การทำบัญชีครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาของบัญชีครัวเรือน
การบัญชีเป็นภาษาทางธุรกิจ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษานี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเหตุการณ์ทาง  เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามปกติในทุกๆ วัน โดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเมื่อใช้ในการบัญชี  ดังเช่นเราจะได้ยินคำศัพท์  เช่น  สินทรัพย์ หนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ  รายได้  ค่าใช้จ่าย  และกำไรขาดทุน  เป็นต้น  การบัญชีจึงเป็นกิจกรรมของการให้บริการซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับรายการทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ

วิวัฒนาการบัญชี
การบันทึกข้อมูลทางการบัญชีได้ทำกันมานานแล้ว  ไม่น้อยกว่า 5 พันปี โดย จากหลักฐาน ที่ปรากฏการจดบันทึกข้อมูลและการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียว มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจ คือ
1.    สมัยอียิปต์  มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชี  เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ  ในท้องพระคลัง
2.    สมัยบาปิโลน มีการบันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับ  โดยมีการระบุวันที่รับ  ชื่อผู้รับ  และชื่อผู้ให้
3.    สมัยกรีก  มีการพัฒนาปรับปรุงในเรื่องของข้อมูลในการรับและจ่ายประจำงวดตลอดจนการคำนวณหายอดคงเหลือ
4.    ต้นงวดปลายงวด  เพื่อต้องการทราบจำนวนทรัพย์สินมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการคำนวณผลกำไร
5.    สมัยโรมัน  มีการบันทึกทางการบัญชีเกขึ้น  ในลักษณะของการบันทึก 2 ด้าน  เหมือนกับหลักบัญชีคู่เพราะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นว่ารับมากจากใคร  และ จ่ายให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่ พัฒนาการทางด้านบัญชี  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่  การบัญชีแพร่หลายในยุโรปสมัยกลาง ของประวัติศาสตร์ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และ ความจำเป็นของระบบขุนนาง หรือ ศักดินา ในขณะนั้น  ในสมัยต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจเป็นระบบคฤหาสน์  การบัญชีจำเป็นต้องขยายตัว ให้เยงพอกับความต้องการ และ ความจำเป็นของระบบนั้นด้วย  ระบบบัญชีคู่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นผลเนื่องมาจากขยายตัวทางด้านการหัตถกรรมและพานิชยกรรม  ความต้องการให้มีการบันทึกการจัดหมวดหมู่รายการตลอดจนการเสนอผลสรุปของการค้าที่ขยายตัวขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นมาแต่ก่อน

การบัญชีในประเทศไทย
เริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปี  พ.ศ. 2193 – 2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศยุโรปคือ อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และโปรตุเกสเป็นต้น  บัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรก  คือบัญชีเงินสด  และได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีเงินพระคลังเป็นหมวดหมู่  และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากัน  เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นกัน  กล่าวคือในปี  พ.ศ. 2482  พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้า  ให้บรรจุเรื่องการบัญชีเป็นสาขาหนึ่งใน 8 อย่างของชั้นประโยค 2 ซึ่งเป็นชั้นเรียนสูงสุดของการเรียนสมัยนั้น  แต่เป็นเพียงการทำบัญชีเกี่ยวกับ การเงินเท่านั้น  ยังไม่ใช่หลักการบัญชีคู่ที่แท้จริง  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยราชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการ ส่งไปเรียนด้านพาณิชย์และบัญชีที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุการณ์ข้างตันนี้ ทำให้การบัญชีของไทย สมัยนั้นเป็นแบบอังกฤษ  นอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น 2 แห่ง  คือ  โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา  และโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้า  โดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง 3 เล่น  คือ  สมุดบัญชีเงินสด  สมุดรายวัน  และสมุดแยกประเภท  ในปี พ.ศ. 2481  ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์ และ การบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ออกกฎหมายพระราชบัญญัติบัญชีขึ้น  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการคือ
1.    เพื่อให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจต่างๆ  มีแนวทางแบบเดียวกัน.
2.    เพื่อคุ้มครองประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้เกี่ยวข้อง
3.    เพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บ

 
บัญชีครัวเรือน ( Home Accounting )กับเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรา เรืองสินภิญญา

