การบัญชีสหกรณ์
การบัญชีสหกรณ์ คือ การจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่สหกรณ์ได้ดำเนินการ โดยจัดหมวดหมู่ แยกประเภทรายการและสรุปผลออกมาในรูปรายงานทางการเงิน เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี
เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ตามลำดับการเกิดของรายการอย่างเป็นระเบียบ – เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่ากำไร หรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่กำหนด – เพื่อให้เห็นถึงฐานะทางการเงิน ณ วันใดวันหนึ่งว่ามี สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการเท่าไร – เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและกันการสูญหายของสินทรัพย์ – เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจด้านต่างๆ – ผู้บริหาร : วางแผน ควบคุม วัดผลดำเนินงาน และตัดสินใจด้านต่างๆ – บุคคลภายนอก : ตัดสินใจในการลงทุน การพิจารณาการให้สินเชื่อ
ความสำคัญของการบัญชี สามารถสรุปได้ดังนี้
การวางแผนและการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจสำหรับผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ – บทบาทในการบริหารจัดการ เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน – ข้อมูลที่ดีต้อง ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจ
เอกสารประกอบการลงบัญชี หมายถึง เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการรับเงินหรือจ่ายเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าได้เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงินขึ้นจริงตามปรากฏในเอกสารนั้น
เอกสารประกอบการลงบัญชีของสหกรณ์นักเรียนมีดังนี้
1.ใบเสร็จรับเงินจากบริษัท ห้างร้านที่สหกรณ์ไปซื้อสินค้า
2.ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์ ใช้บันทึกรายการรับเงินของสหกรณ์ ทั้งจากสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก
3.ใบเบิกเงิน ใช้บันทึกรายการจ่ายเงินของสหกรณ์ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้
4.ใบนำส่งฝากออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานการนำเงินส่งเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก
5.ใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ ใช้บันทึกเป็นหลักฐานเมื่อสมาชิกถอนเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์
6.ใช้ขายสินค้าประจำวัน ใช้บันทึกรายการขายสินค้า จำนวนสินค้า จำนวนเงิน และหมายเลขสมาชิกผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน และสรุปยอดขายในแต่ละวัน
การลงบัญชีในสมุดบัญชี เป็นการนำเอาหลักฐานจากเอกสารประกอบการลงบัญชีมา บันทึกลงในสมุดบัญชีเป็นประจำวันที่มีรายการเกิดขึ้นได้แก่
1.การลงบัญชีในสมุดเงินสดประจำวัน เป็นหน้าที่ของพนักงานบัญชี ในการบันทึกรายการรับเงินทุกรายการของแต่ละวันลงในด้านรายการรับโดยใช้ ใบเสร็จ รับเงิน ใบขายสินค้าประจำวัน ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์เป็นหลักฐานการลงบัญชีและบันทึกรายการจ่ายเงินทุกรายการของแต่ละวันลงใน ด้านรายการจ่ายเงิน โดยใบเบิกเงินใบเงินฝากออมทรัพย์ และใบเสร็จรับเงินของร้านค้า (กรณีซื้อสินค้าและร้านค้ามีใบเสร็จให้) เป็นหลักฐานการลงบัญชีตลอดจนสรุปเงินสดคงเหลือประจำวัน
2.การลงบัญชีในสมุดซื้อสินค้า เป็นหน้าที่ของพนักงาน ในการบันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินสด โดยใช้ใบเสร็จรับเงินของร้านค้าเป็นหลักฐานการลงบัญชี ในกรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อใช้ใบส่งของของร้านค้าเป็นหลักฐานในการลงบัญชี ทั้งนี้ให้ผู้จัดการเป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าแต่ละรายรายการ
ทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้น โดยใช้เอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นหลักฐานในการบันทึก ดังนี้
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์ จำนวนหุ้นที่ชำระทั้งหมด บันทึกรายการเพิ่มหุ้น ถอนหุ้น หรือ โอนหุ้น ของสมาชิกแต่ละราย
2.ทะเบียนคุมสินค้า ใช้บันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายแต่ละอย่างทั้งนี้เพื่อควบคุมรายการรับสินค้าเข้าร้าน การตัดจ่ายสินค้าเมื่อขาย และคุมยอดคงเหลือของสินค้าให้ถูกต้องเป็นการป้องกันการขาดหายของสินค้าแต่ละรายการ
3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก ใช้บันทึกยอดซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์เป็นรายวันของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวมยอดซื้อสินค้าของสมาชิกตอนสิ้นปี
4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์ ใช้บันทึกรายการเงินฝาก ถอนเงินและยอดคงเหลือเงินฝาก
5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่ายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตรหรือฝ่ายการศึกษาและสวัสดิการใช้บันทึก
ทะเบียน | ผู้บันทึก | หลักฐานประกอบ |
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น
2.ทะเบียนคุมสินค้า
3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก 4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์ 5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่าย |
1.ผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.พนักงานขาย
3.พนักงานขาย
4.พนักงานออมทรัพย์
5.พนักงานเกษตรหรือ พนักงานการศึกษา และสวัสดิการ |
1.หลักฐานประกอบการบันทึกใบเสร็จ รับเงินค่าหุ้นหรือใบถอนเงินค่าหุ้น
2.ใช้สมุดซื้อสินค้า บันทึกยอดรับสินค้า ราคาทุน และราคาขายใช้ใบ สินค้าประจำวันบันทึกยอดขายสินค้า 3.ใบขายสินค้าประจำวัน
4.ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์ หรือใบถอนเงินออมทรัพย์
5.ใบเสร็จรับเงินของฝ่ายหรือใบเบิกเงินของฝ่าย(แยกทำเป็นฝ่ายๆ) |
นอกจากการลงบัญชี และการบันทึกเอกสารทางการเงินเป็นประจำทุกวันแล้ว ต้องมีการสรุปการทำบัญชีเป็นประจำทุกเดือนเรียนว่า งบเดือน และการสิ้นสุดของการจัดทำบัญชีนั้น โดยทั่วไปกำหนดรอบบัญชีไว้ 1 ปี













ใส่ความเห็น