ตัวอย่าง ระเบียบโรงเรียนบ้านบัวเทียม
ว่าด้วยข้อบังคับการจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน พ.ศ. 25…..
——————————————–
ด้วยโรงเรียนบ้านบัวเทียม ได้มีโครงการสหกรณ์ร้านค้า เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสหกรณ์ เป็นการเตรียมตัวเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ดีต่อไป
ฉะนั้น อาศัยความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2511 โรงเรียนบ้านบัวเทียม จึงวางระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนไว้ดังนี้
ข้อ 1 ชื่อ สถานที่ รูปแบบ
ชื่อ “สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนบ้านบัวเทียม”
สถานที่ตั้ง โรงเรียนบ้านบัวเทียม ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 34280.
รูปแบบ เป็นสหกรณ์ร้านค้า จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด เครื่องเขียนแบบเรียน
ข้อ 2 วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเป็นแหล่งเรียนรู้
2. ส่งเสริมการประหยัด การรู้จักออม และใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น
3. จัดหาทุนพัฒนาโรงเรียนและเพื่อขยายผลการจัดกิจกรรมสหกรณ์ไปสู่ชุมชน
ข้อ 3 สมาชิกกิจกรรมสหกรณ์ ประกอบด้วย
1. นักเรียน
2. ครูทุกคนและนักการภารโรง
ข้อ 4 การสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์
สมัครเป็นสมาชิก ฟรี ทุกต้นภาคเรียนของแต่ละปีการศึกษา
ข้อ 5 การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
1. ตาย
2. ลาออก
3. ย้ายออกหรือจบการศึกษาของโรงเรียน
ข้อ 6 หุ้นและการถือหุ้น
มูลค่า หุ้นละ 5 บาท สมาชิกต้องถือหุ้นอย่างน้อย คนละ 1 หุ้น แต่ไม่เกิน 50 หุ้น โดยสมาชิกต้องชำระค่าหุ้นเมื่อแรกสมัครครั้งเดียวหรือผ่อนชำระไม่เกิน 5 วัน
ข้อ 7 การโอนและการคืนหุ้น
1. การโอนหุ้นที่ถือครองต้องแจ้งคณะกรรมการดำเนินการก่อนทุกครั้ง
2. การคืนหุ้น สมาชิกสามารถขอรับคืนได้ในวันสิ้นภาคเรียนที่ 2 ของทุกปี(30 มีนาคม)และถ้าเกินกำหนดภายใน 15 วันถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ 8 การจัดสรรเงินผลกำไร ในวันสิ้นปีทางบัญชี ถือเอาวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี โดยให้คณะกรรมการดำเนินการจัดทำบัญชีงบดุลรายการ ดังนี้
1. จ่ายเป็นเงินปันผลไม่เกินร้อยละ 20
2. จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืน ไม่เกินร้อยละ 10
3. จ่ายโบนัสกรรมการ ร้อยละ 20 และจ่ายค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการ ร้อยละ 5
4. จ่ายเป็นเงินบำรุงสถานศึกษา ร้อยละ 20
5. ที่เหลือเป็นหุ้นสหกรณ์
ข้อ 9 การประชุมใหญ่
ให้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ข้อ 10 คณะกรรมการดำเนินการ
1. ได้จากการคัดเลือกนักเรียนที่เป็นสมาชิก มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และที่ประชุมใหญ่มีมติเห็นชอบ จำนวน 15 คน ให้คณะกรรมการฯ ดำรงในตำแหน่งเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
2. ให้คณะกรรมการเลือกประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการและกรรมการฝ่ายต่าง ๆ กันเอง และให้มีครูผู้ดูแลโครงการ เป็นกรรมการผู้จัดการและนายทะเบียน
ข้อ 11 หน้าที่คณะกรรมการดำเนินการ
1. จัดประชุมใหญ่ จัดประชาสัมพันธ์งาน/กิจกรรมต่างๆ
2. พิจารณาคุณสมบัติผู้ถือหุ้น ผู้สมัครเข้าใหม่
3. จัดทำบัญชีรายรับ-จ่ายและตรวจสอบความถูกต้องทุกวัน
4. จัดสรรเงินกำไร ปันผล เฉลี่ยคืน
5. ตรวจ ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ภายในสหกรณ์
6. ขายสินค้าตามตารางที่กำหนด และรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นในแต่ละเวรฯ
ข้อ 12 คณะกรรมที่ปรึกษา ประกอบด้วย
1. ผู้บริหารโรงเรียน เป็นประธาน
2. คณะครู จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ
4. ครูเป็นกรรมการผู้จัดการ เป็นเลขานุการ
5.
ข้อ 13 เรื่องอื่น ๆ
เรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ถือมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 25…….
(ลงชื่อ)
(…………………………………)
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบัวเทียม
ตัวอย่าง
ข้อบังคับร้านสหกรณ์
โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
พ.ศ.25…..
พ.ศ. 25…
ระเบียบ สหกรณ์ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา ดังนี้
ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา พ.ศ.25…”
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 25….. เป็นต้นไป
ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
พ.ศ. 25…….
…………………………………………………………………………………………………….
หมวด 1
ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน
ข้อ 1 ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน
ชื่อ ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
ประเภท สหกรณ์ร้านค้า
ที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 124 หมู่ที่ 1 ถนน – ตำบลคึมใหญ่
อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
วัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการ
ข้อ 2 วัตถุประสงค์ สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1) ทำหรือจัดหาสิ่งของที่สมาชิก และหน่วยงานภายในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยาต้องการมาจำหน่ายและอำนวยบริการแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไปตามที่เห็นสมควร
(2) จัดหาทุนเพื่อกิจการของสหกรณ์
(3) ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(4) ส่งเส ริมการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก
(5) ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก
(6) ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น ชุมนุมสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
ข้อ 3 อำนาจกระทำการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก ครูหรือนักเรียน
(2) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกของสหกรณ์
(3) ซื้อ-จำหน่ายสินค้าของสมาชิกและหรือสหกรณ์อื่น
(4) ให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกของสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(5) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
(6) ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
(7) กระทำการต่างๆ ตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น รวมถึง ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิครอบครอง กู้ยืม เช่าหรือให้เช่า เช่าซื้อหรือให้เช่าซื้อ โอนหรือรับโอน สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ ขายหรือจำหน่าย จำนองหรือรับจำนอง จำนำหรือรับจำนำ ด้วยวิธีอื่นใด ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก
หมวด 3
ทุน
ข้อ 4 ที่มาของทุน สหกรณ์อาจหาทุนเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) ออกหุ้น
(2) โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง
(3) รับบริจาค และทุนอื่น ๆ
(4) รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้
หุ้น
ข้อ 5 การออกหุ้น สหกรณ์ออกหุ้นในระยะก่อตั้งนักเรียนคนละ 1 หุ้นและครูและบุคลากรทางการศึกษา คนละ 10 หุ้น ได้โดยมีมูลค่าหุ้นละสิบบาทและหรือเพิ่มหุ้นภายหลัง
ข้อ 6 การถือหุ้น สมาชิกแต่ละคนต้องถือหุ้นในสหกรณ์เมื่อแรกเข้าตามที่ระบุไว้ในใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ถ้าสมาชิกประสงค์จะถือหุ้นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใดก็ย่อมทำได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ แต่จำนวนหุ้นทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด
สมาชิกจะโอนหุ้นในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิก(สภาพความเป็นนักเรียน)อยู่ไม่ได้ นอกจากที่กล่าวในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกจะสิ้นสุด สหกรณ์ไม่ต้องส่งเงินค่าหุ้นของสมาชิกเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกนั้น
ข้อ 7 การชำระค่าหุ้น การชำระค่าหุ้นให้ชำระคราวเดียวครบมูลค่าหุ้นที่ขอถือหรือเมื่อให้ถือหุ้นเพิ่ม
ข้อ 8 การแจ้งยอดจำนวนหุ้น สหกรณ์จะแจ้งยอดจำนวนหุ้นที่สมาชิกชำระเต็มมูลค่าแล้วให้สมาชิกแต่ละคนทราบทุกสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
หมวด 4
การดำเนินงาน
ข้อ 9 การดำเนินงาน การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องบริการสมาชิกโดยไม่หวังผลกำไรในการรวมกันผลิต รวมกันซื้อ รวมกันขาย รวมกันแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ช่วยเหลือตนเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเป็นหลัก
ให้คณะกรรมการ ดำเนินงานต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการสหกรณ์ซึ่งต้องกำหนดไว้เป็นระเบียบเป็นเรื่อง ๆ ไป
การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
ข้อ 10 การจัดหาสินค้า ให้ผู้จัดการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายโดยให้ได้ราคาย่อมเยา ให้มีประเภท ชนิด และคุณภาพ ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของสมาชิกและกิจการของโรงเรียน
ข้อ 11 การกำหนดราคาสินค้า ให้ผู้จัดการเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าในการจำหน่าย และอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการดำเนินการ โดยคำนึงถึงราคาตลาดและความเหมาะสม กับให้จดแจ้งราคาสินค้าแต่ละอย่างไว้ให้ชัดเจน
ข้อ 12 การขายสินค้า สหกรณ์จะขายสินค้าให้แก่สมาชิกด้วยเงินสด ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษอาจมีการขายเชื่อได้ ตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 13 การช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก สหกรณ์อาจช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก หรือให้มีบริการอื่นใดได้ตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 14 การรวบรวมจำนวนเงินชื้อสินค้าหรือบริการของสมาชิก ในการขายสินค้าหรือบริการให้แก่สมาชิก สหกรณ์จะรวบรวมจำนวนเงินซื้อสินค้าหรือบริการของสมาชิกแต่ละคนไว้ในระบบการขายด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออาจให้สมาชิกแต่ละคนรวบรวมไว้ก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณการจ่ายเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนซื้อสินค้าหรือบริการเมื่อสิ้นปี
สหกรณ์จะไม่คิดเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนซื้อหรือบริการให้แก่สมาชิก ในกรณีที่เป็นสินค้าหรือบริการซึ่งสหกรณ์จัดหามาจำหน่ายหรือบริการแก่สมาชิกในราคาควบคุมของทางราชการ หรือสินค้าหรือบริการซึ่งสหกรณ์จัดหามาจำหน่ายหรือบริการในราคาพิเศษเพื่อเป็นการบริการแก่สมาชิก หรือในกรณีที่สมาชิกซื้อสินค้าหรือบริการจากสหกรณ์เพื่อนำไปจำหน่ายหรือบริการอีกต่อหนึ่ง แต่สหกรณ์อาจคิดราคาโดยลดหย่อนหรือให้ส่วนลดตามสมควร
การเงินและการบัญชีของสหกรณ์
ข้อ 15 การเงินของสหกรณ์ การรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 16 การบัญชีของสหกรณ์ สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้
ให้บันทึกรายการในบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสดของสหกรณ์ในวันที่ทำการจำซื้อ-จำหน่ายสินค้าให้เป็นปัจจุบัน ให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีสรุปยอดรายจ่าย-ซื้อในรอบสัปดาห์ และการลงบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน
ให้สหกรณ์จัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบปีบัญชีของสหกรณ์ ซึ่งต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ ทั้งบัญชีกำไรขาดทุนตามแบบของสหกรณ์กำหนด
วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
ข้อ 17 การเสนองบดุลต่อที่ประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ด้วยในคราวที่เสนองบดุล และให้ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลภายในสามสิบวันต่อที่ประชุมใหญ่
ให้สหกรณ์รายงานการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิก หรือทะเบียนหุ้นต่อที่ประชุมประจำเดือน หรือสมาชิกอาจขอตรวจดูเอกสารดังกล่าวได้ ณ สำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงานแต่จะดูบัญชีหรือทะเบียนเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น หรือเงินฝากของสมาชิกรายอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของสมาชิกนั้น และได้รับอนุญาตจากผู้จัดการก่อน
การตรวจสอบบัญชีและการกำกับดูแลสหกรณ์
ข้อ 18 การตรวจสอบบัญชี บัญชีของสหกรณ์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามระเบียบสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนคึมใหญ่วิทยากำหนด โดยคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการโรงเรียน
ข้อ 19 การกำกับดูแลสหกรณ์ โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ หรือมอบหมายรองผู้อำนวยการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับตรวจสอบให้สหกรณ์คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ คณะกรรมการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องตามความในวรรคแรกอำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือและให้คำชี้แจงแก่ผู้ปฏิบัติการตรวจสอบตามความเป็นจริง
กำไรสุทธิประจำปี
ข้อ 20 การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี เมื่อสิ้นปีทางบัญชีและได้ปิดบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้ว ปรากฏว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ และเป็นการคำนวณต้นทุนสำรองของคณะกรรมการดำเนินการในปีนั้นๆกำหนด
กำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรรตามความในวรรคก่อนนั้น ที่ประชุมใหญ่อาจจะจัดสรรได้ดังต่อไปนี้
(1) เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนที่ดำเนินการธุรกิจการซื้อ-จำหน่ายที่สมาชิกทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปี การจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้จ่ายไม่เกินอัตราร้อยละของกำไรสุทธิต่อยอดขายในปีนั้น
(2) เป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วให้แก่สมาชิก ในอัตราเงินปันผลตามที่คณะกรรมการดำเนินการได้คำนวณต้นทุน กำไรทางธุรกิจจากจำนวนเงินปันผลทั้งสิ้นที่จ่ายสำหรับปีนั้น
ในการคำนวณเงินปันผลตามหุ้น ให้ถือว่าหุ้นที่สมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ภายในวันที่ห้าของเดือนมีระยะเวลาสำหรับคำนวณเงินปันผลตั้งแต่เดือนนั้น ส่วนหุ้นที่สมาชิกชำระต่อสหกรณ์หลังวันที่ห้าของเดือน สหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้ตั้งแต่เดือนถัดไป
(3) เป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ไม่เกินร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ
(4) เป็นทุนสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนร้อยละสิบ
(5) เป็นทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิตามระเบียบของสหกรณ์
(6) เป็นทุนสาธารณประโยชน์ตามคณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกินร้อยสิบของกำไรสุทธิ
(8) กำไรสุทธิส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น
หมวด 5
สมาชิก
ข้อ 21 สมาชิก สมาชิกสหกรณ์นี้คือ
(1) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(2) เป็นผู้ที่มีชื่อและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ และได้ชำระ ค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว
(2) ผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับที่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว
ข้อ 22 คุณสมบัติของสมาชิก สมาชิกต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) เป็นนักเรียนโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(2) เป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(3) เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการสังกัดโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
(5) เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีงาม
ข้อ 23 การเข้าเป็นสมาชิก ผู้สมัครเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ ต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้โดยต้องมีสมาชิกคนหนึ่งรับรอง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเป็นที่พอใจว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30 ทั้งเห็นเป็นการสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้ ก็ให้แจ้งผู้สมัครนั้นลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า และชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือให้ครบถ้วน แล้วเสนอเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ให้ที่ประชุมใหญ่คราวถัดไปทราบ
ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่ยอมรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยเหตุใด ๆ เมื่อผู้สมัครร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการนำเรื่องเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มติแห่งที่ประชุมใหญ่ให้รับเข้าเป็นสมาชิกในกรณีดังว่านี้ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม
ข้อ 24 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ผู้เข้าเป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์ คนละห้าบาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์จะเรียกคืนไม่ได้
ข้อ 25 สิทธิหน้าที่ในฐานะสมาชิก ผู้เข้าเป็นสมาชิกต้องลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระ
ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วน เมื่อได้ปฏิบัติดังนี้แล้วจึงจะถือว่าได้สิทธิในฐานะสมาชิก
(ก) สิทธิของสมาชิกมีดังนี้
(1) เข้าประชุมเพื่อเสนอความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน
(2) เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
(3) เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการหรือผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์
(4) สิทธิใดๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับข้ออื่นของสหกรณ์
(ข) หน้าที่ของสมาชิก มีดังนี้
(1) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(2) เข้าประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย
(3) ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์การที่เข็มแข็ง
(4) สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์
(5) ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง
ข้อ 26 การเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ สมาชิกคนใดมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติและที่อยู่(ย้ายโรงเรียน) ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
การขาดจากสมาชิกภาพ
ข้อ 27 การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ย้ายโรงเรียน หรือจบหลักสูตรทางการศึกษาของโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(6) ถูกให้ออกจากสหกรณ์
(7) โอนหุ้นที่ตนถือไปหมดแล้ว