“บัญชีครัวเรือน” เป็นการประยุกต์ทางการบัญชีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้จัดทาบัญชีครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และในที่สุดจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน จากรายงานการวิจัยหลายฉบับได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของการจัดทาบัญชีครัวเรือน แต่พบว่าบุคคลส่วนใหญ่ยังคงไม่มีการจัดทา เอกสารนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการจัดทาบัญชีครัวเรือน อันจะเป็นผลให้มีการจัดทาบัญชีครัวเรือนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก “บัญชีครัวเรือน” เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงขอกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อน
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ดังนี้
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550, หน้า 45) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (self-sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตัวเองให้ดีเสียก่อน คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วเพียงอย่างเดียว
ประเวศ วะสี (2550, หน้า 5) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน คือ 1) พอเพียงสาหรับทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทอดทิ้งกัน 2) จิตใจพอเพียง ทาให้รักและเอื้ออาทรคนอื่นได้ คนที่ไม่พอจะรักคนอื่นไม่เป็น และทาลายมาก 3) สิ่งแวดล้อมพอเพียง การอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ทาให้ยังชีพและทามาหากินได้ เช่น การทาเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้ทั้งอาหารได้ทั้งสิ่งแวดล้อม และได้ทั้งเงิน 4) ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง การรวมตัวกันเป็นชุมชนเข้มแข็งจะทาให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาความยากจน หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม 5) ปัญญาพอเพียง มีการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติ และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง 6) อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ดังนั้น เศรษฐกิจจึงควรสัมพันธ์และเติบโตขึ้นจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม จึงจะมั่นคง และ 7) มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจนเดี๋ยวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกินไม่มีใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหวต่อความผันผวนที่เร็วเกิน จึงสุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รุนแรง ฆ่าตัวตาย ติดยา เศรษฐกิจพอเพียงที่มั่นคงจึงทาให้สุขภาพจิตดี
สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง เมื่อทาอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควร มีเหตุมีผล และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง โดยอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง
รงค์ ประพันธ์พงศ์ (2550, หน้า 34) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นทางสายกลาง หรือแบบมัชฌิมาปฏิปทาตามหลักพุทธศาสนา คำนิยามเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่เป็นห่วงสอดร้อยประสานกันเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติได้แก่
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
นอกจากคุณลักษณะ 3 ห่วงดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การกำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน นั่นคือเงื่อนไขต่อไปนี้
ก. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
ข. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ความหมายของบัญชีครัวเรือน
บัญชีครัวเรือน (home accounting) เป็นการนาการบัญชีมาประยุกต์เพื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นบัญชีที่ใช้สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่าย รายได้และรายจ่ายที่บันทึกอาจเป็นรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล หรือรายได้และรายจ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิตของธุรกิจขนาดย่อม เพื่อที่จะทาให้ผู้ประกอบกิจการทราบถึงผลกาไรหรือขาดทุนจากการประกอบธุรกิจนั้น โดยในเอกสารนี้จะกล่าวถึงการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายที่เป็นของส่วนบุคคลหรือครอบครัว ทั้งนี้ข้อมูลรายได้และรายจ่ายที่ได้จากการบันทึกจะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ความเกี่ยวข้องระหว่างบัญชีครัวเรือนและเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนจะสามารถทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว จึงสามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ เกิดความพอประมาณในการใช้จ่าย สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน เป็นผลให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากเกิดการตกงานหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถหารายได้มาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้การบันทึกบัญชีครัวเรือน จึงสามารถทำให้ผู้บันทึกเกิดคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ
1. ความพอประมาณในการใช้จ่าย
2. มีเหตุมีผลในการตัดสินใจใช้จ่าย ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
3. ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งเป็นไปตามคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการในองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงโดยอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ
ก. ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้บันทึกไว้
ข. คุณธรรม คือการดำเนินชีวิตด้วยความขยันอดทน และใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต ผู้บันทึกบัญชีครัวเรือนสามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง โดยเมื่อทำอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควรและมีเหตุมีผล ประโยชน์ที่ได้รับจากการบันทึกบัญชีครัวเรือนดังกล่าวข้างต้น ให้ผลสอดคล้องกับความหมาย คุณสมบัติและเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง จึงถือได้ว่าบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกนามาใช้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

บัญชีครัวเรือนกับชีวิตประจำวัน
การดำเนินชีวิตประจาวันย่อมมีรายรับและรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รายรับได้มาจากการทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งจากอาชีพหลักและอาชีพรอง ส่วนรายจ่ายก็ได้แก่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่ ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีจานวนเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด และไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง บัญชีครัวเรือนเป็นบัญชีที่สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันของเราว่าในแต่ละวันเรามีรายได้เข้ามา แล้วจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปเท่าไร ปัจจุบันยอดเงินคงเหลือมีเท่าไร ทำให้เกิดการวางแผนการใช้จ่ายต่อไปอย่างรอบคอบ ใช้จ่ายอย่างพอเพียงเท่าที่มีอย่างระมัดระวัง

วัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีครัวเรือน ก็เพื่อให้ผู้บันทึก
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินกว่าเงินคงเหลือ เนื่องจากทุกครั้งที่บันทึกบัญชีจะทราบถึงยอดเงินคงเหลือของตน
2. ทราบถึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว ทั้งรายละเอียดและภาพรวม
3. เมื่อผู้บันทึกทาการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตนที่ได้บันทึกไว้แล้ว จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ผลการวิจัยที่ได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน ดังนี้
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิต ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้
อ.เมือง จ.สาพูน” พบว่า ผลการบันทึกบัญชีทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเป็นกาลังใจในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวมากขึ้น
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” พบว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ชุมชนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินออมมากขึ้น
การวิจัยของชนิตา โชติเสถียรกุล (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครองนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่” พบว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์สูงสุดในด้านที่ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และมีเงินออมเพิ่มขึ้น
และจากการวิจัยของศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา” พบว่า หลังการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายลดลง มีหนี้สินลดลง และมีเงินออมเพิ่มขึ้น ผู้จดบันทึกสามารถนาข้อมูลที่จดบันทึกมาบริหารจัดการในการควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้

