณ์เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของสหกรณ์

บทที่ 2 ประวัติสหกรณ์

ประวัติสหกรณ์

 

ระหว่างศตวรรษที่  18-19  ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน  ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  คือเกิดภาวะการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำทั่วไปการเปลี่ยนแปลง  อย่างใหญ่หลวงครั้งนี้เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ  ชาวอังกฤษต้องประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากมายจากการที่นายทุนใช้เครื่องจักรแทนแรงงานมีการปลดคนงานออกจากโรงงาน  ส่วนผู้ประกอบ  การรายย่อย  ต้องเลิกล้มกิจการไป  สภาพสังคมทั่วไปมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ  ฝ่ายนายทุน  และทางฝ่ายกรรมการ  นายทุนพยายามแสวงหากำไรจากการลงทุนมากที่สุด  โดยการเอารัดเอาเปรียบฝ่ายกรรมกรทุกวิถีทาง
จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในครั้งนี้  บรรดากรรมการที่ถูกบีบคั้นทั้งหลายจึงเริ่มแสวงหาหนทาง  ที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากของพวกตนประกอบกับเวลานั้นมีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความคิด  อยากจะช่วยพยุงฐานะของสังคมให้ดีขึ้น  ได้เสนอแนวทางปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม  โดยการร่วมมือ  ระหว่างผู้ที่เดือดร้อนให้รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  แนวความคิดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบสหกรณ์ขึ้นในเวลาต่อมา


โรเบิร์ด โอเวน บิดาสหกรณ์โลก

บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่งไปรู้จักคำว่า “สหกรณ์”  คือโรเบอร์ต โอเวน  ชาวอังกฤษ  ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิด  การสหกรณ์ขึ้นในโลก  และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการสหกรณ์  เดิมโอเวนเป็นคนที่ยากจนแต่ความเฉลียวฉลาดและรู้จักวิธีการทำมาหากินจึงทำให้เข้าได้มีโอกาสเป็นผู้จักการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน  เขาเป็นนายจ้าง  ที่มีความหวังดีต่อกรรมกร  จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของคนงานให้ดีขึ้น  หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ  โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เพื่อขจัดปัญหา  ความเดือดร้อนต่างๆ  ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์  โอเวนเสนอให้จัดตั้ง  “ชมรมสหกรณ์”  (Co-operative Community)  ให้ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ใช้เองโดยไม่ใช้เครื่องจักรทรัพย์สินของชมรม  เป็นของส่วนรวม  เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปนอยู่ในชมรม  การจัดจั้งชมรมสหกรณ์  จะต้องใช้เงินทุน  และที่ดินเป็นจำนวนมากและโอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์  เพื่อให้คนทั่วไป  ได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ  แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้  เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น  โอเวนจึงได้เดินทางไปประเทศอเมริกา  และทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์  ขึ้นเป็นครั้งแรกที่  นิวฮาโมนี  รัฐอินเดียนา  สหรัฐอเมริกา  ในปี พ.ศ. 2368 ให้ชื่อว่า  นิวฮาโมนี (New Harmony)  แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา  เนื่องจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่าใช้จ่าย  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา  อย่างไรก็ตามแนวความคิดของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ  เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์  ในอันที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือง  ซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น


นายแพทย์วิลเลี่ยม คิง

อีกท่านหนึ่งคือนายแพทย์วิลเลี่ยม  คิง  อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน  ประเทศอังกฤษ  เป็นผู้นิยมให้ความคิด  ทางสหกรณ์ของโอเวน  แต่เห็นว่าโครงการของโอเวนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก  ซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยากนายแพทย์คิงจึงเริ่มต้นจากากรชี้แจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อย  ตั้ง “สมาคมการค้า”  (Trading Association) ในรูปสหกรณ์ขึ้น  เมื่อปี พ.ศ. 2370  เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า  แต่มีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกัน  แต่จะเก็บสมทบไว้เป็นทุนเพื่อใช้ งานของร้านสหกรณ์ต่อไป  จนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโอเวนได้  ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการ  เก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืนแก่สมาชิก  ทำให้สมาชิกไม่ศรัธราสหกรณ์  อย่างไรก็ตามกิจการของนายแพทย์คิง  ก็คล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน  ฉะนั้นในวงการร้านสหกรณ์สมัยนี้จึงให้เกียรติแก่ท่านมาก
ต่อมาเมื่อสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นก็ได้มีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วยนักสหกรณ์รอชเดล  หรือที่เรียกกันว่า  “ผู้นำแห่งรอชเดล”  ได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ 10 ประการ  ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการที่ถูกยึดถือ  เป็นหลักสหกรณ์สากลมาจนถึงปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานาน  แต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และกลายเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่  ยิ่งกว่านั้นวิธีการของร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคแบบนี้  ได้เผยแพร่หลาย  ออกไปสู่  ประชาชนกลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหักการสำคัญๆ  อย่างเดียวกันนี้  มีอยู่ในประเทศต่างๆ  เป็นจำนวนมาก
ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ  เช่น  สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุน  หรือ  สหกรณ์เครดิต  หรือสหกรณ์สินเชื่อก็เช่นเดียวกันสหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสน  และความเดือนร้อนของเกษตรกรและกรรมกร  เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้อยาก  และแม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง  จนมาสามารถหารายได้มาให้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้  เป็นเหตุให้มีหนี้สินมากเมื่อปี พ.ศ. 2393  นายเฮิร์มัน   ชูลช์ชาวเยอรมัน  ผู้พิพากษาแห่ง  เมืองเดลิตช์ ได้คิดจัดตั้งสหกรณ์  ประเภทหาทุนขึ้นในหมู่ชาวเมือง  ผู้เป็นช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็ก  โดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม  และในปี พ.ศ. 2405  นายฟริดริค   วิลเฮล์มไรฟไฟเซน  ชาวเยอรมัน  นายกเทศมนตรี  เมือง เฮดเอสดอร์ฟ  ได้จัดตั้งสหกรณ์  หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท  ซึ่งเป็นเกษตรกร  โดยจัดเป็นองค์การ  เพื่อจัดหาทุนให้แก่สมาชิก  กู้ยืม  เช่นเดียวกัน  ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน  ของประชาชนก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ  อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวบ้านและชาวเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น ” ขบวนการสหกรณ์โลก ” มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น ” วันสหกรณ์สากล ”

ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย
สหกรณ์แห่งแรก

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยา
ลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันสหกรณ์แห่งชาติ ”

การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกองทุนพัฒนาสหกรณ์

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย  ก็คือ  การควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกันโดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511  เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่  สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก  ได้มากกว่า  ด้วยเหตุนี้  สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน  และในปี 2511  สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา  เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ  มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกันสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ  ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ  ที่มิใช่เกี่ยวกันการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสมาชิก  ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท  ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2516  ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์นิคม  สหกรณ์ประมง  สหกรณ์ออกทรัพย์  สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์บริการและสหกรณ์เครดิตยูเนียน  ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน  ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ  ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์  จำนวนสมาชิก  ปริมาณเงินทุน  และผลกำไรของสหกรณ์  เพิ่มขึ้นทุกปี  การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ  ต่อประชาชนที่ยากจน  การสหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ  และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

 

ความหมาย

 

สหกรณ์เป็นภาษาสันสกฤต  มีการอธิบายความหมายของนักสหกรณ์ไทยและต่างประเทศโดยยกตัวอย่างได้ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงอธิบายความหมาย  สหกรณ์  ว่า สห  คือ  ด้วยกัน  กรณ์  คือ  การทำงาน  สหกรณ์  คือ  การทำงานร่วมกัน  ด้วยความรู้ความสามารถ  ซื้อสัตย์สุจริต  เมตตากัน  สหกรณ์ต้องอาศัยปัจจัย  สำคัญที่สุด  คือ  ความสามัคคีและความซื่อสัตย์
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นพระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย  ได้ประทานคำแปล “สหกรณ์เป็นวีการจัดการรูปหนึ่งซึ่งบุคคลหลายคนเข้าร่วมกันโดยความสมัครใจของตนเอง  ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น  และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมดเพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์”
คำนิยามที่กำหนดโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization หรือ ILO)  กำหนดสถานะของสหกรณ์เป็นทั้งองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคม  “สหกรณ์เป็นสมาคมของบุคคลที่รวมกันเข้าด้วยความสมัครเพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน  โดยการก่อตั้งองค์การธุรกิจที่ควบคุมแบบประชาธิปไตย  ร่วมกันออกทุนที่ต้องการอย่างเที่ยงธรรมและยอมรับการมีส่วนอย่างยุติธรรม  ในการเสี่ยงภัยและผลประโยชน์ของการดำเนินงานที่สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน”
Israel Packel  ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “สหกรณ์เป็นสมาคมที่ให้บริการทางเศรษฐกิจโดยไม่คิดกำไรในฐานะผู้ประกอบการและบุคคล  ผู้รับบริการของสมาคมต่างก็เป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุมกิจการโดยเท่าเทียมกัน”
“W.P.Watkins  ได้ให้คำนิยามว่า  “สหกรณ์เป็นระบบองค์กรทางสังคมอย่างหนึ่ง  ซึ่งยึดหลักความสามัคคี  เศรษฐกิจ  ประชาธิปไตย  ความยุติธรรมและเสรีภาพ”
ความหมายของสหกรณ์นอกจากการอธิบายดังกล่าวแล้ว  ตามกฎหมาย  คือ  พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
มาตรา 4 ได้กำหนดให้สหกรณ์หมายความว่า  “คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเอง  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้”

สรุป สหกรณ์ คือ “ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ ( อันจำเป็น ) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”
ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถ แก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จาก การดำเนินกิจการเองตามลำพัง

แผนภาพที่  1  ความหมายสหกรณ์
สถานภาพสหกรณ์
1.    สหกรณ์เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
2.    เมื่อจดทะเบียนแล้ว สหกรณ์มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล”
3.    สหกรณ์เป็นนิติบุคคลในภาคเอกชน ไม่สังกัดส่วนราชการใดๆทำไมต้องมีการจัดตั้งสหกรณ์
1.    สหกรณ์ เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข
2.    สหกรณ์เป็นองค์การที่มีกฎหมายรองรับ เป็นนิติบุคคลที่ถาวร เป็นอิสระ มีส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนตามความจำเป็น
3.    สหกรณ์ มีวิธีการแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยธรรม เป็นแบบของสหกรณ์โดยเฉพาะ มีลักษณะที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการในขณะเดียวกันประโยชน์ที่จะได้รับจากสหกรณ์ มีดังต่อไปนี้
1.    การรวมกันเป็นสหกรณ์ ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้ และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง
2. ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ
2.    สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก
3.    สหกรณ์ ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น
4.    ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์
5.    สหกรณ์ ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การดำเนินงานของสหกรณ์
สหกรณ์ ดำเนินกิจการภายใต้กรอบแห่งกฎหมายทั้งปวง แต่ต้องไม่ขัดกับข้อบังคับสหกรณ์และพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ซึ่งกำหนดให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ดำเนินธุรกิจการผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
2. รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำจากสมาชิก หรือสหกรณ์อื่นได้ตามระเบียบสหกรณ์
3.จัดให้ได้มา หรือจำหน่ายไป ซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์สินโดยหลักแห่งนิติกรรมและสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4.ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ รับจำนอง หรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิก หรือของสมาชิก
5.ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์
6.ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัว
7.ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
8.ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่น
9. ดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

สิทธิพิเศษของสหกรณ์
1.    สหกรณ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน สำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวเนื่องอสังหาริมทรัพย์
2.    สหกรณ์ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.    เอกสารที่สหกรณ์ทำขึ้นบางอย่างได้รับการยกเว้นไม่เสียค่าอากรแสตมป์

ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับสหกรณ์
ปัจจัยจำเป็นที่จะทำให้สหกรณ์ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ
1.  ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์และกรรมการดำเนินการ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการสหกรณ์สหกรณ์เป็นการรวมคน ดังนั้นคนที่มารวมกันจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมาย ในการรวมกัน รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งหลักและวิธีการสหกรณ์จึงจะทำให้ดำเนินกิจการได้โดยราบรื่น มีความมั่นคงและเข้มแข็ง สามารถอำนวยประโยชน์ให้สมาชิกได้สมความมุ่งหมาย ดังนั้น ควรอบรมให้บุคคลที่จะมารวมกันตั้งสหกรณ์รู้เรื่องดังกล่าวด้วย
2. ทุนดำเนินงานสหกรณ์ ทุนดำเนินงานได้มาจากค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ยืม เงินช่วย เหลือจากบุคคลอื่นๆ และกำไรที่สะสมไว้ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงควรประมาณการไว้ว่าจะได้เงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด จะได้มาจากไหน และถ้าไม่เพียงพอจะหาเพิ่มเติมได้โดยวิธีใด
3. ปริมาณธุรกิจที่เพียงพอ สหกรณ์ต้องมีรายจ่ายจากการดำเนินธุรกิจ รายจ่ายบาง ประเภทคงที่ไม่ว่าจะทำธุรกิจมากน้อยเท่าใด เช่น เงินเดือน ค่าสึกหรอ เป็นต้น ดังนั้น สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจให้มาก พอจนมีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงต้องประมาณดูว่าสหกรณ์สมควรทำธุรกิจกับสมาชิกในด้าน ไหนมากน้อยเพียงใด ตลอดจนการโฆษณาเชิญชวนหรือชักชวนให้สมาชิกมาทำธุรกิจกับสหกรณ์ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้
4. ผู้จัดการสหกรณ์ สหกรณ์ต้องทำธุรกิจ ต้องมีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและควบคุม กิจการของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด ผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำงานให้สหกรณ์เต็มเวลา ควรมีประสบการณ์ ในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง และมีความรู้ในหลักการวิธีการสหกรณ์ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงจำเป็นต้องพิจารณาคัดเลือกหาคนที่มีคุณสมบัติที่ เหมาะสมมาปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
5. ความต้องการของกลุ่มบุคคลที่จะรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ จะต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง ของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง
สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นโดยมีปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว จะสามารถดำเนินกิจการต่อไป ได้ถูกต้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงสืบไป

 

Website Built with WordPress.com.

Up ↑