ข้อ 28 การลาออกจากสหกรณ์ สมาชิกที่ประสงค์จะลาออกจากสหกรณ์ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อคณะกรรมการดำเนินการ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้ลาออกได้แล้วจึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้ คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือกรรมการดำเนินการสอบสวนพิจารณา หากเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับก็ให้ถือว่าออกจาก สหกรณ์ตามความในวรรคก่อนได้ แล้วให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบด้วย
ข้อ 29 การให้ออกจากสหกรณ์ สมาชิกอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า
(2) ต้องกระทำความผิดที่ร้ายแรงไม่เหมาะสมสภาพนักเรียน
(3) จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์หรือประพฤติการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือทำให้เสื่อมเสียต่อสหกรณ์หรือขบวนการสหกรณ์ไม่ว่าโดยประการใด ๆ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่าสมาชิกมีเหตุใดๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้และได้ลงมติให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ทั้งหมดในขณะนั้นแล้วก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์ สมาชิกที่ถูกให้ออกจาก สหกรณ์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ โดยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบมติการให้ออก คำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นที่สุด
ข้อ 30 การถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ให้คณะกรรมการดำเนินการถอนชื่อสมาชิกออกจากระบบและทะเบียนสมาชิก
ข้อ 31 การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 36 (1), (2), (3) นั้น สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกซึ่งออกเพราะเหตุอื่น พร้อมด้วยเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืนหลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออกโดยได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วยในเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้ สุดแต่จะเลือก ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้นสหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตามระเบียบของ สหกรณ์
การประชุมใหญ่
ข้อ 32 การประชุมใหญ่สามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นัดสมาชิกมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของโรงเรียนเมื่อมีการประชุมใหญ่ของโรงเรียน
การประชุมใหญ่สามัญครั้งต่อไป ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมปีละหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดและสมควรแต่ต้องก่อนวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
ข้อ 33 การประชุมใหญ่วิสามัญ คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ หรือในกรณีที่สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้วต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิชักช้าแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ทราบ
หมวด 8
คณะกรรมการดำเนินการ
ข้อ 34 คณะกรรมการดำเนินการ ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการดำเนินการครูจำนวนห้าคนและนักเรียนจำนวนห้าคน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกที่เป็นนักเรียนและครูบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
ให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งในระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน เลขานุการคนหนึ่ง และ/หรือเหรัญญิกคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ สำนักงานที่ทำการสหกรณ์
ข้อ 35 อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง
(ก) ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2) ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
(3) ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
(4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(ข) รองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง
(2) ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้
(3) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(ค) เลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) จัดทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการทุกครั้ง
(2) ดูแลรักษาเอกสาร และรายงานการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
(3) แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิก หรือกรรมการดำเนินการ แล้วแต่กรณี
(4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(ง) เหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(2) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
ข้อ 36 กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับสลากหรือลาอก (ถ้ามีเศษให้ปัดขึ้น) และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ในปีต่อไปให้กรรมการดำเนินการที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระหรืออยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่งสลับกันไปทุก ๆ ปี