 

สรุปได้ว่า เมื่อผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนทำการบันทึกบัญชี จะทราบยอดคงเหลือของเงินที่เป็นปัจจุบัน และสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตน เป็นผลให้
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ยังคงเหลืออยู่ได้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ไม่ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้
2. สามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้ ตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
3. หาหนทางในการเพิ่มรายได้
4. มีเงินออมเพิ่มขึ้น และ
5. ทำให้หนี้สินลดลง
การทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เราทราบว่าในแต่ละเดือน ครอบครัวมีรายรับ-รายจ่ายอะไรบ้าง คนเราส่วนมากมักจะหลงลืม(ไม่สนใจที่จะจดจำ) เวลาใช้จ่ายเงินออกไปหรือรับเงินเข้ามา  พอเวลาผ่านไป 2-3 วันก็ลืมแล้ว ดังนั้น บัญชีครัวเรือนจะช่วยเตือนความจำให้เรารู้ถึงการใช้จ่ายเงิน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้
1.    เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง
2.    ง่ายต่อการตรวจสอบ
3.    เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ
4.    ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจการ
5.    สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน
6.    ทำให้ทราบฐานะของกิจการ
7.    เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกเวลา

บัญชีครัวเรือน วิธีง่าย ๆในการวางแผนการเงินและแก้ไขปัญหาหนี้สิน
จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต

การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว   ชุมชน รวมถึงประเทศ  ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีต ปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัวในประเทศได้ หากประชาชนทุกคนจดบันทึกจะมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ และประเทศเรียนรู้การเรียนรู้เป็นที่มาของปัญญา  ปัญญาเป็นที่มาของความเจริญทั้งกาย สังคม ใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์จะเห็นว่า การทำบัญชี หรือการจดบันทึกนี้สำคัญยิ่งใหญ่มาก บุคคลสำคัญในประเทศหลายท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการจดบันทึก เช่น ท่านพุทธทาส   ในหลวง และสมเด็จพระเทพ  ล้วนเป็นนักบันทึกทั้งสิ้น  การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนย่อมมีการคิด เมื่อมีการคิดย่อมก่อปัญญา แก้ไขปัญหาได้โดยใช้เหตุผลวิเคราะห์พิจารณา ได้ถูกต้อง นั่นคือ ทางเจริญของมนุษย์

 

การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือ การบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำกัน นั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันประจำเดือนว่า   มีรายรับจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า ตนเองและครอบครัวทีรายรับเท่าใด รายจ่ายเท่าใด คงเหลือเท่าใด หรือ เงินไม่พอใช้เท่าใด  คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ และสำรวจว่ารายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลด ละ เลิก เช่น  ซื้อบุหรี่  ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น เมื่อนำรายรับ รายจ่าย มาบวกลบกันแล้วขาดดุลเกินดุลไปเท่าใด  เมื่อเห็นตัวเลข จะทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งไม่จำเป็นนั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่  เลิกได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว   ชุมชน และประเทศ  หากเราวางแผนการรับการจ่ายเงินของตนเองได้ เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องรายรับรายจ่าย ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง  เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม พอดี สอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็นเอกภาพและดุลยภาพอยู่เสมอ

การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้
1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน
รายรับ หรือ รายได้  คือ  เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือจากเงินให้กู้ยืมรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย  คือ  คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทนกลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคือสินค้าหรือบริการก็ได้ เช่นเงินบริจาคเพื่อการกุศล เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
หนี้สิน  คือ  ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่  หนี้สินเป็นเงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน  การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆการซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซื้อสินทรัพย์เป็นเงินผ่อนชำระหรือการเช่าซื้อเป็นต้น
เงินคงเหลือ  คือ  เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏรายรับมากกว่ารายจ่ายจะทำให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หากหลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบหรือทางบัญชีเรียกว่าขาดทุนนั่นเอง

 

2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมดจึงนับว่ามีประโยชน์มาก

 

ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ
1. ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก   ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด
2. การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

 

การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
1.  การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2.  การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย    ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น
3.  การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า  การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น

4.  การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด  รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ   ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงิน กระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารแสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

จดบันทึกสำคัญกับการวางแผนเพื่ออนาคตอย่างไร
การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้พียงพอโดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น  และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้น  และดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น  ตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไข

 

ปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงิน หรือ ปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่าย
เกี่ยวกับการพนัน  สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง  เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด  อดออม  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น  การปลูกผัก  ผลไม้ไว้รับประทานเอง  เพื่อช่วยลดค่าอาหาร  และค่าเดินทางไปตลาด  อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์  เป็นต้น
3. การเพิ่มรายรับ  หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ  เช่น  การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บ
เสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผักหรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น
4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด  รู้จักอดออม
การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน