สหกรณ์นักเรียน

พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ให้โรงเรียนดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  มีจุดมุ่งหมาย คือ
1.    เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์  คุณธรรมในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม  โดยกระบวนการสหกรณ์
2.    ฝึกฝนนักเรียน  ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานสหกรณ์  เช่น  การทำงานร่วมกัน  การประชุม  การทำบัญชี  การค้าขาย  เป็นต้น
นอกจากนี้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนยังเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงกับการพัฒนาใน
ด้านอื่นๆ  ทำให้เกิดการบูรณาการกิจกรมต่างๆ  สมบูรณ์ขึ้น

 

สหกรณ์นักเรียนจึงเป็นกิจกรรมของนักเรียน  จัดตั้งขึ้นและดำเนินการโดยนักเรียน  และมีนักเรียนเป็นสมาชิก  ในการจัดสหกรณ์นักเรียน  จะมีครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำเด็กนักเรียนในการดำเนินงาน  ตามขั้นตอนตังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รับสมัครเป็นสมาชิก  ด้วยความสมัครใจ  และเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคนการสมัครสมาชิกสหกรณ์นักเรียน  จะเก็บค่าหุ้น
ขั้นตอนที่ 2  ประชุมใหญ่สามัญประจำปี  เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนมาดำเนินกิจการสหกรณ์  คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนมีวาระในการทำงาน 1 ปีการศึกษา  หรือบางแห่งอาจทำได้บ่อยขึ้นเป็น 1 ภาคการศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน เดือนละครั้งเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน  การซื้อ-ขาย การตลาด ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการ  มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนให้นักเรียนทดลองปฏิบัติ 3 กิจกรรม ได้แก่  กิจกรรมร้านค้า  กิจกรรมออมทรัพย์และกิจกรรมส่งเสริมการผลิต
ขั้นตอนที่ 5 การทำบัญชีประจำวัน  มีทั้งบัญชีรับ – จ่าย  บัญชีสินค้า บัญชีสมาชิก ฯลฯ  สรุปบัญชี  ผลกำไร/ขาดทุน  และนำข้อมูลมาวางแผนต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานตามวาระของคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน  จัดสรรผลกำไร  เป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก  บางส่วนสะสมไว้เป็นเงินทุนของสหกรณ์และเป็นเงินบริจาคสำหรับทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์

ตลอดขั้นตอนของการดำเนินงาน  เด็กนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังและพัฒนาทักษะและลักษณะนิสัยของการพึ่งตนเอง  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม  การทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและแบบแผน  การจดบันทึก  การจัดทำบัญชี  หลักประชาธิปไตย
สหกรณ์นักเรียนตามพระราชดำริ  จะช่วยเชื่อมโยงโครงการต่างๆในโรงเรียน เช่น
–    การเกษตร  สหกรณ์นักเรียนรับซื้อผลผลิตจากฟาร์มของโรงเรียน  หรือแม้แต่ของที่ผลิตได้ในท้องที่  มาวางจำหน่ายให้แก่โรงครัว  ผู้ปกครอง  และชุมชน
–    การประกอบอาหารกลางวัน  โรงครัวของโรงเรียนซื้อวัตถุดิบจากฟาร์มโรงเรียนที่มีคุณภาพ  ปลอดภัย  และราคาถูกกว่าท้องตลาดจากสหกรณ์  นอกจากนี้สหกรณ์ยังช่วยหาซื้อเครื่องปรุง  ของแห้งมาจำหน่ายด้วย
–    การฝึกอาชีพ  เช่นการแปรรูปอาหารหรือหัตถกรรม  อาจต้องใช้เงินลงทุน  สหกรณ์จึงเป็นแหล่งเงินทุนให้กลุ่มกู้ยืม  หรือหากต้องซื้อวัตถุดิบบางอย่าง  สหกรณ์สามารถซื้อในราคาขายส่งมา  แล้วมาขายให้สมาชิก  และเมื่อมีผลงานที่ผลิตได้  ก็นำมาขายผ่านสหกรณ์  เพราะเป็นศูนย์รวม  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคน
–    การพัฒนาทักษะของนักเรียนในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารบริโภค  โดยผ่านร้านสหกรณ์  เช่นการเลือกซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมาย อย. การดูวันที่ผลิต  วันหมดอายุ

