การประชุมมีประโยชน์ ดังนี้
1 .ช่วยให้เกิดการทำงานทางความคิดร่วมกัน 2. ช่วยให้เกิดความรอบคอบใน
การตัดสินใจ 3. ช่วยให้การกระจายข่าวสาร 4. ช่วยในการประสานงาน ประสานความคิดและสร้างความเข้าใจ 5. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน 6. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน 7. ช่วยให้เกิดแนวทางใหม่ วิธีการหรือกระบวนการใหม่ๆ จากการ เสนอความเห็นในการประชุม
เมื่อใดควรเรียกประชุม
– เมื่อไม่สามารถวิเคราะห์สาเหตุ สภาพและขอบเขตของปัญหาหรือไม่สามารถ
แก้ปัญหาโดยลำพัง – เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจโดยกลุ่ม – เมื่อต้องการการสนับสนุน หรือ ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย – เมื่อต้องการหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน – เมื่อต้องการชี้แจงและให้ข้อแนะนำการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน – เมื่อต้องการการประนีประนอมข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง – เมื่อต้องการให้เห็นความสำคัญของผู้ที่ได้รับเชิญมาเข้าประชุม – เมื่อต้องการชี้แจงนโยบายหรือให้เหตุผลในการตัดสินใจ – เมื่อต้องการทบทวนสิ่งที่มีมติไปแล้ว – เมื่อต้องการจัดการฝึกอบรมหรือจัดกิจกรรมใดๆ
การตัดสินใจเลือกผู้เข้าประชุม
– เป็นผู้ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ที่ประชุมในด้านความคิดเห็นที่สำคัญตามวัตถุประสงค์
ของการประชุม – เป็นผู้มีข้อมูลและรอบรู้ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประชุม – เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับเรื่องประชุม – เป็นผู้อยู่ในฐานะต้องให้การรับรองมติหรือผลของการประชุม – เป็นผู้ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องที่ประชุม – เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจหรืออนุมัติให้มีการดำเนินการได้ตามมติของที่ประชุม – เป็นผู้ที่จำเป็นต้องรู้สาระที่นำเสนอในที่ประชุม
จำนวนผู้เข้าประชุมที่เหมาะสม
– การประชุมเพื่อการตัดสินใจควรมีจำนวนประมาณ 5 คน – การประชุมเพื่อ
การแก้ปัญหา ควรมีจำนวนประมาณ 7 คน – การประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจ ควรมีจำนวนประมาณ 7 คน – การประชุมเพื่อการบริการ ควรมีจำนวนประมาณ 10–15 คน – การประชุมเพื่อฝึกอบรม ควรมีจำนวนประมาณ 20-25 คน – การประชุมชี้แจง ควรมีจำนวนประมาณไม่เกิน 30 คน – การประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารต่างๆ มีจำนวนเท่าใดก็ได้ตามจำนวนของผู้ที่จำเป็นต้องรู้
รายงานการประชุม
รายงานการประชุม คือ ข้อความบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมโดยระบุมติของที่ประชุม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อยืนยันการปฏิบัติงาน เพื่อแสดงกิจการที่ดำเนินการมาแล้ว และเพื่อแจ้งผลการประชุมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทราบและปฏิบัติต่อไป
รูปแบบของรายงานการประชุม
ครั้งที่…………………………….
เมื่อวันที่…………………………………..
ณ……………………………………………
————————
ผู้มาประชุม ………………………………………………………………
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ………………………………………………………………
เริ่มประชุมเวลา ……………………………….น. (ข้อความ)…………………………………………………………………………………………….
เลิกประชุมเวลา ………………………………น.
…………………………………………………….
