หลักการสหกรณ์

หลักการสหกรณ์  หมายถึง  แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่างๆ  ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมจากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล  แล้วจึงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจุบันองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (Intimation Cooperative Aliened) ซึ่งเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเป็นสมัชชาสหกรณ์ระหว่างประเทศ  ซึ่งมีประเทศต่างๆ  ที่นำวิธีการสหกรณ์ไปปฏิบัติเข้าร่วมกันเป็นสมาชิกรวม 94  ประเทศ  ได้ประชุมเมื่อวันที่  23  กันยายน  2538  ที่เมืองแมนเชลเตอร์  ประเทศอังกฤษ  ได้กำหนดหลักการสหกรณ์ไว้  7  ข้อ  คือ
1.    การเป็นสมาชิโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
2.    การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
3.    การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก
4.    การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5.    การศึกษา  ฝึกอบรม  และสารสนเทศ
6.    การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
7.    การเอื้ออาทรต่อชุมชน

หลักการที่  1  การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

 

สหกรณ์เป็นองค์กรแห่งความสมัครใจ  เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก  โดยปราศจากการกีดกันทางเพศฐานะทางสังคมเชื้อชาติ  การเมือง  การศาสนา
การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจนี้  แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างของสหกรณ์ไม่มีการแบ่งชนชั้น  ไม่กีดกันหวงห้ามเอวไว้สำหรับกลุ่มพวกพ้องของตน  ให้โอกาสทุกคนได้เข้าเป็นสมาชิกเท่าเทียมกัน  จากหลักการข้อนี้จึงมุ่งสร้างพฤติกรรมให้เป็นคนใจกว้าง  ไม่คับแคบ  ไม่คิดเพียงแค่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง  แต่มุ่งหวังเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ความสมัครใจนี้  ตรงข้ามกับการบังคับ  แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการแนะนำส่งเสริมไม่ใช่การขู่เข็ญล่อล่วง  แต่มีข้อสังเกตคือ  สหกรณ์มีการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกไว้  ทำให้ถึงแม้จะสมัครใจต้องการเป็นสมาชิกแต่อาจไม่ได้เป็นตามต้องการเพราะขาดคุณสมบัติ  การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกเป็นการมองทั้งระบบเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมกับสหกรณ์ได้
การรับสมัครสมาชิกสมทบ  คือ สมาชิกที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน  ควรมีเฉพาะสหกรณ์ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ได้  ไม่กระทบต่อการส่งเสริมประโยชน์ของสมาชิกปกติเป็นการเปิดโอกาสเพื่อให้บุคคลสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้  จากกรณีการกำหนดคุณสมบัติ
การเริ่มต้นหลักการแห่งความสมัครใจ  เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสหกรณ์ใช้ความสมัครใจนี้  เป็นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  กล่าวคือ  เมื่อสมัครใจเข้ามาย่อมเต็มใจเข้าประชุม  เต็มใจร่วมธุรกิจ  ยินดีรับผิดชอบ  ยินดีปฏิบัติตนตามระเบียบ  ภูมิใจในทรัพย์สินของสหกรณ์

หลักการที่  2  การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

 

สหกรณ์เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิกซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบาย  และการตัดสินใจ  บุรุษแสะสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อสมาชิก
ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน  (สมาชิกหนึ่งคน  หนึ่งเสียง)  สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นๆ  ก็ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย  จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารและการจัดการแทนสมาชิก  หลักการข้อนี้จึงมุ่งสร้างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและการเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีตลอดจนเปิดโอกาสและยอมรับให้ผู้อื่นเข้ามาทำหน้าที่บริหารแทนตน
หลักการนี้ส่งผลให้สหกรณ์ดำเนินงานตามเสียงส่วนใหญ่  สหกรณ์เป็นของสมาชิกมีระบบตัวแทน  มีการประชุมใหญ่ที่มีอำนาจสูงสุดในสหกรณ์  บุรุษและสตรีมีสิทธิเสรีภาพ  มีการควบคุมตรวจสอบโดยสมาชิก

หลักการที่  3  การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก

สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน (ซื้อหุ้น)  ในสหกรณ์ของตนอย่างเสมอภาคกันและมีส่วนในการควบคุมการใช้เงินทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย  ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยๆ  ส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์  โดยปกติสมาชิกจะได้รับผลตอบแทน  (ถ้ามี)  ในอัตราที่จำกัดตามเงินลงทุน  (หุ้น) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก  สมาชิกสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง  ดังนี้คือ
*เพื่อตอบแทนพัฒนาสหกรณ์  โดยอาจกันเงินสำรองซึ่งอย่างน้อย  จะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งปันกันไม่ได้
*เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธรกิจ  ที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์
*เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ  ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
เหตุผลที่สหกรณ์จะต้องจัดสรรเงินส่วนเกินในลักษณะดังกล่าวนี้ก็เพื่อเพิ่มทุนของสหกรณ์ให้มากขึ้น  เพื่อให้สหกรณ์พึ่งตนเองและมีความมั่นคง  เงินสำรองดังกล่าวนี้  ไม่สามารถจัดสรรให้กับมวลสมาชิกได้  เป็นเงินกองกลาง  ถ้าสหกรณ์มีอันต้องเลิกกิจการลงเงินสำรองนี้จะต้องโอนไปให้กับสหกรณ์อื่น  หรือโอนไปเป็นทุนสาธารณประโยชน์  สำหรับกำไรส่วนที่เหลือคืนสู่สมาชิกในรูปของเงินปันผลตามหุ้น  และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนของธุรกิจที่สมาชิกรายนั้นๆ  ทำไว้กับสหกรณ์  สมาชิกรายใดไม่ได้ทำธุรกิจสหกรณ์  เพียงเอาเงินมาถือหุ้นกับสหกรณ์ก็ได้รับเงินปันผลกลับคืนในอัตราที่เท่ากันและจำกัดส่วนสมาชิกรายนั้นๆ  ไป  ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ  กับสหกรณ์มากก็ได้รับเงินเฉลี่ยคืนกลับไปมาก  สมาชิกรายใดทำธุรกิจกับสหกรณ์น้อยก็ได้รับเงินเฉลี่ยคืนน้อย  สมาชิกรายใดไม่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ก็ไม่ได้รับเงินเฉลี่ยคืน  ได้รับเพียงเงินปันผลตามหุ้น
การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิกจึงแสดงถึง  การให้ความสำคัญแก่สมาชิกในฐานะที่เป็นทั้งเจ้าของทุนและเป็นผู้ใช้บริการด้วย  หลักการข้อนี้มุ่งสร้างพฤติกรรมให้เห็นคุณค่าของความร่วมมือเป็นสำคัญมากกว่าเงินกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ  มาจากการอดทนของสมาชิกที่ภักดีทำธุรกิจหรือใช้บริการของสหกรณ์  จึงควรได้รับส่วนเฉลี่ยคืนจากผลกำไรนั้น  สำหรับผลตอบแทนลงทุนก็ยังคงได้รับการจัดสรรในอัตราที่จำกัดอย่างเหมาะสม

หลักการที่  4  การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
สหกรณ์เป็นองค์กรที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง  โดยมีการควบคุมจากมวลสมาชิก  หากสหกรณ์  จะต้องมีข้อตกลงผูกพันกับองค์การอื่นใด  ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาลด้วย  หรือจะต้องเพิ่มเงินลงทุนโดยอาศัยแหล่งเงินทุนภายนอกสหกรณ์  สหกรณ์จะต้องกระทำการดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยและสหกรณ์ยังคงดำรงความเป็นอิสระ
การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ  เป็นผลต่อเนื่องจากหลักการสหกรณ์ข้อที่  2  การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย  จึงทำให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่พึ่งพาและปกครองตนเองโดยการควบคุมของมวลสมาชิกในที่ประชุมใหญ่  และในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์กรอื่นๆ  รวมถึงหน่วยงานของรัฐ  หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก  สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงไว้  ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย  และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์ไว้