 

 

การทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน
การทำบัญชีสหกรณ์มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน  เพราะจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานและทราบ รายรับ – รายจ่ายของสหกรณ์ ทำให้ตรวจสอบดูแลได้ง่ายและเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยทางการเงินซึ่งนักเรียนจะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

การทำบัญชี
การทำบัญชีคือการจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินในการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน นักเรียนผู้เป็นสมาชิกมาร่วมกันถือหุ้น มาร่วมกันออมทรัพย์โดยการฝากเงินไว้กับสหกรณ์ บางคนฝาก วันละ 1 บาทบางคนฝากเงินวันละ 2-3 บาท เมื่อฝากเงินกันหลายคน และเงินฝากแต่ละคนไม่เท่ากันก็เป็นการยากที่พนักงานผู้รับฝากจะจำเงินฝากของแต่ละคนได้ จึงต้องมีการจดบันทึกเป็นหลักฐาน เมื่อหลักฐานต่างๆมีมากก็ทำให้สับสนจึงต้องนำหลักฐานมาเรียงและจดบันทึกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ค้นหาและรวมยอดเงิน ซึ่งวิธีการจดบันทึกดังกล่าวนี้เราเรียกว่า ” การบัญชี ”

การทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน คือ การจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่างๆที่สหกรณ์นักเรียนได้ดำเนินการ โดยจัดหมวดหมู่ แยกประเภทรายการและสรุปผลออกมาในรูปรายงานทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชีมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่ากำไร หรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่กำหนด
3. เพื่อให้เห็นถึงฐานะทางการเงินว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการ
4. เพื่อป้องกันการทุจริตและกันการสูญหายของสินทรัพย์
5. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจด้านต่างๆของผู้บริหาร โดยผู้บริหารจะใช้ในการวางแผน ควบคุม วัดผลดำเนินงานและตัดสินใจด้านต่างๆ บุคคลภายนอกก็ใช้ในการ ตัดสินใจในการลงทุน การพิจารณาให้สินเชื่อ

ความสำคัญของการทำบัญชี การทำบัญชีมีความสำคัญดังนี้

1. เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินกิจการ เพื่อแสดงให้ทราบว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่ามีข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีผลดีผลเสียอย่างไร ซึ่งบัญชีจะเป็นส่วนหนึ่งในการอ้างอิง
2. เป็นหลักฐานการตรวจสอบตัวเงินสดกับยอดบัญชีว่าถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร
3. เป็นหลักฐานในการบริหารงาน การควบคุม และการทำงบประมาณ เพื่อให้ผลงานนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานว่า มีกำไรหรือขาดทุน
5. ช่วยทำให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการในขณะนั้นว่า มีทรัพย์สิน หนี้สิน และมีเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด
6. เป็นหลักฐานให้แก่ทางราชการในการคำนวณภาษีได้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจในด้านต่างๆ

เอกสารประกอบการลงบัญชี
เอกสารประกอบการลงบัญชีหมายถึงเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการรับเงินหรือจ่ายเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าได้เกิดรายการรับเงินขึ้นจริงในเอกสารนั้น เอกสารมีดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงินจากบริษัท ห้างร้านที่สหกรณ์ไปซื้อสินค้า
2. ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์ใช้บันทึกรายการรับเงินของสหกรณ์ทั้งจากสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก
3. ใบเบิกเงินใช้บันทึกรายการจ่ายเงินของสหกรณ์ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้
4. ใบนำส่งฝากออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานการนำส่งเงินฝากออมทรัพย์ของนักเรียน
5. ใบถอนเงินออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานเมื่อสมาชิกถอนเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์
6. ใช้ขายสินค้าประจำวัน ใช้บันทึกรายการขายสินค้า จำนวนสินค้า จำนวนเงิน หมายเลขสมาชิกผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวันและสรุปยอดขายในแต่ละวัน