ผู้จดรายงานการประชุม
ส่วนประกอบของรายงานการประชุม
1. รายงานการประชุมของใคร ให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น
2. ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่เท่าใกของปีนั้นเรียงลำดับไปตามปีปฏิทินและทับ (/) ด้วยปีพุทธศักราช เมื่อขึ้นปีใหม่ให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่
3. วัน เดือน ปี ให้ลงวันเดือนปีที่ประชุม อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อ
4. สถานที่ประชุม ให้ระบุสถานที่ที่ใช้ดำเนินการประชุม
5. ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมและได้มาประชุม หากมีผู้มาประชุมแทน ให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนพร้อมทั้งระบุว่าแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
6. ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุมพร้อมทั้งระบุเหตุผล (ถ้ามี) ทั้งนี้ การระบุเหตุผลนิยมใช้ว่า ลาป่วย ลากิจหรือติดราชการ
7. เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมแต่ ได้เข้าร่วมประชุม
8. เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุมตามเวลาจริง ไม่ใช่เวลานัดประชุมเพราะการประชุมอาจล่าช้ากว่ากำหนด
9. ข้อความ การจดรายงานการประชุมมี 3 วิธี คือ
9.1 จดละเอียดทุกคำพูดพร้อมทั้งมติ
9.2 จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญพร้อมทั้งมติ
9.3 จดเฉพาะเหตุผลและมติของที่ประชุม
ระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรีแบ่งระเบียบวาระการประชุมเป็น 5 วาระดังนี้
1) เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2) การรับรองรายงานการประชุม
3) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
4) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
5) เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
10. เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาเลิกประชุมตามเวลาจริง
11. ผู้จดรายงานการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุม
การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อประชาสัมพันธ์อย่างมีแบบแผน ต่อเนื่องกับกลุ่มคน หรือประชาชน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันนั้นๆ เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลากระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการติดต่อสื่อสารสองทาง คือ ส่งสารไปยังกลุ่มประชาชนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความร่วมมือร่วมใจ สนับสนุนให้ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการความละเอียดรอบคอบ และไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควรยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. การบอกกล่าวหรือชี้แจง เผยแพร่ให้ทราบ คือ เป็นการบอกให้ประชาชนทราบถึง
นโยบาย วัตถุประสงค์การดำเนินการ ผลงานและกิจกรรม ความเคลื่อนไหวขององค์การหรือหน่วยงาน
2. การป้องกันและการแก้ไขความเข้าใจผิด การป้องกัน คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน ในเรื่องวัตถุประสงค์การดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงาน
3. สำรวจประชามติ คือ การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เพื่อให้ทราบถึง
ประชามติ และนำประชามติมาเป็นแนวทางให้องค์การหรือหน่วยงานดำเนินการ ประชามติคือ หัวใจของการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ และจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
ความสำคัญของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
1. เพื่อการถ่ายทอดหรือบอกข่าวสารให้ประชาชนทราบ
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. เพื่อสร้างความนิยมและภาพพจน์ที่ดีขององค์การ
สรุป หลักการประชาสัมพันธ์
ประโยชน์ของการสหกรณ์
นับตั้งแต่ได้มีการริเริ่มนำเอาวิธีการสหกรณ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนที่ที่สภาพปัญหาและความต้องการอย่างเดียวกันได้เป็นผลสำเร็จในปลายศตวรรษที่ 18 แล้ว วิธีการสหกรณ์ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและแพร่ขยายไปทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิธีการสหกรณ์เป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ จะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อสมาชิกทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าบทบาทนี้แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าบทบาทที่สำคัญของสหกรณ์ที่มีต่อกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไป มีดังนี้
บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.สหกรณ์สามารถรักษาเสถียรภาพและตรึงราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจใน
ขณะเดียวกัน ก็ช่วย คุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร โดยยกระดับราคาสินค้าผลิตผลการเกษตร
ให้สูงขึ้นด้วยวิธีการดำเนินธุรกิจแบบรวมกันขาย และสามารถให้บริการสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและประกอบอาชีพโดยวิธีการรวมกันซื้อ
2.แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้โดยสามารถกรายผลประโยชน์ ไปสู่ประชาชนเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนเป็นเจ้าของและควบคุมธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมและบริการของตนเอง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงตกเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาได้ จากการดำเนินธุรกิจของเอกชน จึงอาจกล่าวได้ว่าสหกรณ์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่เป็นไปได้สำหรับประชาชนสามัญทั่วไป
บทบาทในการพัฒนาสังคม
1. ให้โอกาสในการศึกษาแก่ประชาชน ทั้งในด้านวิชาการต่างๆ นอกระบบโรงเรียนตามหลักการของสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมไปจนถึงให้โอกาสในการเรียนรู้ถึงการร่วมกัน ดำเนินธุรกิจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2. สร้างผู้นำในระดับท้องถิ่น ฝึกหัดให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เข้าใจในวิธีการของระบบประชาธิปไตย รู้จักใช้สิทธิ รู้หน้าที่ เป็นแหล่งพัฒนาคนให้เข้าใจในประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับท้องถิ่น และการปกครองตนเองตามแนวทางของรัฐบาล (เช่น การมีบทบาทใน อบต.)
3. เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยหลักการบริหารที่สมาชิกทุกคนมีสิทธิเสมอกัน

จากบทบาททั้ง 2 ด้านดังกล่าว จึงปรากฏให้เห็นกันโดยทั่วไปว่า ในประเทศที่พัฒนามาแล้วสหกรณ์ถือเป็นองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างเข้มแข็งในกระบวนการตัดสินที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ในบางครั้งอาจจะมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ ในประเทศอังกฤษ ขบวนการสหกรณ์ได้เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองจนถึงขั้นมีการจัดตั้งพรรคการเมืองของสหกรณ์
ดังนั้น เราจึงอาจสรุปได้ว่า ประโยชน์ของสหกรณ์ที่มีต่อสังคมและประเทศชาติตามบทบาทที่โดดเด่นทั้ง 2 ประการข้างต้น มีดังต่อไปนี้
1. ให้บริการแก่สมาชิก ให้สามารถรวมกันซื้อสินค้าที่ต้องการมาบริการในหมู่สมาชิกในราคาที่เป็นธรรม ทำให้สินค้าที่นำมาบริการตรงความต้องการ และเกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดต้นทุนสินค้า
2. ให้บริการแก่สมาชิกในการรวบรวมผลิตผลของสมาชิก เพื่อจำหน่ายได้ในราคาที่เป็นธรรมและเกิดการประหยัดเนื่องจากการรวมกันขาย เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาชนะ ค่าตาชั่ง ฯลฯ
3. เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสมาชิกในการประกอบอาชีพ สำหรับสมาชิกที่ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการประหยัดและอดออมเพื่ออนาคต
4. เสริมสร้างความเสมอภาค โดยสมาชิกมีสิทธิเท่าเทียมกันในการออกเสียงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ หนึ่งคนต่อหนึ่งเสียง ตามหลักประชาธิปไตย
5. ให้ความรู้แก่สมาชิกในด้านการผลิต การจำหน่าย การจัดการ ตลอดจนข่าวสารต่างๆ และวิทยาการใหม่
6. เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และช่วยเหลือชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ตลอดจนเสริมสร้างสาธารณประโยชน์
ประโยชน์สหกรณ์ที่มีต่อประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540 ในขณะที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ สถาบันการเงินองค์กรของรัฐประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมีการเลิกจ้าง การปิดกิจการประเทศต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศในสถานการณ์นั้น ปรากฏว่า สถาบันสหกรณ์เป็นหลักที่มั่นคงให้กับชาติโดยไม่ได้รับผลกระทบใด ยังคงมีสภาพคล่อง มีเงินทุนสะสมมีการให้บริการสมาชิกตามปกติ ภายใต้เงินทุนหมุนเวียนหลายแสนล้านบาท จึงทำให้ประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ สหกรณ์เป็นแหล่งรองรับเงินฝากที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงถึงประโยชน์ของสหกรณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศ
ระบบการสหกรณ์ เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม ทีมีประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดประมาณ 9 ล้านคน มีทุนดำเนินงานประมาณ 7 แสนล้านบาท เป็นระบบที่สามารถสร้างการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพของประชาชนทั่วประเทศ เอื้ออาทรสาธารณูปโภคต่อชุมชนรวมกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้การจัดการกันเองประชาชน ประโยชน์สหกรณ์จึงเป็นการสร้างประชาชนรายคนให้มีความเข้มแข็ง สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสร้างประเทศให้เข้มแข็ง
ใส่ความเห็น