เมื่อครบกำหนดแล้ว หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันครบวาระ
กรรมการดำเนินการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับกรรมการดำเนินการชุดแรก และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 37 การพ้นจากตำแหน่ง กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ หรือลาออกต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์
(3) ขาดจากสมาชิกภาพ
(4) เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์นี้
(5) ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการชุดแรก
ข้อ 38 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1) พิจารณาในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์
(2) พิจารณาในเรื่องการจัดซื้อ-จำหน่ายสินค้าหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
(4) เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่
(5) เสนอแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(6) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งหรือจ้าง และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จำหน่ายสินค้า ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จำหน่ายสินค้าให้ถูกต้อง
(8) กำหนดระเบียบต่าง ๆ ของสหกรณ์
(9) จัดให้มี และดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียน สมุดบัญชี เอกสารต่าง ๆ และบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์
ข้อ 39 ความรับผิดของคณะกรรมการดำเนินการ ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการ หรือฐานะการเงินตามรายงานการสอบบัญชีหรือรายงานการตรวจสอบ เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์
คณะกรรมการอื่น
ข้อ 40 คณะกรรมการอำนวยการ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการ เป็นกรรมการอำนวยการ และให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการอื่นเป็นกรรมการร่วมอีกตามสมควร
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
ข้อ 41 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1) ควบคุมในเรื่องการรับเงิน การจ่ายเงิน การสะสมเงิน การฝากหรือการเก็บรักษาเงิน ให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
(2) ควบคุมการจัดทำบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
(3) ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดี และปลอดภัย และพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที
หมวด 9
ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
ข้อ 42 การแต่งตั้งผู้จัดการ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม
ในการแต่งตั้งหรือจ้างผู้จัดการ ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้
ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก การแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือน การให้สวัสดิการ และการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการ
ข้อ 43 การดำรงตำแหน่งผู้จัดการ แต่งตั้งจากให้อยู่ตามวาระคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่ได้รับการแต่งตั้งสหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการโดยกำหนดระยะเวลาหรือไม่กำหนดระยะเวลาก็ได้
ข้อ 44 อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
(2) จัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าและการบริการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สหกรณ์
(3) พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึงกำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(4) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วน รับผิดชอบในการรับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน และดำเนินการค้า การบริหารด้วยความเที่ยงตรงสุจริต และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
(5) รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(6) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ
(7) รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(8) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา
(9) จัดทำแผนปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้น ๆ มิให้เข้าร่วมประชุม
(10) ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์
(11) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย
(12) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(13) เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
(14) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะส่วนตัว
(15) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่น ๆ ของสหกรณ์มอบหมาย หรือตามที่ควรกระทำเพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