ทะเบียนต่างๆ  ของสหกรณ์ ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้น  โดยใช้เอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นหลักฐานในการบันทึก ดังนี้
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น  จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์  จำนวนหุ้นที่ชำระทั้งหมด  บันทึกรายการเพิ่มหุ้น  ถอนหุ้น  หรือ  โอนหุ้น  ของสมาชิกแต่ละราย
2.ทะเบียนคุมสินค้า  ใช้บันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายแต่ละอย่างทั้งนี้เพื่อควบคุมรายการรับสินค้าเข้าร้าน  การตัดจ่ายสินค้าเมื่อขาย  และคุมยอดคงเหลือของสินค้าให้ถูกต้องเป็นการป้องกันการขาดหายของสินค้าแต่ละรายการ
3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก  ใช้บันทึกยอดซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นักเรียนเป็นรายวัน  ของแต่ละบุคคล  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวมยอดซื้อสินค้าของสมาชิกตอนสิ้นปี
4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์  ใช้บันทึกรายการเงินฝาก  ถอนเงินและยอดคงเหลือเงินฝาก
5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่ายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตรหรือฝ่ายการศึกษาและสวัสดิการใช้บันทึก

บันทึกรายการในทะเบียนต่างๆ  เป็นการบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้นโดยใช้เอกสารประกอบการการลงบัญชีเป็นหลักฐานการบันทึก  สรุปได้ดังนี้

หลักฐานประกอบการบันทึกทะเบียน

ทะเบียน ผู้บันทึก หลักฐานประกอบ
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น

2.ทะเบียนคุมสินค้า

 

 

3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก

4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์

5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่าย

1.ผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

2.พนักงานขาย

 

 

3.พนักงานขาย

 

4.พนักงานออมทรัพย์

 

 

5.พนักงานเกษตรหรือ

พนักงานการศึกษา

และสวัสดิการ

1.หลักฐานประกอบการบันทึกใบเสร็จ รับเงินค่าหุ้นหรือใบถอนเงินค่าหุ้น

2.ใช้สมุดซื้อสินค้า  บันทึกยอดรับสินค้า ราคาทุน และราคาขายใช้ใบ

สินค้าประจำวันบันทึกยอดขายสินค้า

3.ใบขายสินค้าประจำวัน

 

4.ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์  หรือใบถอนเงินออมทรัพย์

 

5.ใบเสร็จรับเงินของฝ่ายหรือใบเบิกเงินของฝ่าย(แยกทำเป็นฝ่ายๆ)

นอกจากการลงบัญชี  และการบันทึกเอกสารทางการเงินเป็นประจำทุกวันแล้ว  ต้องมีการสรุปการบัญชีเป็นประจำทุกเดือนเรียนว่า  งบเดือน  เช่น  งบรายวัน  รายจ่ายประจำเดือนและงบทดลองประจำเดือน  เป็นต้น  และการสิ้นสุดของการจัดทำบัญชีนั้น  โดยทั่วไปกำหนดรอบบัญชีไว้ 1 ปี  ดังนั้น  การบัญชีสหกรณ์นักเรียนจึงกำหนดรอบปีบัญชีไว้ 1 ปี  โดยเริ่มตั้งแต่วันเปิดเรียนภาคต้นและไปปิดบัญชีในวันปิดภาคเรียนสุดท้าย

 

รายการรับเงินและรายการจ่ายเงินของสหกรณ์นักเรียน
            รายการรับเงินและรายการจ่ายเงินของสหกรณ์นักเรียนประกอบไปด้วย
                      1. การรับสมาชิกและการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์
                      2. กิจกรรมร้านค้า
                      3. กิจกรรมออมทรัพย์
                     4. กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร
                     5. กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ

การดำเนินงานสหกรณ์นักเรียน
1.    การรับสมาชิก  และการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์
        รายการรับเงิน  – รับเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า  – รับเงินค่าหุ้น  – รับเงินบริจาค
        รายการจ่ายเงิน  – จ่ายคืนค่าหุ้น  – จ่ายค่าเครื่องเขียน  – จ่ายค่าวัสดุ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
1 ม.ค. 50 รับสมาชิกใหม่ 10 คน  ธรรมเนียมแรกเข้า

คนละ  10  บาท

100   รายได้
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจาก ด.ช.หิมะ  ใจร้อน หุ้นละ

10 บาท  จำนวน  20  หุ้น

200   ทุน
7 ม.ค. 50 สหกรณ์ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

เป็นเงิน 5,000.- บาท

5,000   รายได้
10 ม.ค. 50 จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้กับ ด.ญ.กุ๊กไก่  ใจดี