หลักการที่  5   การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ
สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่สมาชิก  ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง  ผู้จัดการและ  เจ้าหน้าที่  เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิผลและพึงให้ข่าวสารแก่สาธารณชน  โดยเฉพาะเยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิดเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์
นักสหกรณ์ชาวเดนมาร์ค  ผู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาสหกรณ์ผู้หนึ่งกล่าวว่า “สหกรณ์ใดไม่มีโครงการให้การศึกษาอบรมสมาชิกอย่างต่อเนื่อง  สหกรณ์นั้นจะสิ้นสุดภายในชั่วอายุคนครึ่ง”  ซึ่งขยายความได้ว่าสหกรณ์นั้นจะเปลี่ยนเป็นองค์กรอื่นที่มิใช่สหกรณ์  หรือเป็นสหกรณ์แต่เพียงชื่อหรือป้ายที่ติดไว้เท่านั้น  นั่นแสดงให้เห็นว่าการให้การศึกษาอบรมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสืบทอดแนวความคิดทางสหกรณ์  หรือเผยแพร่ความรู้ทางสหกรณ์ให้กว้างขวางขึ้น  ขณะเดียวกันสหกรณ์ต้องแข่งขั้นกับธุรกิจอื่นๆ  ด้วย  จึงจำเป็นต้องพัฒนาคนในสหกรณ์ให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

หลักการข้อนี้  นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อสหกรณ์  เพราะจะเป็นหลักการที่ทำให้เกิดการปฏิบัติตามและการใช้หลักการข้ออื่นๆ  มีประสิทธิผล  หากสหกรณ์ใดละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอบรม  สมาชิกจะขาดความสนใจสหกรณ์และไม่เข้าใจหลักกากรที่ถูกต้องจะพากันละเลยต่อสหกรณ์  และในที่สุดการควบคุมภายในสหกรณ์ก็จะเปลี่ยนแปลงจากวิธีการประชาธิปไตย  มาเป็นการควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย  การศึกษาอบรมทางสหกรณ์เป็นการแสดงถึงคุณธรรมของสหกรณ์ที่ต้องการพัฒนาคนให้เป็นผู้ใฝ่รู้
การศึกษาฝึกอบรมและสารสนเทศมีความมุ่งหมายและเน้นกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้
–    การศึกษามุ่งให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่จะเป็นสมาชิกในอนาคต  มี
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสหกรณ์  รวมทั้งมีความสำนึก  และตระหลักในสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก  ให้ผู้มีจิตวิญญาณสหกรณ์
–    การฝึกอบรมมุ่งให้กรรมการ  ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์มีความรู้  ความสามารถ
และทักษะ  รวมทั้งความรับผิดชอบในบทบา  หน้าที่ของตน
–    ส่วนสารสนเทศนั้นมุ่งให้บุคคลทุกกลุ่ม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  สำหรับเยาวชนและผู้นำ
ด้านความคิดเป็น  เช่น  ผู้นำชุมชน  นักหนังสือพิมพ์  นักเขียน  ผู้นำองค์กร  พัฒนาชุมชน ฯลฯ  โดยเน้นการติดต่อสื่อสาร  2  ทาง (Two ways Communication)

หลักการที่  6  การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์จะสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด  และเสริมสร้างความเข้มแข็งในแก่สหกรณ์ได้โดยการร่วมมือกันในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น  ระดับชาติ  ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