ข้อ 65 การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ ผู้จัดการต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(3) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามสหกรณ์กำหนด
(4) อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง
(5) ถูกเลิกจ้าง
(6) ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออกหรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ หรือละเว้นการกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
ข้อ 45 การลาออกของผู้จัดการ ให้ผู้จัดการยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พิจารณาการลาออกนั้น การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการสหกรณ์กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน
ข้อ 46 การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ หรือสหกรณ์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่งตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินห้าปี
ข้อ 46 การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการหรือ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน
ข้อ 47 การเปลี่ยนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน สินค้าคงเหลือ กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน
(ลงชื่อ) อำนวยการโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
( ………………………………. )
โครงสร้าง
สหกรณ์โรงเรียน
ผู้จัดการ มีหน้าที่ดูแลและควบคุมการดำเนินการของกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งจดบันทึกการประชุม
ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากฝ่ายเหรัญญิกและฝ่ายการตลาดพร้อมทั้งสรุปยอดบัญชี
ให้เป็นปัจจุบันทุกเดือน
ฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่รับลงทะเบียนลูกค้า ออกแบบใบจองหุ้นและลงทะเบียนผู้ถือหุ้น
บันทึกสถิติการใช้บริการของสมาชิกผู้ถือหุ้นแต่ละราย
พร้อมทั้งสรุปยอดเงินปันผลให้แก่สมาชิกสหกรณ์เมื่อสิ้นปี
ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน รับเงินสดจากฝ่ายขายแล้วนำไปฝากธนาคารพร้อมทั้งสรุปยอดเงินสด
ในแต่ละวันให้ผู้จัดการทราบและส่งฝ่ายบัญชีเพื่อลงบัญชีรวมทั้งเบิกจ่ายเงินให้ฝ่ายการตลาด
และสรุปยอดเงินร่วมกับฝ่ายบัญชีในทุกสิ้นเดือน
ฝ่ายจัดซื้อและการตลาด มีหน้าที่หาตลาด สำรวจตลาด จัดซื้อสินค้าตามแหล่งต่างๆ
รวมทั้งคิดราคาสินค้าเพื่อให้ฝ่ายคลังสินค้าติดราคา ดูแลการตรวจรับสินค้าจากร้านค้าต่างๆ
ฝ่ายคลังสินค้า มีหน้าที่จัดเก็บและลงทะเบียนสินค้าในคลังสินค้า ติดราคาสินค้าทุกชิ้นที่ฝ่ายจัดซื้อ
คิดราคาไว้และนำจ่ายสินค้าให้ฝ่ายขายออกจำหน่ายในแต่ละวัน
ฝ่ายตรวจสอบสินค้า มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าในสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
รวมทั้งออกแบบสอบถามให้สมาชิกผู้ถือหุ้น นักเรียน ผู้ปกครองเกี่ยวกับความต้องการของตลาดทุกๆไตรมาส
ฝ่ายจำหน่ายสินค้า มีหน้าที่ขายสินค้า ดูแลให้ความสะดวกและให้คำปรึกษาแนะนำ แก่นักเรียนที่เป็นฝ่ายขาย
ดูแลการเปิด-ปิดสหกรณ์ ตรวจนับเงินสดพร้อมลงบัญชีและ นำส่งฝ่ายเหรัญญิกให้แล้วเสร็จวันต่อวัน
รวมทั้งจัดเก็บห้องสหกรณ์ให้เรียบร้อยวันต่อวัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่จัดป้ายนิเทศประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมสหกรณ์ให้ผู้ปกครอง
นักเรียนเข้าใจหลักการสหกรณ์ร้านค้า ผลิตเอกสารเผยแพร่คู่มือต่างๆ รวมทั้งใบสมัครสมาชิกสหกรณ์
ผู้จัดการ ดูแลควบคุมการดำเนินงานของกิจกรรมสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิตให้เป็น
ไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพเพื่อนำผลผลิตส่งสหกรณ์ร้านค้า
ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายของสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
พร้อมทั้งสรุปยอดบัญชีทุกเดือน
ฝ่ายเหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
ฝ่ายสนับสนุนสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต มีหน้าที่ควบคุมสนับสนุนให้นักเรียนและครู
แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ผลิตสินค้าส่งสหกรณ์ร้านค้า
ผู้จัดการ ดูแลควบคุมการดำเนินงาน ของกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของสหกรณ์ออมทรัพย์จากฝ่ายเหรัญญิก
พร้อมทั้งสรุปยอดบัญชีทุกเดือน
ฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่รับลงทะเบียนลูกค้า ที่มาเปิดบัญชีและทำบันทึกสถิติการใช้บริการของสมาชิกแต่ละคน
พร้อมทั้งสรุปเงินปันผลให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นปี
ฝ่ายเหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
และสรุปยอดเงินให้เป็นปัจจุบันและทุกเดือนร่วมกับฝ่ายบัญชี
ฝ่ายปฏิคม มีหน้าที่อำนวยความสะดวก กับผู้ใช้บริการ รักษาความปลอดภัย
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์อย่าง เป็นมิตร
ตัวอย่างการคำนวณราคาขาย,ต้นทุน
การทำธุรกิจทุกประเภท ผู้ทำธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจ SME ต่างก็ต้องการที่จะมีกำไรทั้งนั้น