เป็นเงิน 2,000.- บาท

  2,000 ทุน
12 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา เป็นเงิน 100 บาท   100 ค่าใช้จ่าย
13 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน เป็นเงิน 500 บาท   500 ค่าใช้จ่าย


ตัวอย่างทะเบียนสมาชิก

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
1 ม.ค. 50 รับสมาชิกใหม่ 10 คน  ธรรมเนียมแรกเข้า

คนละ  10  บาท

100   รายได้
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจาก ด.ช.หิมะ  ใจร้อน หุ้นละ

10 บาท  จำนวน  20  หุ้น

200   ทุน
7 ม.ค. 50 สหกรณ์ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

เป็นเงิน 5,000.- บาท

5,000   รายได้
10 ม.ค. 50 จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้กับ ด.ญ.กุ๊กไก่  ใจดี

เป็นเงิน 2,000.- บาท

  2,000 ทุน
12 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา เป็นเงิน 100 บาท   100 ค่าใช้จ่าย
13 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน เป็นเงิน 500 บาท   500 ค่าใช้จ่าย

คำอธิบาย
    บันทึกรายชื่อสมาชิกเรียงตามลำดับที่สมัคร  โดยกำหนดเลขที่สมาชิกเรียงกัน  เมื่อมีสมาชิกออกให้บันทึกเลยที่สมาชิกต่อไปโดยไม่ต้องนำเลขที่ของสมาชิกที่ลาออกมาใช้
   

ตัวอย่าง
ใบสมัคร

เพื่อเป็นสมาชิกกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน………………………….
วัน……………เดือน…………………….พ.ศ………….
ข้าพเจ้า (ด.ช./ด.ญ.)………………………………………………….เป็นนักเรียนชั้น   ………/………ของโรงเรียน……………………………………………ขอสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ประเภท
    (     )     กิจกรรมร้านค้า
(     )     กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร/ อาชีพ
(     )     กิจกรรมออมทรัพย์
                           (     )     กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ
จำนวน…………..หุ้น  ๆ ละ  …………บาท  รวมเป็นเงิน…………………บาท(……………………………………………)
                    ลงชื่อ………………………………………………..ผู้สมัคร
                            (………………………………………………..)       
                ได้รับเงินค่าสมัคแล้ว                    ลงทะเบียนสมาชิกแล้ว
      ………………………………………….              ………………………………………………
   (………………………………………….)            (………………………………………………)

……………………………………..นักเรียนเก็บส่วนท้ายนี้ไว้เป็นหลักฐาน………………………………………….

วัน……………เดือน…………………….พ.ศ………….
ข้าพเจ้า (ด.ช./ด.ญ.)………………………………………………….เป็นนักเรียนชั้น ป. ………/………ของโรงเรียน……………………………………………ขอสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ประเภท
    (     )     กิจกรรมร้านค้า
(     )     กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร/ อาชีพ
(     )     กิจกรรมออมทรัพย์
                           (     )     กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ
จำนวน…………..หุ้น  ๆ ละ  …………บาท  รวมเป็นเงิน…………………บาท(……………………………………………)
                    ลงชื่อ………………………………………………..ผู้สมัคร
                            (………………………………………………..)


ตัวอย่างบัตรสมาชิก

 

ชื่อ………………………………………………………………………..                        (รูป)

วันที่เป็นสมาชิก……………………………………………………..

เลขทะเบียนสมาชิก…………………………………………………    …………………………………ลายมือชื่อ
……………………………………..ผู้ออกบัตร

ที่ เลขที่

สมาชิก

วัน-เดือน-ปี ชื่อ-สกุล จำนวนหุ้น หมายเหตุ
เพิ่ม ถอน คงเหลือ
1. 0001 14 ก.ค. 49 เด็กหญิงกุ๊กไก่  ใจดี 2,000   2,000  
2. 0002 5 ส.ค. 49 เด็กชายขนม  หวานมาก 100   2,100  
3. 0003 20ก.ย. 49 เด็กชายหิมะ  ใจร้อน 200   2,300  
4. 0004 13 ต.ค. 49 เด็กหญิงบอบบาง  อรชร 50   2,350  
5. 0005 16 ธ.ค. 49 เด็กชายตุ๊ต๊ะ  อ้วนท้วน 20   2,370  
6. 0001 31 ธ.ค. 49 เด็กหญิงกุ๊กไก่  ใจดี   2,000 370 ลาออก

คำอธิบาย  บันทึกเรียงตามลำดับวันที่



ตัวอย่างทะเบียนหุ้นรายคน
ชื่อ………………………………………………………….เลขที่สมาชิก…………………….