การรวมมือกันระหว่างสหกรณ์  หมายความว่า  สหกรณ์ทุกประเภท  ทุกระดับต้องร่วมมือกันและช่วยเหลือกันและกันในทุกโอกาส  ซึ่งความร่วมมือระหว่างสหกรณ์นี้นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกขณะเพราะสหกรณ์ต้องเผชิญกับการแข่งขันของธุรกิจอื่นๆ  ด้วย  ดังนั้น  เพื่อความอยู่รอดของสหกรณ์สหกรณ์แต่ละประเภท  แต่ละระดับ  จึงจำเป็นต้องมีการพึ่งพิงกัน  เชื่อมโยงธุรกิจในระหว่างกันด้วยการร่วมมือระหว่างสหกรณ์นี้มีทั้งการร่วมมือกันในแนวราบ  คือ  การร่วมมือระหว่างสหกรณ์แต่ละสหกรณ์ด้วยกันและการร่วมมือกันในแนวดิ่ง  คือ  การร่วมมือระหว่าง  สหกรณ์กับชุมชนสหกรณ์ในระดับจังหวัด  ระดับชาติ  และความร่วมมือกันระหว่างประเทศ
ความร่วมมือกันนี้  แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี  มีเมตตา  พร้อมที่จะเกื้อหนุนซึ่งกันและกันแท้จริงการร่วมมือระหว่างสหกรณ์เป็นหลักการเดียวกันกับการร่วมมือระหว่างบุคคลธรรมดาในการจัดตั้งสหกรณ์นั่นเอง  ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดด้วยขนาด  มีอำนาจการต่อรองสูงขึ้น  และนำไปสู่การรับใช้สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น  วัตถุประสงค์สำคัญของการร่วมมือระหว่างสหกรณ์  คือ  เพื่อสหกรณ์สามารถอำนาจผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  เพราะฉะนั้นสหกรณ์ท้องถิ่นแต่ละสหกรณ์  และสหกรณ์ขั้นสูงต้องเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน  มีชีวิตชีวา (Viable & Sustainable)  และร่วมมือกันในลักษณะของ  “ระบบรวม”  หรือเป็นเอกภาพ

หลักการที่  7  การเอื้ออาทรต่อชุมชน
สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่างๆ  เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน  ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ  จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง  ไม่ปิดกั้นประโยชน์ไว้เฉพาะกลุ่ม  เฉพาะสมาชิกมีความสนใจชุมชน  สังคมรอบข้างและหาทางทำประโยชน์ให้กับชุ่มชนนั้นๆ ด้วย  โดยสหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิมาเป็นทุนสาธารณประโยชน์เพื่อทำประโยชน์ให้กับชุมชน  สิ่งแวดล้อม  พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

สหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม  และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่เพราะฉะนั้น  การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนนั้น ๆ  ซึ่งหมายความว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ  หรือเป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน  โดยไม่ทำลายโอกาส  ความสามารถ  และอนาคตของคนรุ่นหลัง  เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์เป็นสมาชิกของชุมชนนั้นเอง  สหกรณ์จึงควรมีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