ซึ่งกำไร จะได้มาจาก กำไร = รายได้ – ต้นทุน
ดังนั้นนอกจากเราจะคำนึงถึงการเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไรแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ทำธุรกิจส่วนตัว ควรให้ความสำคัญก็คือ ต้นทุน ในการดำเนินธุรกิจ
ต้นทุนในการทำธุรกิจ หลักๆ แล้วแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ต้นทุนคงที่ ( Fixed cost) ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่าย ไม่ว่าจะขายได้มาก หรือขายได้น้อย เช่น ร้านขายก๋วยเตี๋ยว คุณจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าเช่าที่ร้าน เงินเดือนลูกจ้าง เป็นต้น
2 ต้นทุนผันแปร ( Vaiable cost) ต้นทุนผันแปร คือต้นทุนที่จะแปรผันไปตามยอดขาย เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว จะมีค่าใช้จ่ายพวกวัตถุดิบในการทำก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ เนื้อหมู เป็นต้นทุนผันแปร เพราะยิ่งคุณขายดีเท่าไหร่ คุณก็ต้องจ่ายต้นทุนผันแปรมากขึ้นเช่นกัน
ขอยกตัวอย่างการคำนวณต้นทุนของร้านก๋วยเตี๋ยว
1. ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยว ต้องเสียค่าเช่าร้าน เสียค่าเช่าที่เดือนละ 10,000 บาท
เสียค่าจ้างเด็กในร้านก๋วยเตี๋ยว เพื่อช่วยบริการในร้าน ช่วยล้างจาน เดือนละ 9,000 บาท
ดังนั้นร้านก๋วยเตี๋ยวจะมีต้นทุนคงที่ 19,000 บาท
2. ส่วนต้นทุนผันแปร สมมุติว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวไปจ่ายตลาด ซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้น ผักต่างๆ รวมแล้ว 1,200 บาท จะผลิตก๋วยเตี๋ยวได้ 100 ชาม ดังนั้น 1,200 หาร 100 = 12 บาท ดังนั้นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 12 บาท ต่อชาม
ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวขายก๋วยเตี๋ยวได้ 100 ชามต่อวัน ขายได้ชามละ 30 บาท เดือนหนึ่งจะขายได้ประมาณ 3000 ชาม ขายได้เงิน 90,000 บาท
ซึ่งจากสูตร กำไร = รายได้ – ต้นทุน( เกิดจาก ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร)
คำนวณคร่าวๆ จะได้ดังนี้ = 90,000 – (19,000 + (12*3,000))
= 90,000 – (19,000 + 36,000)
ดังนั้น ร้านก๋วยเตี๋ยว จะมีกำไรประมาณ 35,000 ต่อเดือน(ยังไม่รวมเงินเดือนของผู้ประกอบการเอง)
ผู้ที่ต้องการจะเปิดร้าน หรือเปลี่ยนสถานที่เปิดร้าน ควรที่จะใช้สูตรนี้ในการคำนวณ รายได้ กำไร ต้นทุนต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาว่าทำแล้วธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจ SME ของคุณจะได้กำไรประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน
ในกรณีที่คุณอยากจะย้ายทำเลค้าขายของคุณไปยังสถานที่ใหม่ คุณก็สามารถใช้สูตรนี้ช่วยพิจารณาว่าจะย้ายทำเลดีหรือไม่ เช่น มีตึกแถวว่าง ทำเลดีมากๆ ใกล้ตลาดที่มีคนพลุกพล่าน เจ้าของตึกคิดค่าเช่า เดือนละ 20,000 บาท ซึ่งแพงกว่าทีปัจจุบันร้านก๋วยเตี๋ยวมีค่าเช่าที่ 10,000 บาท ถ้าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวคาดคะเนว่าถ้าย้ายร้านไปที่ใกล้ตลาด จะขายได้ประมาณวันละ 150 ชาม หนึ่งเดือนจะขายได้ประมาณ 4500 ชาม ราคาขายชามละ 30 บาท รายได้ต่อเดือนประมาณ 135,000 บาท
ดังนั้นลองคำนวณกำไร ในกรณีถ้าย้ายร้านไปที่ตึกว่างใกล้ตลาด
สูตร กำไร = รายได้ – ค่าใช้จ่าย(ต้นทุนคงที่ +ต้นทุนผันแปร)
คำนวณคร่าวๆ จะได้ดังนี้ = 135,000 – ((20,000+9,000) + (12*4,500))
= 135,000 – (29,000 + 54,000)
= 135,000 – 83,000
= 52,000
ดังนั้น ถึงแม้ว่าทำเลใหม่ค่าเช่าตึกแถว จะแพงกว่าค่าเช่าเดิมเท่าตัว (จาก 10,000 เป็น 20,000) แต่เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว ก็ควรที่จะย้ายร้านไปที่ตั้งใหม่ครับ เพราะว่าจะมีกำไรที่มากกว่า (กำไรถ้าเช่าที่เดิม 35,000 แต่ถ้าเช่าที่ใหม่ จะกำไร 52,000 บาท )
และถ้าจะเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวต้องการหาว่าจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อยได้เดือนละ กี่ชาม ถึงจะถึงจุดคุ้มทุน ให้ใช้สูตรคำนวณจุดคุ้มทุนตามนี้
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
จากตัวอย่างร้านก๋วยเตี๋ยวนี้ก็คือ จุดคุ้มทุน = 19,000 / ( 30 – 12 )
ดังนั้นจุดคุ้มทุนของร้านก๋วยเตี๋ยวก็คือ 1,055 ชาม นั่นเอง
ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวขายก๋วยเตี๋ยว หนึ่งเดือน ได้น้อยกว่า 1,055 ชาม ก็คือร้านก๋วยเตี๋ยวจะขาดทุน แต่ถ้าขายได้ตั้งแต่ 1,055 ชาม เป็นต้นไปก็จะเริ่มได้กำไร
นอกจากนี้ ถ้าคุณมีพื้นที่เป็นของตัวเอง เช่น คุณมีตึกแถว และคุณใช้ตึกแถวนั้นทำธุรกิจส่วนตัว ถึงคุณจะไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้คุณเวลาคำนวณกำไร ให้ใส่ค่าเช่าร้านของคุณไปเป็นต้นทุนด้วย (อาจจะเทียบกับค่าเช่าบริเวณใกล้เคียง) ที่ให้ใส่ค่าเช่าร้านเป็นค่าใช้จ่ายไปด้วยเพราะว่าถึงคุณจะไม่ทำธุรกิจที่ตึกแถวของคุณเอง คุณก็อาจจะปล่อยตึกแถวของคุณให้คนอื่นเช่าก็ได้ครับ ดังนั้น เพื่อการคำนวณกำไรอย่างละเอียดจึงควรใส่ค่าเช่าร้านเป็นต้นทุนด้วย (ถึงแม้ว่าคุณไม่ต้องจ่ายค่าเช่าก็ตาม)
ใส่ความเห็น