วัน-เดือน-ปี จำนวน หมายเหตุ
เพิ่ม ถอน คงเหลือ
20 ก.ย. 49

 

200   200  

คำอธิบาย  สมาชิกจะถอนหุ้นคืนได้ต่อเมื่อออกจากสหกรณ์


2.กิจกรรมร้านค้า

       รายการรับเงิน – รับเงินขายสินค้า  – รับเงินขายวัสดุเหลือใช้
       รายการจ่ายเงิน  – ซื้อสินค้ามาจำหน่าย  – ค่าใช้จ่ายในการซื้อ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
14 ม.ค. 50 ขายสมุด 5 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน

50  บาท

50   รายได้
15 ม.ค. 50 ขายเก้าอี้เก่า เป็นเงิน 70 บาท 70   รายได้
16 ม.ค. 50 ซื้อขนมมาขายเพิ่ม 10 ห่อๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 250 บาท   250 ค่าใช้จ่าย
17 ม.ค. 50 จ่ายค่าน้ำมันรถในการไปซื้อขนม  เป็นเงิน  200  บาท   200 ค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างทะเบียนคุมสินค้า
ชนิดสินค้า                   สมุด

ลำดับที่ วันเดือนปี รับ จ่าย คงเหลือ
จำนวน หน่วย จำนวน หน่วย จำนวน หน่วย
1

2

3

4

5

10 ม.ค. 49

11 ม.ค. 49

13 ม.ค. 49

15 ม.ค. 49

15 ม.ค. 49

500

 

 

200

 

เล่ม

 

 

เล่ม

 

70

50

 

100

 

เล่ม

เล่ม

 

เล่ม

500

430

380

580

480

เล่ม

เล่ม

เล่ม

เล่ม

เล่ม

 

3.กิจกรรมออมทรัพย์
รายการรับเงิน        – รับเงินฝากออมทรัพย์
รายการจ่ายเงิน        – ถอนเงินฝาก
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
18 ม.ค. 50 รับฝากเงินจากสมาชิก เป็นเงิน 1,000  บาท 1,000   ทุน
19 ม.ค. 50 สมาชิกถอนเงินฝาก  เป็นเงิน 100 บาท   100 ทุน
20 ม.ค. 50 รับเงินฝากจากสมาชิกเพิ่มเป็นเงิน  500  บาท 500   ทุน
21 ม.ค. 50 ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร  เป็นเงิน 270  บาท 270   รายได้

ตัวอย่างทะเบียนคุมเงินออมทรัพย์รายคน
ชื่อผู้ฝากเงินออมทรัพย์          เด็กชายขนม  หวานมาก

วัน-เดือน-ปี ฝาก

(บาท)

ถอน

(บาท)

คงเหลือ

(บาท)

1 ม.ค. 50

10  ม.ค. 50

15 ม.ค. 50

100

500

 

 

 

100

200

700

600

4.กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร
รายการรับเงิน        – รับเงินขายผลผลิตการเกษตร
รายการจ่ายเงิน        – ค่าใช้จ่ายในการผลิต
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
22 ม.ค. 50 รับเงินค่าขายกล้วย 100 กิโลกรัมๆ ละ 8 บาท  เป็นเงิน 800 บาท 800   รายได้
23 ม.ค. 50 จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย  เป็นเงิน 200 บาท   200 ค่าใช้จ่าย
24 ม.ค. 50 จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก  เป็นเงิน 2,000  บาท   2,000 ลูกหนี้
25 ม.ค. 50 รับดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิกเป็นเงิน  100  บาท 100   รายได้
26 ม.ค. 50 รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก 2,000  บาท  พร้อมดอกเบี้ย  100  บาท 2,100   ลูกหนี้

ตัวอย่างทะเบียนคุมเจ้าหนี้รายคน
ชื่อเจ้าหนี้……………………………………………………………………

วัน-เดือน-ปี จำนวนเงินกู้

(บาท)

วันครบ

กำหนดชำระ

จำนวนเงินชำระ

(บาท)