วิธีการสหกรณ์


วิธีการสหกรณ์เป็นการรวมคนที่มีอุดมการณ์สหกรณ์มาทำธุรกิจร่วมกันตามหลักการ สหกรณ์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก  โดยบุคคลที่มารวมกันนั้นจะต้องช่วยตนเองได้ (โดยการขยัน  ประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุขทั้งหลาย)  และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  นี้เองเป็นพฤติกรรมที่สำคัญยิ่งที่จะนำกลุ่มคนที่พอมีกำลังช่วยตนเองได้  และมารวมกลุ่มกันนั้นประสบความสำเร็จ  พฤติกรรมที่สำคัญของการรวมกันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จอาจแยกได้ 2 ประการ คือ  พฤติกรรมร่วมแรง  โดยการเอาแรงกาย  แรงทรัพย์  และแรงความคิดมาร่วมกันทำธุรกิจ  พฤติกรรมทั้ง 2 ลักษณะมีรายละเอียดดังนี้
การร่วมแรงกันในสหกรณ์  เป็นการรวมแรงกาย  คือ  การรวมคนที่เป็นสมาชิกเข้ามาทำธุรกิจร่วมกัน  ความสำเร็จของสหกรณ์มิใช่อยู่ที่จำนวนสมาชิก  แต่อยู่ที่คุณภาพของสมาชิกว่ามีความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติของสหกรณ์มาก น้อยเพียงใด  และที่สำคัญมีอุดมการณ์สหกรณ์มั่นคงเพียงใดเมื่อรวมคนเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว  สมาชิกแต่ละคนต้องร่วมกันถือหุ้นในสหกรณ์  การถือหุ้นในสหกรณ์นั้นเป็นการเอาแรงทรัพย์มารวมกัน  แต่สหกรณ์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินมากนัก  แต่มุ่งเน้นไปที่การรวมคนการเอาทรัพย์มารวมกันนี้  ในระยะแรกเงินนี้อาจจะน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกสหกรณ์   จึงต้องพึ่งเงินทุนจากภายนอกโดยการกู้ยืมมาดำเนินธุรกิจก่อน  แล้วค่อยๆ สะสมทรัพย์ขึ้นไปตามลดับ  โดยกำหนดให้สมาชิกต้องถือหุ้นเพิ่มเป็นประจำทุกปี  นอกจากนี้ยังเก็บสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิของสหกรณ์ที่เกิดจากการดำเนิน ธุรกิจแต่ละปี  นอกจากการรวมแรงคนแรงทรัพย์แล้วทุกคนที่มารวมกันเป็นสหกรณ์จะต้องเอาแรงความ คิดมาร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ  โดยการแสดงความคิดเห็น  เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแรงความคิดในสหกรณ์นี้เป็น เรื่องที่มีความสำคัญ  สหกรณ์จึงต้องจัดการให้ความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับสหกรณ์และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์แก่สมาชิกเป็นประจำในรูปของการ เผยแพร่ข่าวสารทางสหกรณ์การจัดประชุมและการให้การศึกษาอบรม ทั้งนี้เพราะเมื่อสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจสหกรณ์ตลอดจนวิธีการดำเนิน ธุรกิจของสหกรณ์แล้ว  การร่วมแรงทำธุรกิจจะเป็นไปได้โดยง่ายและเกิดความร่วมมือ
แต่ความสำเร็จของสหกรณ์ไม่ได้อยู่ที่การร่วมแรงเพียงด้านเดียว  ทั้งนี้เพราะสมาชิกที่มารวมกันเป็นสหกรณ์นั้น  ต่างจิต  ต่างใจกัน  มีความแตกต่างกันในความคิด  การกระทำ  และความรู้สึกดังนั้นการที่จะมาอยู่ร่วมกัน  และร่วมมือกันดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าทีความมั่นคงได้นั้น  ต้องมีพฤติกรรมของการร่วมใจกัน  ให้มีคามรู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนกัน  หรือเป็นพี่น้องกัน  หรืออยู่ร่วมกัน  เหมือนสามีภรรยากาน  การอยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นคงและยืนยาวนั้น  ควรมีคุณลักษณะนิสัย  ดังนี้ 1. ต้องมีความซื่อสัตย์  2. ต้องมีความเสียสละ  3. ต้องมีความสามัคคี  4. ต้องมีวินัย