จำนวนเงิน

คงเหลือ

1 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

7 ก.พ. 50

2,000 1,000  

500

500

2,000

1,500

1,000

ตัวอย่างทะเบียนคุมผลผลิต

วัน-เดือน-ปี รายการ

ผลผลิต

จำนวนที่รับ

(หน่วย)

จำนวนที่ขาย

(หน่วย)

จำนวนเงิน จำนวน

คงเหลือ

ราคา เป็นเงิน
11 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

กล้วย

กล้วย

มะนาว

กล้วย

50

6,000

70

30

20

6,000

70

8

9

1

7

240

180

6,000

490

20

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
26 ม.ค. 50 รับเงินบริจาคจากโรงเรียนสำหรับการไปศึกษาดูงาน  เป็นเงิน  2,000  บาท 2,000   รายได้
27 ม.ค. 50 รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์จังหวัดเป็นเงิน  1,000  บาท 1,000   รายได้
28 ม.ค. 50 จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์  เป็นเงิน  500  บาท   500 ค่าใช้จ่าย
29 ม.ค. 50 จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์  เป็นเงิน 700 บาท   700 ค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างการปิดบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ จำนวนเงิน จ่าย จำนวนเงิน
1 ม.ค. 50 รับค่าธรรมเนียมสมาชิกใหม่ 100    
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจากสมาชิก 200    
7 ม.ค. 50 ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง 5,000    
12 ม.ค. 50     จ่ายค่าสมุดและปากกา 100
13 ม.ค. 50     จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน 500
16 ม.ค. 50     ซื้อขนมมาขายเพิ่ม 250
17 ม.ค. 50     จ่ายค่าน้ำมันสำหรับไปซื้อขนม 200
วัน-เดือน-ปี รายการ จำนวนเงิน จ่าย จำนวนเงิน
18 ม.ค. 50 รับฝากเงินจากสมาชิก 1,000    
  19 ม.ค. 50     สมาชิกถอนเงินฝาก 100
20 ม.ค. 50 รับเงินฝากจากสมาชิกเพิ่ม 500    
22 ม.ค. 50 รับเงินค่าขายกล้วย 800    
23 ม.ค. 50     จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย 200
24 ม.ค. 50     จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก 2,000
25 ม.ค. 50 รับดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิก 100    
26 ม.ค. 50 รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก 2,100    
27 ม.ค. 50 รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์ 1,000    
28 ม.ค. 50     จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์ 500
29 ม.ค. 50     จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์ 700
  รวมรับ 10,800 รวมจ่าย 4,550

ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน
ประจำเดือนมกราคม  25….

รายการ จำนวนเงิน
รายได้

รับค่าธรรมเนียมสมาชิกใหม่

รับเงินค่าหุ้นจากสมาชิก

ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

รับฝากเงินจากสมาชิก

รับฝากเงินจากสมาชิกเพิ่ม

รับเงินค่าขายกล้วย

รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิก

รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก

รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์

รวมรายได้

 

100

200

5,000

1,000

500

800

100

2,100

1,000

10,800

ค่าใช้จ่าย

จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา

จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน

ซื้อขนมมาขายเพิ่ม

จ่ายค่าน้ำมันสำหรับไปซื้อขนม

สมาชิกถอนเงินฝาก

จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย

จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก

จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์

จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์

รวมค่าใช้จ่าย

กำไร    (10,800 – 4,550)

 

100

500

250

200

100

200

2,000

500

700

4,550

6,250

งบดุล
ณ วันที่ 31 มกราคม 25 ….
.

สินทรัพย์
เงินสด และเงินฝากธนาคาร    (คงเหลือ ณ วันนั้น)            ……………………
ลูกหนี้                (กรณีสหกรณ์ให้กู้)            ……………………
วัสดุสำนักงาน            (ตามมูลค่าคงเหลือ)            ……………………
สินทรัพย์อื่นๆ            (สินค้าคงเหลือ,อาคาร)            ……………………
รวมสินทรัพย์                                    ……………………
หนี้สินและทุน
หนี้สิน                                    .
เจ้าหนี้                                    ……………………
เงินรับฝาก                                ……………………
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                ……………………
ทุน
หุ้น                                    ……………………
กำไร/ขาดทุน                                ……………………
รวมหนี้สินและทุน                            ……………………