 สหกรณ์จึงต้องมีกิจกรรมที่มุ่งสร้างพฤติกรรมของการร่วมใจขึ้น  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้
ความซื่อสัตย์    ที่ต้องแสดงต่อกันนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ความจริงใจต่อกัน
ความเสียสละ คือ  ความมีน้ำใจ  ที่จะสละความสุขส่วนตัวของตนให้แก่ผู้อื่น
ความสามัคคี  คือ  ความปรองดองระหว่างกันและกัน  รู้จักให้อภัยกันและกัน
ความมีวินัย  วินัย  คือ  ระเบียบข้อบังคับ  มารยาท  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีของสังคมนั้นๆ
1.    การเข้าเป็นสมาชิก  ดำเนินการโดยบุคคลสมัครใจ  ตัดสินด้วยคณะกรรมการ
การดำเนินการตามหลักการประชาธิปไตย  เมื่อผ่านกระบวนการจะต้องถือหุ้นอันเป็นการรวมทุน   จึงได้สิทธิแห่งการเป็นสมาชิก
2.    ร่วมกิจการกับสหกรณ์  โดยสมาชิกที่เป็นสมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมตามวิธีหน้าที่  ใช้
หลักประชาธิปไตยในการประชุม  เลือกตั้งตัวแทนเป็นคณะกรรมการดำเนินการ  ออกนโยบายของสหกรณ์ในที่ประชุมใหญ่ดำเนินกิจการตามนโยบาย  สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจการนั้น  ตามหลักการมีส่วนร่วม  เมื่อมีสภาพปัญหาหรือต้องการพัฒนาจะให้หลักการศึกษาอบรมข้อมูลข่าวสาร
3.    รับผิดชอบ  เป็นผลของการร่วมกิจการในข้อ 2 หากกระทำสิ่งใดลงไปแล้วต้อง
รับผิดชอบ  เช่น  ร่วมธุรกิจสินเชื่อโดยการกู้เงินสหกรณ์  ต้องรับผิดชอบส่งชำระคืน  หากไม่ชำระคืนต้องยอมรับการดำเนินการทางกฎหมาย  การรับผิดชอบคือ  การรับผลประโยชน์แบ่งปันจากการร่วมกิจการ  ทั้งส่วนรวมและส่วนรายคนในรูปของตัวเงิน  หรือการรับบริการ  รวมไปถึงการแบ่งปันตามชอบให้กับชุ่มชนตามหลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน

แผนภาพที่  3  แผนผังแสดงวิธีการสหกรณ์

หากบุคคลในสหกรณ์นี้มีคุณธรรมเพื่อส่วนรวมจะมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของสหกรณ์คือ

หากบุคคลในสหกรณ์นี้มีคุณธรรมเพื่อส่วนรวมจะมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของสหกรณ์คือ

หลักคิดข้อนี้  คือ    คุณธรรมนำสหกรณ์ สังคมแผ่นดินธรรมนำซึ่งความเจริญ อย่างมั่นคงยั่งยืน    ซึ่งหมายถึงเป้าหมายแห่งสังคมสหกรณ์ทั้ง   3   ข้อนี้  เทียบเคียงได้กับกระบวนการสอนหลักธรรมของพุทธศาสนาที่กำหนดว่า

                                       

หากตอบข้อ 2 ว่า  บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เรื่องสหกรณ์       =   มีความรู้
หากตอบข้อ 3  ว่า  บุคคลที่เกี่ยวข้องมีคุณธรรม           =   คู่คุณธรรม
หากตอบข้อ  1  ว่า  สหกรณ์ดี                               =   นำความสำเร็จ
แต่หากไม่ได้คำตอบดังกล่าว     บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องแสวงหาวิธีการสร้างความรู้  สร้างคุณธรรม    เพื่อนำสู่ความสำเร็จของสหกรณ์นี้  โดยไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันร่วมมือเพราะสหกรณ์แห่งนี้เป็นของทุกคน
เป็นสมาชิกสหกรณ์เมื่อไหร่             ไม่ใช้ข้อกล่าวอ้างต่อความไม่รู้เรื่องสหกรณ์
เป็นตำแหน่งใดก็ตาม                      ไม่ใช่ข้อยกเวนต่อการมีคุณธรรมสหกรณ์
เมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งของสหกรณ์      คุณคือคนสำคัญต่อความสำเร็จของสหกรณ์
หมายถึงคุณต้องรู้  ต้องเข้าใจ  ปฏิบัติตนใน
สหกรณ์อย่างมีคุณธรรมเพื่อส่วนรวม